เด็กซีพีไม่เปิดมือเวลาคลาน...เพราะอะไร


ผมได้ ลปรร กับน้องๆ นักกิจกรรมบำบัด (คัดลอกจาก Webboard ของกิจกรรมบำบัด มช) ในโจทย์ "ทำอย่างไรเมื่อเด็กสมองพิการไม่เหยียดนิ้วเวลาตั้งคลาน

นักกิจกรรมบำบัดคนที่ 1: มีเด็กซีพีคนนึงเดินได้ เข้าใจคำสั้ง เวลาปกติ นิ้วมือเยียดได้ หยิบของได้ แต่ไม่มั่นคง รูปแบบการหยิบจับยังไม่ดี เวลาสอนให้คลาน หรือไถนา นิ้มมือข้อกลางจะงอตลอด ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร เตือนก็ไม่เป็นผลเพราะเด็กไม่เข้าใจ เอา weight cuffมาวางทับก็ไม่ได้ ว่าจะลองให้เด็กใส่ถุงมือแล้วใช้หันงยางดึงข้อให้เหยีดเวลาคลานน่ะค่ะไม่ทราบว่าจะได้ผลไหม

Dr. PoP: กรณีศึกษานี้น่าสนใจ

นักกิจกรรมบำบัดที่ดูแลกรณีศึกษานี้ลองประเมินให้ชัดเจนว่า นิ้วมือข้อ PIP ทุกนิ้วทั้งซ้ายและขวาจะงอทุกครั้งที่จับลงน้ำหนักที่ฝ่ามือบนพื้นหรือไม่ มีการงอแบบ Claw Hand ก่อนการเหยียดนิ้วมือก่อนหยิบจับสิ่งของขนาดใหญ่กับขนาดเล็กหรือไม่ หากประเมินว่า "ทุกครั้งในสองคำถามข้างต้น" แปลผลว่า กรณีศึกษามี Recovery of Hand Function after Spasticity ที่ไม่สมบูรณ์ อาจยังไม่มีการเรียนรู้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเหยียดกับกล้ามเนื้องอข้อนิ้วมือที่กำและแบได้ทันที ไม่มีการเรียนรู้เพื่อลด Grasp Reflex & Associated Reaction ดังนั้นการใช้เทคนิค PNF, NDT, Brunstrom's มาให้ขณะทำ Physical Activity & Self-Care Activity

แต่ถ้าประเมินข้างต้นแล้วพบว่า งอไม่ทุกครั้ง แสดงว่า น่าจะมีปัญหาทาง Biomechanics นักกิจกรรมบำบัดคงต้องตรวจ Joint ROM & Subluxation ของทุกข้อนิ้วมือในท่างอและเหยียด แล้วลองพิจารณา Splint ที่เหมาะสม ซึ่งน่าจะดีกว่านำ Weight Cuff ไปทับหรือใช้หนังยางยืดครับ นอกจากนี้อาจต้องใช้หลักการ Graded Activity ที่เด็กชอบและสนุกในการดำเนินชีวิต

ขอบคุณที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

นักกิจกรรมบำบัดคนที่ 2: ขอบคุณพี่ป๊อบนะคะที่ช่วยแบ่งปันความรู้ให้ คนที่เข้ามาอ่านจะได้มีความรู้เพิ่มขึ้น

นักกิจกรรมบำบัดคนที่ 3: ขอบคุณอาจารย์ป๊อบมากๆเลยค่ะที่ให้ความรู้

นักกิจกรรมบำบัดคนที่ 4: ลองพิจารณาตามที่ อ.ป๊อบแนะนำดูนะครับ เป็นคำแนะนำที่ดีเลยล่ะ แล้วผมขอแสดงความคิดเห็นนิดหน่อยอ่ะครับ ไม่อยากให้ อ.ป๊อบ เด่นอยู่คนเดียว ผมขี้อิจฉาครับ 555 ไม่ทราบว่านิ้วมือของน้องที่เหยียดไม่สุดเมื่ออยู่ในท่าไถนานั้น จะกระทบถึงการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตของน้องหรือเปล่าครับ เพราะถ้ากระทบจริงก็คงต้องหาทางช่วยเหลือ แต่ถ้าไม่กระทบ หรือมีปัญหาอย่างอื่น เราก็อาจต้องไปเน้นตรงนั้นก่อน ถ้าเราฝืนใช้หนังยางคอยดึงนิ้วให้ยืดขณะที่คลาน ผมเกรงว่าน้องจะเจ็บจนปฏิเสธการรักษา หรือถ้าร้ายแรงกว่านั้นอาจเกิด tendon injury ได้น่ะครับ หรืออีกอย่างถ้าใส่ถุงมือในการคลานหรือทำท่าไถนา กลัวว่าน้องจะลื่นจนได้รับบาดเจ็บได้น่ะครับ ...คือผมเป็นคนที่ค่อนข้างคิดมากมาย เลยเป็นห่วงเพื่อนๆนักกิจกรรมบำบัดด้วยกันน่ะครับ อย่างที่ อ.ป๊อบแนะไว้ครับ Graded Activity ที่เด็กชอบและสนุกในการดำเนินชีวิต น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี น้องเขามีการเกร็งตอนออกแรงมากๆ น่าจะให้ลองผลักหรือดันอะไรที่ไม่หนักก่อน เมื่อดีขึ้นก็เพิ่มแรงต้านมากขึ้นได้เรื่อยๆ กิจกรรมตัวอย่าง ก็อาจ ให้คุณแม่นั่งบนรถเข็น แล้วให้เด็กใช้มือทาบตรงหลังพนักพิงแล้วเล่นผลักรถเข็นคุณแม่ไปรอบๆห้องก็ได้ครับ เมื่อเด็กทำได้ดีแล้วเราก็ลดการช่วยเหลือลง หรือถ้าจะให้สนุก แม่กับลูกผลัดกันนั่งผลัดกันผลักก็ดีนะครับ คุณแม่จะได้มีส่วนร่วมในการฝึกด้วยจะได้ไม่หนักที่เราคนเดียวครับ ...ไม่ทราบว่าที่พูดไป พอจะเป็นคำแนะนำได้หรือเปล่า ถ้าไม่ตรงประเด็นก็ขออภัยด้วยครับ

นักกิจกรรมบำบัดคนที่ 1: ตอนแรกก็ลองบอกผู้ปกครองเด็กเหมือนกันว่าอาจจะลองใช้หนังยางดู แต่ก็ลืมคำนึงถึงเรื่องข้อควรระวังหลายอย่างเหล่านี้ พอได้มาอ่านก็รู้สึกเห็นด้วยจริงๆค่ะ คือว่าน้องคนนี้ อายุ10ขวบแล้วค่ะ จากการสังเกตก็คือว่า นิ้วมือน้องจะงอทุกครั้งเวลาที่ลงน้ำหนักมือ/คลาน/ไถนา มีการงอแบบ Claw Hand นั่นแหล่ะค่ะ ทั้งที่เวลาปกตินิ้วก็ไม่งอเลย แต่น้องยังมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้

-ชอบบีบ/ขยำของที่อยู่ในมือ เช่น ดินน้ำมัน กระดาษ ลูกบอล เหมือนทำไปโดยไม่รู้ตัว

-ชอบเอาของ/มือเข้าปาก แต่เตือนเขาใจก็จะเอาออก

-distract ตลอดเวลา

-เด็กสนุก/แสดงอาการตื่นเต้นดีใจเวลาฝึกบ่อยๆ(คล้ายกับควบคุมตัวเองไม่ได้)

เผื่อเป็นการประกอบอาการของเด็กน่ะค่ะ จึงไม่แน่ใจว่าอาการของเด็กอาจจะเป็นอย่างเช่นกรณีแรกที่อาจารย์ป๊อบแนะนำหรือเปล่าค่ะ

Dr. PoP: กิจกรรมของน้องก็น่าสนใจ ลองวิเคราะห์ดูว่าจะพัฒนาทักษะชีวิตด้านใดของเด็กอายุ 10 ปี และคุณแม่จะมีส่วนร่วมฝึกด้วยก็จะดียิ่งขึ้น

ประเด็นปัญหา Claw Hand น่าจะแก้ไขค่อนข้างยาก และเป็นไปตามเหตุผลที่เคยกล่าวไว้ถึง Imcomplete recovery of hand spasticity ดังนั้นการลงน้ำหนักมือ/คลาน/ไถนาจึงไม่สามารถแก้ไขได้ และที่สำคัญเด็กอาจไม่จำเป็นต้องลงน้ำหนักมือทำกิจกรรมในท่าตั้งคลานในชีวิตจริง

ในเด็ก CP ที่อายุ 10 ปี คงต้องฝึกแบบ Functional Training มีการปรับขั้นตอนของกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่จำเป็นหรือสำคัญที่สุด เช่น เด็กจำเป็นต้องฝึกใช้มือทำกิจกรรมการดูแลตนเองมากกว่าการเรียน เป็นต้น ที่สำคัญต้องให้ Home & School Programs

สำหรับพฤติกรรมต่างๆ ที่มีการบีบมือ หันเหความสนใจง่าย ดีใจมาก เอามือเข้าปาก น่าจะเป็น Habit ที่เกิดจากการปรับตัวของกล้ามเนื้อเล็กที่เกร็งงอตามพัฒนาการของการใช้มือ ซึ่งเด็กคนนี้มีความสามารถทำตามคำสั่งโดยเอามือออกได้ ส่วนหันเหความสนใจง่ายและดีใจมากเป็นพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในเด็ก CP ซึ่งไม่ถือเป็นปัญหาครับ

หวังว่าคำแนะนำนี้คงเป็นประโยชน์นะครับ

หมายเลขบันทึก: 345710เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2010 07:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณ อาจารย์ป๊อบมากเลยค่ะที่ช่วยอธิบายให้ฟัง

อย่างที่ว่าการที่เด็กมี claw hand ทุกครั้งเวลาลงน้ำหนักมือ หรือคลานนั้นอาจจะไม่ได้ขัดขวางการเรียนรู้การใช้มือในรูปแบบอื่นใช่ไหมคะ

เพราะเวลาปกติเด็กก็ไม่มีการงอมือแบบนั้นคงต้องฝึกกิจวัตรประจำวันเป็นขั้นๆไปตามพัฒนาการของเด็ก เพราะถ้าถามว่าการเรียน เช่น รู้จาก ภาพ สีรูปทรง ภาพสัตว์ ตัวเลข หรือเขียนหนังสือ คงไม่จำเป็นกับเด็กมากนัก เพราะอีกนานมากเลยค่ะกว่าเด็กจะพัฒนาไปถึงขั้นเหล่านั้นได้ คงยากจริงๆ แต่ผู้ปกครองเองก็ สนใจเรื่องของ กำลังกล้ามเนื้อ การฟังคำสั่ง การควบคุมตนเอง การทำ ADL มากกว่าค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์ป๊ออีกครั้งค่ะ

น้องโอทีฝ่ายเด็กเข้าใจเหตุผลทางคลินิกได้ถูกต้องแล้วครับ

เด็กเรียนรู้จากการฝึกกิจกรรมบำบัดและปรับตัวในการใช้มือได้หลากหลาย แต่นักกิจกรรมบำบัดและผู้ปกครองต้องสังเกตและเลือกที่จะจัดกิจกรรมที่เด็กต้องการและที่น่าจะนำไปใช้ในชีวิตจริง เช่น การฝึกทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน การฝึกทักษะการจัดการอารมณ์ เป็นต้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท