บทความวิจัย


การศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบการพัฒนาการอ่านแบบมีส่วนร่วม

บทความวิจัย

                การศึกษาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้รูปแบบการพัฒนาการอ่านแบบมีส่วนร่วม

 สิริรัตน์  นาคิน *

                จากสภาพการณ์ปัจจุบันพบว่า นักเรียนไทย และบุคคลที่สนใจทั่วไปได้ให้ความสำคัญต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นอันมาก อย่างปฏิเสธไม่ได้ว่าในชีวิตประจำวันทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษตลอดเวลาอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง นับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารกับผู้อื่นได้ตามความต้องการ และในสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงการประกอบอาชีพที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วและเหมาะสมนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการให้ความสนใจและประสบการณ์ทางภาษาของแต่ละบุคคล

                จะเห็นได้ว่า บริบทสำคัญในการเรียนภาษาอังกฤษไม่เพียงแต่การเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  แต่ยังเป็นส่วนเสริมในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้น ผู้เขียนเห็นว่าทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการเรียนรู้  สังเกตได้ว่าแหล่งเรียนรู้ในปัจจุบันนั้นจำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถในทักษะการอ่าน เพื่อใช้ในการศึกษา ค้นคว้าข้อมูลที่จำเป็น อาทิ เช่น การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต อ่านตำรา หนังสือ สื่อต่างๆ ซึ่งผู้ที่มีทักษะด้านการอ่านจะทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ       มีโลกทัศน์กว้างและทัศนคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษมากขึ้น

                เนื่องจากผู้เขียนมีประสบการณ์ในการสอนและเห็นสภาพปัญหาของผู้เรียนในด้านการอ่านมาโดยตลอด อีกทั้งผู้เขียนได้นำสิ่งที่เป็นปัญหามาวิเคราะห์และทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้รูปแบบการพัฒนาการอ่านแบบมีส่วนร่วม เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพในด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้ารูปแบบการพัฒนาการอ่านแบบมีส่วนร่วมของ Guthrie นักการศึกษาชาวอเมริกาจาก University of Maryland ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มุ่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนในด้านการอ่านให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป

รูปแบบการพัฒนาการอ่านแบบมีส่วนร่วมคืออะไร?

รูปแบบการพัฒนาการอ่านแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาแนวคิดของ Guthrie นักการศึกษาชาวอเมริกาจาก University of Maryland ได้กล่าวถึง การสอนอ่านโยรูปแบบการพัฒนาการอ่านแบบมีส่วนร่วมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแรงจูงใจในการอ่านและคิดไตร่ตรองในเรื่องที่จะอ่าน ผู้อ่านมีความรู้สึกสนุกกับการเรียนและเชื่อว่าสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อให้ถึงจุดหมายด้วยตัวของผู้เรียนเอง บริบทที่มีอยู่ในห้องเรียนสามารถที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการอ่านแบบมีส่วนร่วม ครูสามารถจัดเตรียมเนื้อหาในการอ่านเพื่อให้ชัดเจนตรงตามจุดมุ่งหมายของการอ่านแต่ละครั้งสอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน และใช้การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในการอ่านจากการใช้คำสำคัญ ในการสื่อความหมายให้เห็นเด่นชัดขึ้น คือ ทำอะไร เมื่อไร ใช้วิธีอ่านย่างไร และเนื้อหานั้นน่าสนใจโดยใช้วิธีสอนที่เหมาะสมเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมที่มีอยู่สัมพันธ์กับชีวิตจริง ผู้เขียนได้นำหลักการดังกล่าวนี้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล (Guthrie,  2004)

หลักการสอนโดยรูปแบบการพัฒนาการอ่านแบบมีส่วนร่วม

                การสอนโดยรูปแบบการพัฒนาการอ่านแบบมีส่วนร่วม เป็นรูปแบบการสอนที่มีหลักการส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ จากสิ่งที่อ่านได้อย่างมีจุดหมายและสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีในการอ่าน รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพในด้านการอ่านให้เป็นไปตามความถนัดและสนใจในเนื้อหาที่ผู้เรียนเลือกเอง เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนะในการอ่านและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ดังนี้

1.การกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ (Learning and knowledge goals) โดยครูและนักเรียน

กำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้ตรงตามจุดประสงค์ เริ่มจากการใช้คำถาม การสนทนา ประเด็นสำคัญหลักในการอ่าน เป็นการเตรียมความพร้อมของผู้เรียน

2.การจัดประสบการณ์และเลือกเนื้อหาที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง (Real-world interaction) โดยการ

เลือกเนื้อหาที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี

3.การสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการอยากร่วมเรียนรู้ด้วยตนเอง (Autonomy & Support) โดยให้

ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะอ่านเนื้อหานั้นๆ ครูชี้แนะเกี่ยวกับการเลือกเนื้อหาในการอ่านที่เหมาะสม และวิธีการอ่านที่เหมาะสมส่งเสริมทักษะการอ่านให้ง่ายต่อความเข้าใจ

4.การเลือกเนื้อหาที่ตรงกับความสนใจของผู้เรียน (Interesting texts for instruction) โดยเลือก

เนื้อหาที่ใหม่ น่าสนใจมีคุณค่าและความสำคัญสอดคล้องกับผู้เรียนให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ จากการแลกเปลี่ยนเนื้อหาที่น่าสนใจระหว่างผู้เรียนและการหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ

5.การใช้ยุทธศาสตร์การสอนที่เหมาะสม (Strategy instruction) โดยเลือกวิธีการสอนอ่านที่

หลากหลายตรงตามเป้าหมายการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ที่อ่าน บอกเป็นขั้นตอนชัดเจน และนำมาจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน เสริมสร้างความรู้และทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ได้ความรู้ที่ต้องการและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

6.การส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการเรียนรู้ (Collaboration) โดยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าการ

อ่านภาษาอังกฤษจากบริบทที่มีอยู่ทั้งในและนอกห้องเรียน เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพทางด้านการอ่านในมุมมองที่แตกต่างกัน

7.การมีส่วนร่วมของครูในการสร้างกระบวนการเรียนรู้แก่ผู้เรียน (Teacher- involvement)

ครูจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นใกล้ชิด และมีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อผู้เรียนทำให้การสอนได้ผลดียิ่งขึ้นส่งผลโดยตรงต่อจิตใจของผู้เรียน

8.การให้รางวัลและการยกย่อง (Praise and rewards) โดยให้รางวัล และกำลังใจจากการชมเชย

อย่างถูกต้องเหมาะสม มีเหตุผล เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ

9.การประเมินผลตามสภาพจริง (Evaluation) โดยการประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมก่อนและหลังการอ่าน เปรียบเทียบพัฒนาการอ่าน และความสามารถของผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยใช้แฟ้มสะสมผลงานของผู้เรียน

         จากหลักการสำคัญทั้ง 9 ประการ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ผู้เขียนได้นำมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนตามวิธีการสอนอ่านในแต่ละครั้ง ซึ่งวัตถุประสงค์ในการอ่านแต่ละครั้งนั้นจะแตกต่างกันไปตามเนื้อหาและความสนใจของผู้เรียน  

          การจัดกิจกรรมการสอนอ่านให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในบริบทที่สอดคล้องกับการเรียนให้มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องทุกกระบวนการ เป็นแนวทางที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถอ่านภาษาอังกฤษให้เกิดความเข้าใจด้วยตนเอง การมีส่วนร่วมกับเพื่อนและครู เป็นประเด็นหลักของรูปแบบการพัฒนาการอ่านให้ดียิ่งขึ้น

          ในภาพรวมจากการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยรูปแบบการพัฒนาการอ่านแบบมีส่วนร่วมนั้น เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความถนัดและสนใจ มีขั้นตอนต่อเนื่องที่เป็นระบบมีกิจกรรมที่ตอบสนองต่อลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีบทบาทในการอ่านข้อมูลต่างๆร่วมกัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความท้าทายอยากที่จะอ่านด้วยตนเอง เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนอยากรู้และอยากอ่านงในลักษณะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่แตกต่างกัน โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ จัดได้ว่าเป็นหลักทฤษฎีที่ยอมรับโดยทั่วไปในแวดวงนักศึกษาวิชาการอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน (ประไพพรรณ บุญคง 2545 : 70)

ข้อสังเกตที่เห็นได้ชัดคือ เมื่อผู้เรียนได้เลือกบทอ่านตามที่ตนถนัดและสนใจ เลือกวิธีการอ่านที่หลากหลายตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในบริบทที่ตนเลือกอ่านได้เป็นอย่างดี และมีแนวโน้มที่สนใจการอ่านหนังสือ ข้อมูล หรือสิ่งที่พบเห็นเป็นภาษาอังกฤษมากขึ้น จากการที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนรู้บริบทในการอ่านของตนเอง และเลือกเรื่องที่ตนสนใจ อีกทั้งผู้เรียนยังมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านเปลี่ยนไปจากเดิมโดยสังเกตจากการอ่านหนังสือนอกเวลามากขึ้น ดังนั้น การที่ผู้เรียนจะทำสิ่งนั้นได้ดีก็ต่อเมื่อตรงกับความถนัดและสนใจของผู้เรียนเองและบริบทที่เข้ามามีส่วนเสริมคือภาระงานที่ต้องทำให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อนและครู เป็นการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนระดับที่สูงขึ้น

 

   

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 343885เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2010 00:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีจังเลยครับ ขอนำเข้าเครือข่ายครูสอนภาษาอังกฤษนะครับ

ขอบคุณมากนะคะ อาจารย์ที่เข้ามาชี้แนะ และมีส่วนร่วมตลอดในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และจะนำสิ่งดีๆมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท