kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

พาไปเที่ยวด้วยกัน : นครน่าน เมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว --- วัดภูมินทร์


ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนเป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทยคือ เป็นพระอุโบสถและพระวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน เป็นทรงจตุรมุข (กรมศิลปากร ได้สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย) นาคสะดุ้งขนาดใหญ่ แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้บนกลางลำตัว

         หลังจากไปไหว้พระธาตุแช่แห้งแล้ว   ได้กลับเข้ามาในเมืองน่าน บริเวณกลางเมือง ที่เรียกว่า ข่วงเมืองน่าน  มาเที่ยวชมวัดภูมินทร์ ซึ่งเป็นวัดเดียวในต่างจังหวัดที่มีรูปอยู่ในธนบัตรของประเทศไทย

        วัดภูมินทร์ อยู่ใกล้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เป็นวัดที่มีลักษณะแปลกกว่าวัดอื่น ๆ คือ โบสถ์และวิหาร สร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน ประตูไม้ทั่งสี่ทิศ แกะสลักลวดลายงดงามโดยฝีมือช่างเมืองน่าน นอกจากนี้ฝาผนังแสดงถึงชีวิตและวัฒนธรรมของยุดสมัยที่ผ่านมา ตามพงศาวดารของเมืองน่าน วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2139 โดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ สร้างขึ้น หลังจากขึ้นครองนครน่านได้ 6 ปี ปรากฎในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ "วัดพรหมมินทร์ "    ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ผู้สร้างแต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ดั้งกล่าว ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนเป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทยคือ เป็นพระอุโบสถและพระวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน เป็นทรงจตุรมุข (กรมศิลปากร ได้สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย) นาคสะดุ้งขนาดใหญ่ แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้บนกลางลำตัว  

ตรงใจกลางพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่สี่องค์ ประทับนั้งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตู ทั้งสี่ทิศ เบื้องพระปฤษฎางค์ชนกัน    

 

ภายในพระอุโบสถ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังศิลปกรรมไทลื้อ ที่เล่าเรื่องชาดกในพุทธศาสนาแต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพเช่น ภาพธรรมเนียมการอยู่ข่วง ของชาวไทลื้อ พ่อแม่ จะอนุญาตให้หนุ่มสาวพบปะกันที่ชานบ้านในเวลาค่ำ ขณะหญิงสาวกำลังปั่นฝ้าย หรือ “อยู่ข่วง” หากสาวเจ้าตกลงปลงใจด้วยก็จะจัดพิธีแต่งงาน หรือที่เรียกว่า “เอาคำ ไปป่องกั๋น” หรือเป็นทองแผ่นเดียวกัน การค้าขายแลกเปลี่ยนในชุมชน ภาพชาวพื้นเมือง ซึ่งอาจเป็นชาวเขา “เป๊อะ” ของป่าบนศรีษะ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับคนเมือง ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ภาพนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์ มีการใช้สีแดง ฟ้าดำ น้ำตาลเข้มเป็นปื้นใหญ่ ๆ คล้ายภาพสมัยใหม่ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองน่าน หญิงสาวกำลังทอผ้าด้วยกี่พื้นเมือง นอกเรือนมีชานเล็ก ๆ ตั้งหม้อน้ำดินเผาที่เรียกว่า “ร้านน้ำ” ชายหนุ่มไว้ผมทรงหลักแจวหรือทรงมหาดไทย แสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานในวิถีพื้นเมืองน่าน ภาพชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาเมืองน่านช่วงรัชกาลที่ ๕ ทรงผม และเครื่องแต่งกายของผู้หญิงเป็นรูปแบบเดียวกับที่กำลังเป็นที่นิยมในยุโรปขณะนั้น

บานประตูอุโบสถ เป็นบานไม้เกาะสลักงดงามมาก  เป็นการแกะสลักลึกถึง 4 ชั้น ปัจจุบันมีแผ่นพลาสติกปิดกันไม่ให้สัมผัสได้  ตอนที่ไปเที่ยวเมื่อหลายปีก่อนจำได้ว่าบริเวณหัวเต่า สามารถขยับส่ายไปมาได้

สวัสดีครับ

หมายเลขบันทึก: 343679เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2010 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ตามมาเที่ยวอีกครั้งค่ะ
  • ไปลอดท้องพญานาคมาแล้วด้วย เลยได้ไปน่านหลายครั้งเลย

เมืองน่านมีศิลปะ วัฒนธรรมที่สุดยอดไปเลยค่ะ สวยมาก

  • น่านเป็นเมืองน่าเที่ยวครับ
  • ประมาณ 2 ทุ่ม เมืองก็เงียบแล้วครับ เหมาะกับคนที่รักความสงบ
  • ตอนที่ไปต้นเดือนมีนาคม อากาศตอนเช้าประมาณ 14-15 องศาครับ

สวยๆค่ะ ชอบเมืองน่าน เป็นเมืองวัฒนธรรม หากระยะทางไม่ไกลมากนัก

คงเป็นเมืองที่น่าเที่ยวพอๆกับเชียงใหม่ค่ะ

สวยนะคะ พี่มีโอกาสไปเที่ยวน่านมา 2 ครั้ง ประทับใจในความเรียบง่ายและสงบ คิดว่าคงจะได้ไปอีกเพราะมีคนที่รู้จักและคุ้นเคยทำงานที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเฉลิมพระเกียรติ คงได้มีโอกาสเยี่ยมชมภาพสวยๆ อีกนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท