ความคิดและการคาดหวัง


เป็นความคิดแค่คนตัวเล็กคนหนึ่ง เป็นลูกจ้างชั่วคราวเท่านั้นครับ โปรดใช้วิจารณญาณนะครับ

ถอดบทเรียนจากการสนทนา

     วันนี้.. ในขณะที่ผมนั่งทานรับประทานอาหาร มีพี่ชายคนหนึ่งที่รู้จักกันได้เดินมานั่งพูดคุยด้วย...

       สาระในเรื่องที่เขาพูดคุยกันนั้น... คือเรื่องความคิดของเขาที่มีในเรื่องสังคม ซึ่งเป็นความคิดที่ดี หวังในสิ่งที่ดี

วันนี้...ทำให้ผมได้เรียนรู้ถึงมุมมองและทัศนะของเขา....

คิดและคาดหวัง...  คิดแต่ไม่คาดหวัง

        ไม่คาดคิดแต่หวัง....ไม่คาดหวังแต่คิด

สิ่งที่หวังไม่ได้ดั่งคิด....สิ่งที่คิดไม่ได้ดังหวัง

     ไม่คิดไม่หวัง....

     คำพูดของพี่ชายคนนั้นสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองทางความคิดและหวังในสิ่งที่ดี นั่นคือ ความคิดสร้างสรรค์

     สิ่งที่ผมได้รับจากการสนทนาในครั้งนี้ เป็นข้อคิดที่นำมาใช้ในการทำงานคือ

    การคิดในแบบเดียว ทำในแบบเดียว หรือจะคิดคนละแบบ ทำคนละแบบ

แต่ต้องมีจุดประสงค์ในทางเดียวกัน...จะนำมาซึ่งการพัฒนา

    ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นความคิดในการปรับปรุง  ในการเปลี่ยนแปลง ในการทดแทน หรือความคิดเสริมหรือเพิ่มเติม อย่างต่อเนื่อง นั่นคือ การสร้างสรรค์ความคิดที่สรรสร้าง

ดังนั้น อาจไม่ใช่แค่ การเพิ่มเติม หรือเสริมโดยการสร้างขึ้นมาใหม่แต่อย่างเดียว

ดังที่ ท่าน ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวไว้ในบันทึก KM (ภาคปฏิบัติ) วันละคำ : 8. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตอนหนึ่งว่า

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (creativity) ไม่ได้เกิดจาก “ปิ๊งแว้บ” ครั้งเดียว   แต่เกิดจากการ “ปิ๊งแว้บ” เล็กๆ หลายครั้ง ในระหว่างการทำความเพียรเพื่อความสำเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

คนที่ได้ชื่อว่ามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สูงมาก เป็นคนที่กล้าเสี่ยง (take risk)  กล้าเผชิญความผิดพลาด  คนที่มีผลงานสร้างสรรค์ชนิดเหลือเชื่อคือคนที่เคยทำผิดพลาดมามากมาย แต่ไม่ย่อท้อ และรู้จักแก้ไข

    ผมเลยลองไปค้นคว้าด้วยตนเอง เลยลองเปรียบเทียบกับตนเอง ในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ จากสมองทั้งสองด้านตามหลักของ กิลฟอร์ด

สมองซีกขวา

สมองซีกซ้าย

ความคล่องตัวในการคิด (Fluency) ลื่นไหลไปตามอารมณ์และความรู้สึกที่เป็นสุนทรียะ

ความคล่องตัวในการคิด (Fluency) ลื่นไหลไปตามหลักวิชาการ การวิเคราะห์ การจดจำ การคำนวณ

ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) ค่อนข้างสูง ตามอารมณ์และความรู้สึก

ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) ค่อนข้างต่ำ เน้นความถูกต้องและหลักการ ตามเหตุตามผล

ความคิดไม่ซ้ำแบบ (Originality) มีการเกิดขึ้น

ความคิดไม่ซ้ำแบบ (Originality) มีการเกิดขึ้น

ความคิดที่แตกต่าง (elaboration) มีการเกิดขึ้น

ความคิดที่แตกต่าง (elaboration) มีการเกิดขึ้น

    สิ่งเหล่านี้ ที่ทำให้ผมตั้งคำถามในใจ..อะไรคือความ "คุ้มค่า" (Value) หรือ ผลที่ได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้น

    คุณค่าที่ได้รับจากสมองซีกขวา คือ "ความสุขทางใจ" เช่น วาดรูป เล่นดนตรี ร้องเพลง ความคิดริเริ่ม กิจกรรม หรือ การออกแบบ

พูดตรงนี้ นึกถึงตัวอย่างหนึ่งคือ ฉันมีความสุขทุกครั้งที่ได้ร้องเพลง เป็นความสุขทางใจอย่างหนึ่ง ที่มีค่าในจิตใจสำหรับฉัน

    คุณค่าที่ได้รับจากสมองซีกซ้าย คือ "ความสุขที่วัดค่าได้" เช่น การคิดคำนวณ การวิเคราะห์ การจดจำ การอ่าน การพูด การเขียน

พูดตรงนี้ นึกถึงตัวอย่างคือ ฉันมีความสุขที่ทุกครั้งที่ได้คำนวณรายได้ของฉัน เพราะทำใ้ห้ฉันรู้ว่ามันเป็นมูลค่ามากเท่าใด

    คุณค่าที่ได้รับจากทั้งซีกซ้ายและซีกขวา คือ "การพัฒนา" ทั้งในเชิงคุณภาพ และในเชิงปริมาณ

    วันนี้ เลยทำให้ผมได้ข้อคิดดีๆ ประการหนึ่ง คือ ไม่ว่าใช้สมองด้านใดก็ตาม การพัฒนาจะเกิดขึ้น เร็วหรือช้าไม่สำคัญ ความสำคัญขึ้นอยู่เราที่จะเลือกใช้อย่างสมดุลซึ่งกัน ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป และสิ่งที่จะเสริมให้เกิดความสุขได้นั้นคือ การมองโลกในแง่ดี คิดในแง่ดี หรือ คิดบวก ตามที่เห็นและตามที่น่าจะเป็นในทางที่ดีแล้ว สิ่งดีๆ ก็จะเกิดขึ้นกับตัวเราเอง นั่นคือ ความสุขทั้งกายและใจ นั่นเอง

Pic12

(ขอบพระคุณภาพประกอบจาก http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/nervous/ch2/chapter2/picture/pic12.jpg)

หมายเลขบันทึก: 343347เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

....สวัสดีค่ะ...

**ถ้าคนเรารู้จักการใช้..คุณค่าที่ได้รับจากสมองซีกขวาและซีกซ้ายได้อย่างเต็มที่...โดยไม่ใช้ในทางที่ผิด...งานทุกอย่างก็จะไม่มีปัญหาเลย**

ขอบพระคุณครับ ท่านอาจารย์P สายลมที่หวังดี

  • ในการทำงานผมสังเกตว่า ตัวผมใช้สมองซีกขวานำซีกซ้าย นั่นคือ ความคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบใบปลิวให้สวยงามก่อน แล้วค่อยคิดถึงความถูกต้องในตัวอักษร ที่สามารถปรับยืดหยุ่นหรือเพิ่มเติมได้เสมอครับ
  • แต่ในบางทีผมเองก็ใช้ซีกซ้ายนำซีกขวา นั่นคือ การตรวจทานตัวอักษรให้ถูกต้องในการจดรายงานการประชุม แล้วนำมาพิมพ์ จัดย่อหน้า บรรทัดให้สวยงาม ก่อนส่งให้เลขานุการหรือผู้บังคับบัญชาพิจารณา
  • ขอบพระคุณสำหรับข้อคิดเห็นที่นำมาฝากกันนะครับ

ขอบพระคุณครับ ท่านอาจารย์P ผศ. เพชรากร หาญพานิชย์

  • สิ่งที่ผมเขียนอาจเปิดเป็นประเด็นทางความคิดเท่านั้นครับ
  • มูลเหตุที่คิดคือ คิดว่า การคิดดี หรือ คิดสร้างสรรค์ที่จะวัดได้ ถ้าแสดงออกมาเป็นผลงาน ซึ่งมีความแตกต่างกัน ซึ่งสิ่งที่คิดอาจไม่ตรงกับหลักวิชาการเสียเท่าไหร่
  • ขอบพระคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยือน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท