งานเขียน งานวิจัย หน่วยงานองค์กร นักวิชาการที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับมานิก(ซาไก)


 

 งานเขียน งานวิจัย หน่วยงานองค์กร นักวิชาการที่เข้าไปเกี่ยวข้อง มีดังนี้

 

-      สมัยรัชกาลที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องสังข์ทอง กล่าวถึงพระสังข์สวมรูปเงาะ และอธิบายข้อมูลลักษณะของเจ้าเงาะค่อนข้างชัดเจน

-      สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่อง “เงาะป่า” และทรงนำ “คนัง” ลูกชายชาวเงาะมาชุบเลี้ยงเป็นมหาดเล็ก และได้ทรงอธิบายลักษณะทางชาติพันธุ์ของคนังไว้ในในส่วนอธิบาย ค่อนข้างชัดเจน ในช่วงนี้วรรณคดีเรื่องเงาะป่านี้ได้แพร่หลายเข้าไปในยุโรป และเป็นที่กล่าวขานมากเรื่องพระราชากับคนป่า วรรณคดีเรื่องเงาะป่านี้ก็ถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ และมีอยู่ในหอสมุดใหญ่ๆ ทั่วยุโรป และวรรณกรรมเรื่องนี้ก็เป็นทำให้นักวิชาการแขนงต่างๆ เริ่มสนใจที่จะเข้ามาศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น

-      ปี 2442 ตรงกับรัชกาลที่ 5 Wilhelm Schmidt ผู้เชี่ยวชาญด้านชาติพันธุ์วิทยาและภาษาศาสตร์ ได้ศึกษาเงาะเผ่าเซมังและเซนอยในมาเลเซีย เปรียบเทียบกับกลุ่มชนที่พูดภาษาในกลุ่มมอญ-เขมร (Austroasiatic) และกลุ่มชนอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

-      ปี 2453 Wilhelm Schmidt ได้ก่อตั้งสถาบันชาติพันธ์แห่งเวียนนา (Vienese School of Ethnology)  และสถาบันนี้ก็ได้ผลิตนักวิชาการสายชาติพันธ์วิทยามากมาย หนึ่งนั้นก้คือ (Robert Hiene Geldern) ได้เข้ามาศึกษาภาษาศาสตร์ภาษามานิในมาเลเซียในเชิงลึกมากขึ้น

-      ปี 2471 Paul Schebesta มิชชันนารีจากสถาบันชาติพันธุ์แห่งเวียนนา ได้เผยแพร่ผลงานทางชาติพันธุ์วิทยาที่มีชื่อหนังสือว่า Among the Forest Dwarfs of Malaya และได้กล่าวถึงการเข้ามาสำรวจกลุ่มมานิที่เขาเรียกว่าเซมัง (Semang) และกล่าวถึงเซมังในจังหวัดตรัง สตูลและพัทลุงโดยเรียกเซมังกลุ่มนี้ว่า Mos, Tonga

-      ปี 2503 บราเซอร์ อมาโด ได้ศึกษา (Nigritos) หรือซาไก และได้กล่าวถึงซาไกในจังหวัดนราธิวาส สตูล พัทลุงและตรัง

-      ปี 2506 กรมประชาสงเคราะห์ได้เข้าไปช่วยเหลือและให้ที่ดินทำกิน สร้างบ้านเรือน ให้ที่อยู่เป็นหลักแหล่งแก่ชาวมานิกันซิว ที่หมู่บ้านซาไก ต. บ้านแหร อ. ธารโต จ. ยะลา นายกล่อม ศรีธารโต เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างทั้งด้านวิชาการ เคยออกรายการโทรทัศน์ ชาวมานิที่ อ. ธารโต จ. ยะลา เริ่มมีการนำตัวไปแสดงโชว์ตัว ตามที่ต่างๆ เช่น งานวัด พาต้าปิ่นเกล้าฯลฯ

-      ปี 2507 John H. Brandt ได้เข้ามาศึกษากลุ่ม Negrito ในประเทศไทยและเผยแพร่ในวารสาร Journal of the Siam Society

-      ปี 2512 อ. ธารโต จ. ยะลา ได้จัดทำสถานะบุคคลให้แกชาวซาไกที่ หมู่บ้านซาไก ต. บ้านแหร อ. ธารโต จ. ยะลา ประมาณ 50 คน ทุกคนเกิดวันที่ 1 มกราคม 2512 (อ้างอิง จากคุณเบญจวรรณ ศรีธารโต)

-      ปี 2516 หมู่บ้านซาไก ที่อ. ธารโต จ. ยะลา มีสมาชิกบางส่วนเริ่มอพยพออกจากกลุ่มไปอยู่ประเทศมาเลเซีย ตามคำบอกเล่าของคุณเบญวรรณ ศรีธารโต เนื่องจากปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบ การไม่สามารถปรับตัวกับวัฒนธรรมภายนอก

-      ปี 2523 อ. ไพบูลย์ ดวงจันทร์ ได้เรียบเรียงข้อมูลจากการเข้าไปคลุกคลีกับชาวซาไกที่หมู่บ้านซาไกดังกล่าว เขียนเป็นหนังสือชื่อว่า “ซาไก” เจ้าแห่งผืนป่าและสมุนไพร เป็นคนแรกในประเทศไทยที่นำคำว่า ซาไก ในภาษามลายูมาใช้เรียกคนกลุ่มนี้ในทางวิชาการแทนคำว่า เงาะหรือชาวป่า

-      ปี 2529 นายประดิษฐ์ ปักษี มีอาชีพเป็นพรานป่าได้เข้ามาพบกับชาวมานิกลุ่มเฒ่าสัง บริเวณทุ่งหญ้าคา หมู่ 2 ต. ปะเหลียน อ. ปะเหลียน จง ตรัง

-      ปี 2532 อ. เสาวนีย์ พากเพียร นักศึกษาปริญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ศึกษาภาษาซาไกแต๊นแอ๊นที่ อ. ปะเหลียน จ. ตรัง

-      ปี 2533 อ. สุรินทร์ ภู่ขจร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรและคณะ จากโครงการวัฒนธรรมหินโฮบินเนียนในประเทศไทยเข้ามาศึกษา โบราณคดีที่ถ้ำซาไก ต. ปะเหลียน อ. ปะเหลียน จ. ตรัง และได้ศึกษาข้อมูลทางมานุษยวิทยา สมุนไพร กายวิภาคศาสตร์ฯลฯ

-      ปี 3535

- อ. สุรินทร์ ภู่ขจร แนะนำและช่วยเหลือให้นายประดิษฐ์ ปักษี หรือนายดำพาบุตรไปจดทะเบียนการเกิด ได้แก่นายศักดา นางสาววรรณดี นางสาวราตรี อำพันและวัฒนา โดยได้เลข 13 หลักขึ้นต้นด้วยเลข 2

-  อ. สุวัฒน์ ทองหอม อ. โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง เข้ามาศึกษาชาวมานิกลุ่มนี้ โดยในข้อมูลนั้นมีรายชื่อกลุ่มเฒ่าสังที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเฒ่าไข่และเฒ่าโซะ ซึ่งทั้งสามกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ห่างกันมากและมีความสัมพันธ์ทางเครื่อญาติที่ค่อนข้างใกล้ชิด

- มีชาวบ้านที่เป็นคนสัญชาติไทยอพยพมาตั้งบ้านเรือนบริเวณใกล้ๆ กับชุมชนมานิคลองตง โดยว่าจ้างให้ชาวมานิแผ้วถางป่าเพื่อที่จะใช้พื้นที่เป็นสวนยางพาราของตนเอง ปัจจุบันมีพื้นที่ๆ เป็นสวนยางพาราเป็นของตนเองกว่า 200 ไร่

- ญิบ พันจันท์ นักเขียน เข้าไปศึกษาและเขียนงานวรรณกรรมกึ่งสารคดีเรื่อง  “เงาะป่า ชีวิตดั่งฝันที่เทือกเขาบรรทัด”

-      ปี 2538 Gerd Albrecht ชาวเยอรมัน จาก University of tuebingen ได้ ศึกษาการดำรงชีวิตของชนกลุ่มน้อยเผ่าซาไก เพื่อจัดทำแผนผังที่อยู่อาศัยของชนเผ่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หลับนอน ที่หุงหาอาหาร พื้นที่ใช้ทำกิจกรรม ตลอดจนบันทึกภาพความเป็นอยู่ของซาไกด้วยวิดีโอ

-      ปี 2539 Dr. Helmut Lukus แห่ง University of Vienna ได้ศึกษาโครงสร้างทางสังคมของซาไก ซึ่งรวมถึงระบบเครือญาติ รูปแบบการดำรงชีวิตที่อยู่อาศัย ภาษา และดนตรี ตลอดจนศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของซาไก หลังจากที่ได้มีการติดต่อกับสังคมภายนอก ซึ่งมีอาชีพการเกษตร ของชาวมานิกในพื้นที่ จ. สตูล

-      ปี 2545 Nancy Bishop นักภาษาศาสตร์จาก SIL ชาวอเมริกัน ได้เข้ามาสำรวจและศึกษาภาษาของเงาะซาไก ในจังหวัดทางภาคใต้

-      ปี 2546 เกศริน มณีนูนและพวงเพ็ญ ศิริรักษ์ แห่งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ศึกษาพืชสมุนไพรของซาไก และมีผลงานชื่อว่า “ซาไก ชนกลุ่มน้อยภาคใต้ของไทย”

-      ปี 2548 บุญเสริม ฤทธาภิรมย์ เขียนหนังสือเรื่อง “นายคนัง เงาะเซมังภาคใต้” จากการสำรวจและรวบรวมและศึกษางานวิจัยของนักวิจัยชาวต่างประเทศ ซึ่งมีเนื่อหาค่อนข้างกว้างกว่างานเขียนในยุคก่อนๆ มาก

-      ปี 2550 นายช่วงชัย เปาอินทร์ รองผู้ว่าราชการ จ. สตูลและเหล่ากาชาดได้เข้าไปมอบเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ชาวซาไกที่ บ้านช่องไทรหรือช่องงับ ต. นาทอน อ. ทุ่งหว้า จ. สตูลและจัดทำทะเบียนซาไก ให้กับชาวซาไกกลุ่มดังกล่าว

-      ปี 2551

- ดร. สุทิน นพเกตุ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ได้เข้าไปสำรวจปัญหาด้านต่างๆ ของชาวมานิ ที่ อ. ป่าบอน จ. พัทลุงและวางแผนในการช่วยเหลือด้านสถานะบุคคลและการขึ้นทะเบียน

- อ. มะนัง จ. สตูล จัดวิวาห์ซาไก

-      ปี 2552

- นายกิจ หลีกภัย นายก อบจ. ตรัง ได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือและดูแลวิถีชีวิตความเป็นอยู่

- พัทลุงจัดวิวาห์ซาไก

- สารคดี คนค้นคน จ. พัทลุง

- อ. สุวิไล เปรมศรีรัตน์ – ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤติสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดการประชุมเครือข่ายหน่วยงานองค์กรและนักวิชาการรวมทั้งผู้ที่มีความสนใจในพื้นที่ ในการรับทราบปัยหาและการวางแนวทางในการให้ความช่วยเหลือและการพัฒนาภาษาซาไก

-      ปี 2553 ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤติสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ โครงการบางกอกคลินิกเพื่อให้คำปรึกษาด้านกฎหมายด้านสิทธิและสถานะบุคคล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำโครงการจัดการปัญหาสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยกรณีกลุ่มชาติพันธุ์มานิก (ซาไก) ในพื้นที่ จ. ตรัง สตูล

 

 

 

 

 

องค์กรและหน่วยงานและนักวิชาการส่วนต่างๆ ที่เคยให้ความช่วยเหลือ

-      นางสาวสมปอง เอ้งฉ้วน โรงพยาบาลทุ่งหว้า อ. ทุ่งหว้า จ. สตูล

-      นายจรูญ ทศกูล นักวิชาการอิสระ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาละงู

-      นายมานพ ช่วยอินทร์ ผู้ประสานงาน ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ตรัง

-      นายพิเชษฐ์ ปิ่นเมฆ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ หน่วยพิทักษ์ป่าภูผาเพชร ต. ปาล์มพัฒนา อง มะนัง จ. สตูล

-      ศึกษาสงเคราะห์จังหวัดพัทลุง

-      กศน. ทุ่งหว้า จ. สตูล

-      โรงพยาบาลตรัง

-      อ. เทียนชัย พิสิทธาดา ผอ. โรงเรียนบ้านช่องไทร ต. นาทอน อ. ทุ่งหว้า จ. สตูล

-      อ. เสริม มาศวิวัฒน์ โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์

-      อ. ตะโหมด อ. กงหรา อ. ป่าบอน จ. พัทลุง

-      อ. ปะเหลียน จ. ตรัง

-      อ. มะนัง อ. ทุ่งหว้า อ. ควนกาหลง อ. ควนโดน จ. สตูล

 

 

 

ชุมพล โพธิสาร

ผู้รวบรวม

10/03/2553

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ซาไก#มานิก
หมายเลขบันทึก: 343335เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 19:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

  • น้องซิลเวียเข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับซาไกหรือชาติพันธุ์มานิกค่ะ
  • ข้อมูลละเอียดดีจังค่ะ
  • ขอบคุณค่ะที่แบ่งปันความรู้และเรื่องราวดีๆค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท