“ทำวิจัยในงานประจำ (Routine to Research: R2R) ...ให้เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน” เพื่อพัฒนาตน งาน และองค์กร เป็นถ้อยคำสำนวนหนึ่งที่ผมกล่าวไว้ในการช่วงการแสดงบทเป็นคุณอำนวย (วิทยากรกระบวนการ) ณ รพ.ยโสธร เมื่อวันที่ 5-9 มิ.ย.49 ที่ผ่านมา แล้วไม่ทำวิจัยไม่เป็นการพัฒนาตน งาน องค์กร หรือไร อันนี้ผมเตรียมถามตัวเองก่อนไป แต่ในที่ประชุมไม่ได้มีใครถามประเด็นนี้ แต่ก็ยังอยากตอบว่า R2R เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น
ในทัศนะผมแล้วเป็นแค่เรื่องมือ (Tool) ในการพัฒนา แต่กลับจะให้ความสำคัญตรงที่ความเป็นหลักเป็นฐาน เป็นระบบในกระบวนการคิด ยืนยันได้ถึงที่มาที่ไป เหตุและผลที่เกิดขึ้น การจะนำไปปรับใช้ต่อในการพัฒนาจึงไม่ต้องลองผิดลองถูกมากนักอีกเช่นครั้งแรก อีกทั้งเป็นการขจัดส่วนขาดที่ดีของอุปนิสัยคนเราคือการบันทึก เป็นการให้ความสนใจทั้ง Process และ Output Oriented ด้วย (อ่านรายละเอียดเรื่อง Process and Output Oriented Model: POOM)
การทำวิจัยในงานประจำ เป็นการทำเรื่องที่เป็นประเด็นการพัฒนาให้ง่าย ๆ แต่ใช้ได้จริง หมายถึงนำมาใช้ในงานจริง ๆ ไม่ใช่การทำวิจัยที่ไกลตัว เอาเรื่องหน้างาน งานที่ตนหรือกลุ่มหรือทีมงานรับผิดชอบกันอยู่ มาร่วมกันคิดโดยใช้แนวทาง “การจัดการความรู้ที่เน้นจากการปฏิบัติ” ใช้เครื่องมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันที่เหมาะสม เพื่อหาวิธีการพัฒนางานนั้น ๆ ให้ดีขึ้น หรือมุ่งหวังให้เป็นเลิศ ในทัศนะผมอีกเช่นกันมองว่าการทำงานวิจัยในงานประจำนี่แหละที่เป็นเครื่องมือที่แท้จริงและใกล้ชิดกับเราผู้ปฏิบัติงานในการนำมาใช้จริง ไม่ได้ขึ้นหิ้งหลังทำวิจัยเสร็จสิ้นลง
ที่องค์การอนามัยโลกได้เคยจัดประชุมประจำปีเรื่องการวิจัยด้านสุขภาพ "Global Forum For Health Research" โดยใช้ชื่องานว่า “10/90 gap in health research” ผมมีโอกาสได้ไปร่วมด้วยในครั้งนั้น ผมสรุปความได้ว่าในโลกของเราได้ทุ่มเททรัพยากรเพื่อการวิจัยด้านสุขภาพในแต่ละปีอย่างมากมาย แต่นำมาประยุกต์ใช้และหมุนวนเพื่อก่อเกิดการพัฒนาจริง ๆ เพียงส่วนน้อยนิด ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย แต่การวิจัยในงานประจำนี้เราเริ่มหมุนวนใช้ตั้งแต่การวิจัยยังไม่สำเร็จเสียด้วยซ้ำ และที่สำคัญใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นจากเดิมน้อยมาก เพราะเป็นเรื่องที่เนียนอยู่แล้วในงานประจำอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน
ในระหว่างทำก็ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไป เกิดเครือข่ายและสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน รู้จักการทำงานเป็นทีม มองงานในองค์กรเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เมื่อทำสำเร็จภาคภูมิใจร่วมกัน นับเป็นความยั่งยืนของการพัฒนา เพียงแต่ในใจผมไม่อยากให้เกิดการนำไปเป็นตัวชี้วัดที่เข้มงวด ควรให้เป็นไปโดยอิสระ ให้เริ่มด้วยความชอบเสียก่อน
และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่าเมื่อคนเหล่านั้นได้ลงมือทำจนสำเร็จสักชิ้นหนึ่งแล้ว จะมีทัศนคติที่ดีต่อการวิจัยไปในระยะยาว ทั้งรุ่นพี่/รุ่นน้องในเครือข่ายไตรภาคีฯ ไปเรียนต่อในหลักสูตรการวิจัยและพัฒนาระบบฯ และหลักสูตรอื่น ๆ ทั้งในระดับป.ตรี (ต่อเนื่อง) และ ป.โท ก็หลายคนแล้ว ด้วยเหตุเพราะเมื่อผ่านไปได้ก็จะชอบ ชอบเพราะเห็นผลได้ว่าเกิดประโยชน์ต่อตนเอง งาน และองค์กรจริง ๆ ด้วยตนเอง
การทำวิจัยในประเทศไทย..ต่างเป็นผลงานวิจัยที่เลิศและได้ข้อค้นพบที่หรู...แต่หากไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงตามสภาพบริบท...ของพื้นที่หรือยากที่จะหยิบมาใช้ และ..ผู้นำมาใช้ก็รู้สึกด้อยปัญญาเหลือเกินไม่รู้ว่าจะนำมาใช้มาเชื่อมตรงส่วนไหนของการทำงานดี..เราๆ มักถนัดทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก..เพราะทำให้คนทำดูดีน่าทึ่ง...แต่กลับไม่พากันทึ่งคนทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย....ช่างน่าขันดียิ่งนัก...ลองปรับเปลี่ยนวิถีคิด...วิถีทำกันใหม่เถอะเรื่องที่อยากได้จริงๆ ....เราอาจได้ถึงแก่น...ไม่เทียม...เฉกเช่นเรื่อง "คุณภาพ"...ที่เราพยายามอยากได้ใบรับรองกันนักหนา หากแต่ลืมแก่นแท้ของ....ความจริงในเรื่องดังกล่าว
Dr.Ka-poom
เดี่ยวมีให้อ่านตอนต่อ ๆ ไปอีกนะครับ ยังตั้งชื่อตอนไม่ดีเลย เอาไว้ติดตามเอาครับ ฝากทีมงาน R2R รพ.ยโสธร ด้วยเนอะ
อ.Panda ครับ
จะเขียน จะเขียน ว่าจะ...เยอะมากครับ ตอนนี้ต้องจัดการตัวเองให้บันทึกได้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดเสียแล้วครับ มีหลายเรื่องที่คั้งค้างไว้ ยังไม่ได้ตีพิมพ์ จะทะยอยนะครับ
R2R เหมือนเพียงแค่การพัฒนางาน ซึ่งมีผลได้ที่มาจากกระบวนการพัฒนาคน (พนักงาน) ของแถมเป็นความภูมิใจในผลงานที่ประจักษ์ขึ้น เป็นวิทยาศาตร์ด้วยครับ โห...อีกมากมาย ไว้ติดตามตอนต่อไปนะครับ
อ.Handy ครับ
ผมจำได้ว่าผมเคยตอบ คห.อาจารย์แล้ว แต่ไม่ทราบทำไมไม่เห็น (อาจจะตีพิมพ์แล้วหลุด) เอาเป็นว่าผมจะค้นจากต้นฉบับการตอบ คห.ที่เก็บไว้นะครับ ตอนนี้ขอไปทำหน้าที่ (ยาม สสจ.ก่อนนะครับ...กำลังอยู่เวรฯ ครับ)