โครงการเชิงรุก โครงการพัฒนาหลักสูตรของผู้ช่วยทันตแพทย์ (ม.ขอนแก่น)


ปัจจุบันอาชีพผู้ช่วยทันตแพทย์ยังเป็นอาชีพที่มีความต้องการจากสังคมสูง โดยผลจากสำรวจนักศึกษาผู้ช่วยทันตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาเมื่อปีพ.ศ. 2551 พบว่า ร้อยละ 82 มีงานประจำทำ โดยมีถึงร้อยละ 72 ที่ทำงานในโรงพยาบาลรัฐ  เนื่องจากหลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์เป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาการเรียนการสอนเพียง 1 ปี ดังนั้นเพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพในการที่จะผลิตผู้ช่วยทันตแพทย์ที่มีคุณภาพ อันจะนำมาซึ่งความสุขและความภูมิใจให้แก่สถาบัน ทางหัวหน้าโครงการและคณะจึงขอจัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์  ซึ่งเป็นโครงการเชิงรุก โดยเริ่มจากการสำรวจคุณลักษณะที่ต้องการของผู้ช่วยทันตแพทย์และประเมินคุณภาพของผู้ช่วยทันตแพทย์ที่จบการศึกษาจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากนั้นจะนำผลการสำรวจมาประมวลและใช้รูปแบบการประชุมสัมมนากับผู้ทรงคุณวุฒิและประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับมหาวิทยาลัยอื่น เพื่อระดมความคิดในการพัฒนาหลักสูตรที่จะนำมาใช้ปฏิบัติจริงในปีต่อๆไป

กิจกรรม

1. สำรวจคุณลักษณะของผู้ช่วยทันตแพทย์ที่ทันตแพทย์ต้องการพร้อมทั้งสำรวจคุณภาพของผู้ช่วยทันตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นจากทันตแพทย์ที่ร่วมงาน โดยแบบสอบถาม

2. สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนผู้ช่วยทันตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2551 เกี่ยวกับหลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์

3. จัดประชุมสัมมนาหลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์ โดยผู้เข้าร่วมประชุมคือคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณะกรรมการดำเนินการเรียนการสอนของหลักสูตร

4. จัดประชุมสัมมนาหลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาร่วมแนะนำ และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ช่วยทันตแพทย์จากมหาวิทยาลัยอื่น

5. นำข้อสรุปที่ได้จากการสัมมนามาปฏิบัติจริงกับนักเรียนผู้ช่วยทันตแพทย์ในปีการศึกษา 2554

6. ประเมินผลของการพัฒนาหลักสูตร โดยแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์

7. รายงานผลของโครงการ 

หมายเลขบันทึก: 343581เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2010 18:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โครงการพัฒนาหลักสูตรของผู้ช่วยทันตแพทย์ (เฟสแรก) (ม.ขอนแก่น) ฉบับแก้ไข

ปัจจุบันอาชีพผู้ช่วยทันตแพทย์ยังเป็นอาชีพที่มีความต้องการจากสังคมสูง โดยผลจากสำรวจนักศึกษาผู้ช่วยทันตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาเมื่อปีพ.ศ. 2551 พบว่า ร้อยละ 82 มีงานประจำทำ โดยมีถึงร้อยละ 72 ที่ทำงานในโรงพยาบาลรัฐ โดยอาชีพนี้มีความใกล้ชิดกับผู้ป่วย ดังนั้นการที่จะสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยนั้น ผู้ช่วยทันตแพทย์จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง แต่เนื่องจากหลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์เป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาการเรียนการสอนเพียง 1 ปี ดังนั้นเพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพในการที่จะผลิตผู้ช่วยทันตแพทย์ที่มีคุณภาพ อันจะนำมาซึ่งความสุขและความภูมิใจให้แก่สถาบัน ทางหัวหน้าโครงการและคณะจึงขอจัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์ ซึ่งเป็นโครงการเชิงรุก โดยเริ่มจากการสำรวจคุณลักษณะที่ต้องการของผู้ช่วยทันตแพทย์และประเมินคุณภาพของผู้ช่วยทันตแพทย์ที่จบการศึกษาจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากนั้นจะนำผลการสำรวจมาประมวลและใช้รูปแบบการประชุมสัมมนากับผู้ทรงคุณวุฒิและประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับมหาวิทยาลัยอื่น เพื่อระดมความคิดในการพัฒนาหลักสูตรที่จะนำมาใช้ปฏิบัติจริงในปีต่อๆไป

กิจกรรม

1. สำรวจคุณลักษณะของผู้ช่วยทันตแพทย์ที่ทันตแพทย์ต้องการพร้อมทั้งสำรวจคุณภาพของผู้ช่วยทันตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นจากทันตแพทย์ที่ร่วมงาน โดยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ (กุมภาพันธ์ ถึง มิถุนายน 2553)

2. สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนผู้ช่วยทันตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2550, 2551และ 2552 เกี่ยวกับหลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์ โดยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ (กุมภาพันธ์ ถึง มิถุนายน 2553)

3. จัดประชุมสัมมนาหลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์ โดยผู้เข้าร่วมประชุมคือคณะกรรมดำเนินงาน และคณะอนุกรรมการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนผู้ช่วยทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (กรกฎาคม 2553)

4. จัดประชุมสัมมนาหลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาร่วมแนะนำ และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ทรงคุณวุฒิและ/หรือผู้บริหารหลักสูตรช่วยทันตแพทย์จากมหาวิทยาลัยอื่น (กันยายน 2553)

5. จัดประชุมเตรียมความพร้อมที่จะนำหลักสูตรที่ถูกปรับปรุงมาปฏิบัติจริง (พฤศจิกายน 2553)

6. รายงานผลของโครงการต่อกรรมการโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุขระยะที่สอง (กุมภาพันธ์ 2554)

7. นำข้อสรุปที่ได้จากการสัมมนามาปฏิบัติจริงกับนักเรียนผู้ช่วยทันตแพทย์ในปีการศึกษา 2554 (เฟสสอง) (เมษายน 2554 ถึง มีนาคม 2555)

8. ประเมินผลของการพัฒนาหลักสูตร โดยแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ (เฟสสอง) (เมษายน 2555)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท