การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของการมัธยมศึกษาในปัจจุบัน กรณีศึกษาไต้หวัน (ตอนที่ 8)


ในตอนนี้จะพูดถึง ด้านครูเพราะไต้หวันให้ความสำคัญกับครูมากค่ะ ไม่เพียงเฉพาะแต่เงินเดือน แต่ครูท่านใดสนใจจะเรียนต่อสามารถลาเรียนและจะสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนด้วย และโครงการที่สนับสนุนวิชาชีพครูอีกมากมาย ทำให้ครูของที่นั่นมีคุณภาพ สามารถปั้นนักเรียนให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพได้

ประเทศไต้หวันให้ความสำคัญกับบุคลากรครูเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงมีการ “ปฏิรูปการฝึกหัดครู” โดยในอดีตการฝึกหัดครูในระดับมัธยมนั้นมหาวิทยาลัยเป็นผู้จัด ต่อมาในปี 2537 จึงได้มีการแก้ไข “กฎหมายการฝึกหัดครู” (Teachers Education Law) เพื่อเพิ่มความหลากหลายในการจัดการฝึกหัดครู โดยมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งเปิดสอนคณะ/ภาควิชา/บัณฑิตวิทยาลัย และ/หรือหลักสูตรเฉพาะทางในสาขาศึกษาศาสตร์สามารถร่วมในการจัดการศึกษาประเภทนี้ได้

นอกจากนั้น มีการจัดทำโครงการฝึกอบรมเพื่อให้ครูมัธยมมีความก้าวหน้าในการศึกษา เสริมสร้างความรู้และปรับตัวให้ทันกับวิธีการสอนและอุปกรณ์การศึกษาใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนี้

1) จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมสำหรับครูมัธยมศึกษา ศูนย์นี้ตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน จัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกอบรมครูมัธยมศึกษาตอนปลาย เน้นการปรับปรุงวิธีการสอนและอุปกรณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสอน

2) จัดให้มีการฝึกอบรมหรือส่งเสริมการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย เพื่อให้ครูมีโอกาสทางการศึกษาที่หลากหลาย และได้รับความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสอน

3) การให้ครูหยุดสอนเพื่อทำวิจัย (sabbatical leave) และการศึกษาสำหรับอาจารย์ในวิทยาลัย มีรายละเอียดดังนี้

- ครู/อาจารย์ในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยอาจขออนุมัติหยุดสอนเพื่อทำวิจัย เป็นเวลา 6 หรือ 12 เดือน หลังจากทำ งานครบ 7 ปี และมีผลการสอนดีเลิศ โดยทำ หนังสือขออนุมัติไปยังกระทรวงศึกษาธิการผ่านโรงเรียน

- ครูจะต้องจัดทำ แผนการทำวิจัยแนบไปกับหนังสือขออนุมัติ

- ในช่วงที่หยุดสอน จะได้รับเงินอุดหนุนการวิจัย ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะนอกเหนือจากเงินเดือน

          จากการปฏิรูปดังกล่าว ทำให้คุณภาพของครูในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของไต้หวันมีคุณภาพที่สูงมาก และการแก้ไข “กฎหมายการฝึกหัดครู” ได้สะท้อนให้เห็นความเอาใจใส่ของรัฐบาลในการพัฒนาคุณภาพของครูอย่างจริงจังซึ่งทำให้การศึกษาทั้งระบบของไต้หวันได้รับการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน

หมายเลขบันทึก: 343587เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2010 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท