ปากีสถาน : การเกิดประเทศปากีสถาน


 

แผนที่ประเทศปากีสถาน

(ที่มา http://www.mfa.go.th/web/2386.php?id=378)

                ประเทศปากีสถานเกิดขึ้นเมื่อ ๑๕ สิงหาคม ๑๙๔๗  เป็นผลมาจากความต้อการเอกราชของชาวอินเดียที่นับถือศาสนาอิสลามต้องการจะมีประเทศที่มีผู้นำและนับถือศาสนาอิสลาม เพราะเกรงว่าหลังจากที่อังกฤษมอบเอกราชให้อินเดียแล้ว พวกตนจะต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาวฮินดู

 

สามารถจำแนกสาเหตุการเกิดประเทศปากีสถานได้ดังนี้ 

 

๑. ทัศนะของชาวมุสลิม 

              ต้องการรวมอิสลามทั้งหมด (Pan Islam)

              - ชาวมุสลิมยึดมั่นในคำภีร์ จงรักภักดีต่อพระเจ้า และภักดีต่อผู้สืบเชื้อสายและผู้มีอำนาจในหมู่ชาวมุสลิม

              - ต้องการรวมพวกพ้องของตน เอาใจใส่ความกินดีอยู่ดีของพวกพ้องตนเท่านั้น

              - เข้าข้าวชาวอังกฤษ ยอมอยู่ภายใต้การปกครองของชาวอังกฤษมากกว่าชาวฮินดู

             - กลัวชาวฮินดูกลืนชาติ เมื่ออังกฤษออกไป

             ความรู้สึกของชาวมุสลิม

             - จากการที่ชาวมุสลิมปกครองอินเดียชาวมุสลิมมายาวนานกว่า ๕๐๐ ปี (ปลายศตวรรษที่ ๑๒) ชาวมุสลิมมองว่า ชาวมุสลิมมีอำนาจมากกว่าชาวฮินดู

             - วัฒนธรรมของมุสลิมในราชวงศ์โมกุล มีอิทธิพลมากในอินเดีย เช่น ภาษา ปฏิทิน วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ การแพทย์  ศิลปกรรม วรรณกรรม สถาปัตยกรรม ฯลฯ ชาวมุสลิมมีความภาคภูมิใจและเย่อหยิ่งในวัฒนธรรมของตน

            ความไม่ไว้วางใจชาวฮินดู

            - เมื่ออังกฤษออกไป ชาวมุสลิมกลัวถูกชาวฮินดูรังแก เพราะชาวฮินดูมีอำนาจและประชาการที่มากกว่า ชีวิต ทรัพย์สมบัติ และศาสนาจะต้องตกอยู่ในอันตราย

            - ชาวฮินดูกร้าวร้สวชาวมุสลิม เช่น เนื้อเพลง Bade Mataram ที่ประณามชาวมุสลิม

            การเรียกร้องสิทธิ์ของชาวมุสลิมที่มีมาก เช่น

            - ขอให้มีตัวแทนในสภามณฑล ในอำเภอ ในเทศบาล มีส่วนตัวแทนในระดับบริหารทั่วไป

            - สิทธิในการลงคะแนนเสียงทั่วไป

            - มีส่วนร่วมในสิทธิการบริการสาธารณูประโภค

            - ขอเสรีภาพในการฆ่าวัว

            - ชาวมุสลิมขอแยกแคว้นสินด์

            - ขอให้ใช้ภาษา Urdu เป็นภาษาประจำชาติ

            - ของให้รับรอง สันนิบาติมุสลิม (Muslim League)

๒. นโยบายของอังกฤษ 

           การปกครองแบบแบ่งแยก (Divide and Rule)

           - อังกฤษได้แบ่งแยกให้ชาวมุสลิมและชาวฮินดูได้ปกครองตนเอง จึงเป็นสาเหตุของการแจกแยก

           - อังกฤษให้ชาวมุสลิมเข้ารับราชการมากกว่าชาวฮินดู สร้างความไม่พอใจให้กับชาวฮินดู

           - อังกฤษให้สิทธิชาวมุสลิมมากมายทั้งที่ขอและไม่ได้ขอ สร้างความไม่พอใจให้กับชาวฮินดู

๓. ลักษณะส่วนตัวของจินนาห์ (Muhammad Ali Jinnah)

Muhammad Ali Jinnah

(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Muhammad_Ali_Jinnah)

           - ช่วงแรก จินนาห์ไม่ต้องการแบ่งแยกชาวมุสลิมและชาวฮินดู เมื่อมีการตั้ง Muslim League เขาจึงไม่เข้าร่วมด้วย

           - จินนาห์ต้องการเป็นผู้นำอันดับหนึ่ง ไม่พอใจ อิจฉาความสำเร็จของมหาตมะ คานธี จึงลาออกจากพรรคครองเกรส (Congress)

 

Mohandas Karamchand Gandhi

(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Mohandas_Karamchand_Gandhi)

           - มีนิสัยทะเยอทะยานไม่ต้องการเป็นรองใคร เขาหาเสียงในหมู่ชาวมุสลิม ด้วยการเป็นปฏิปักษ์กับชาวฮินดู เขาได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากชาวมุสลิมและ Muslim League จนได้เป็นผู้นำในการเรียกร้องการแยกประเทศของชาวมุสลิม นั้นก็คือประเทศปากีสถาน

๔. ความไม่เข้มแข็งของพรรคครองเกรส (The Indian National Congress)

            - พรรคครองเกรสประสบความล้มเหลวที่จะรวม Muslim League เข้ามาร่วมบริการและเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ  เนื่องจากไม่สามารถตกกันได้ภายในพรรค และ Muslim League ต้องการที่จะขอแยกประเทศต่างหากของชาวมุสลิม

            - ในปี ค.ศ. ๑๙๔๐ ครองเกรสเรียกร้องให้อังกฤษมอบเอกราชให้กับอินเดีย แต่ผู้นำ Muslim Leagued กลับขอแยกประเทศต่างหากของชาวมุสลิม คือประเทศปากีสถาน โดยรวมเอาดินแดนที่ชาวมุสลิมอาศัยเป็นจำนวนมากเป็นส่วนหนึ่งของประเทศใหม่ ได้แก่ ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย

 

หนทางนำไปสู่การแบ่งแยกประเทศปากีสถาน และการได้รับเอกราช 

                ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ค.ศ. ๑๙๓๙ – ๑๙๔๕)  อุปราชอังกฤษถือโอกาสนำอินเดียเข้าร่วมสงครามโดยพลการ ทำให้ครองเกรสคัดค้านและยืนยันเสรีภาพ และขอให้มีรัฐบาลเป็นของตนเองโดยด่วน แต่ถูกปฏิเสธ ครองเกรสจึงตอบแทนโดยการ Boycott ด้วยการละทิ้งตำแหน่งต่าง ๆ ขอคณะรัฐมนตรีที่เป็นสมาชิก ครองเกรส ก็ถูกปลดออก คานธีออก Quit India Resolution ผลก็คือถูกจับ จึงเกิดการจลาจลทั่วไป ส่วนจินนาห์รีบฉวยโอกาสให้สมาชิก Muslim League เข้ารับตำแหน่งให้มากที่สุด

                ในช่วงเวลาสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น อินเดียได้รับการเปลี่ยนแปลงทางการทหาร เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งส่งผลสำคัญถึงความพร้อมที่จะเป็นเอกราช ดังเช่น ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ การศึกษา สถาบันทหารได้รับการจัดตั้งอย่างมั่นคง มีการขยายอุตสาหกรรมหนัก สภาพเศรษฐกิจดีขึ้น ประชาชนได้ออกมาทำงานนอกบ้าน โดยเฉพาะสตรี

 

Winston Churchill

(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Winston_Churchill)

                เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทวีความรุนแรงขึ้น Winston Churchillนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ก็เตรียมพร้อมที่จะให้อินเดียมีรัฐบาลปกครองตนเอง ได้เชิญผู้นำของครองเกรส และ Muslim League มาเจรจาร่วมกัน ผลปรากฏว่า จินนาห์ผู้นำ Muslim League ย่นกรานที่จะแยกประเทศปากีสถานให้ได้ และเมื่อมีการคัดค้าน จึงมีการจลาจลเกิดขึ้นทั่วอินเดียระหว่าชาวฮินดูและชาวมุสลิม อังกฤษจึงยอมให้มีการแบ่งประเทศ โดยให้ทั้งสองมีฐานะเป็น Dominions จัดการเขตแดนคือ การสอบถามความสมัครใจของแต่ละแคว้นว่าจะอยู่กับประเทศใด และแล้ววันที่ ๑๕ สิงหาคม ๑๙๔๗ เป็นวันมอบเอกราชให้กับอินเดียและก่อตั้งประเทศปากีสถาน

 

ปัญหาของปากีสถานจากการแยกประเทศ 

                ๑. ปัญหาการโยกย้ายของประชากร

                ๒. ปัญหาการขาดข้าราชการที่มีความสามารถในการบริหารประเทศใหม่ ให้การปกครองไม่เข้มแข็ง

                ๓. ปัญหาการมีที่ดินที่มีประชากรต่างภาษามาอยู่รวมกัน และบางส่วนของดินแดนต่างกัน ถึง ๑,๐๐๐ ไมล์ โดยมีอินเดียขั้นกลาง จึงนำไปสู่การแยกประเทศบังคลาเทศในภายหลัง

 

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

 

อ้างอิง

ประภัสสร บุญประเสริฐ,รศ.. ประวัติศาสตร์เอเชียใต้. พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ๒๕๔๘.

อรพิน ปานนาค, รศ. และคณะ. อารยธรรมตะวันออก. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ๒๕๔๒.

http://www.mfa.go.th/web/2386.php?id=378. สืบค้นเมื่อ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๓.

http://en.wikipedia.org/wiki/Muhammad_Ali_Jinnah. สืบค้นเมื่อ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๓.

http://en.wikipedia.org/wiki/Mohandas_Karamchand_Gandhi. สืบค้นเมื่อ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๓.

http://en.wikipedia.org/wiki/Winston_Churchill. สืบค้นเมื่อ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๓.

หมายเลขบันทึก: 345650เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2010 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท