จักรพรรดิ ชาลล์ที่ ๕ : งานด้านการปกครองอาณาจักรสเปน


 

Emperor Karl V. (Charles V.) (1500-1558)

King of Spain (as Charles I., 1516-1556)
Archduke of Austria (as Charles I., 1519-1521)
Holy Roman Emperor (1519-1556)

(ที่มา : http://www.gwleibniz.com/britannica_pages/emp_karl_v/emp_karl_v_gif.html)

พระเจ้าชาลล์ที่ ๑ (Charies I ค.ศ. ๑๕๑๖ – ๑๕๕๖) แห่งราชวงศ์แฮปเบิร์ก ประสูติที่เมืองแกรนท์ (Ghent)  เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของเจ้าชายฟิลิป ดุ๊กแห่งเบอร์กันดี (Philip the Handsome, Duke of Burgundy : ราชโอรสของจักรพรรดิแมกซิมิเลียนแห่งออสเตรีย กับ พระนางแมรี่แห่งเบอร์กันดี) กับเจ้าหญิงฮวนนา (Juan the Mad :ราชธิดาของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์กับพระนางอิสซาเบลลาแห่งสเปน) ทรงดำรงตำแหน่งดุ๊กแห่งเบอร์กันดีในปี ค.ศ. ๑๕๐๖ และดำรงตำแหน่งกษัตริย์แห่งสเปนในปี ค.ศ. ๑๕๑๖ และตำแหน่งจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. ๑๕๑๙ นับว่าเป็นกษัตริย์ที่หนึ่งใหญ่องค์หนึ่งในยุโรปที่ปกครองดินแดนอันกว้างใหญ่และมีพระราชอำนาจเป็นที่ยำเกรงของกษัตริย์ประเทศรอบข้าง  ดินแดนภายใต้ปกครองของพระองค์ซึ่งเป็นมรดกตกทอดจำแนกได้ดังนี้

            - อารากอน อิตตาลี (ซาดิเนีย ซิซิลี มิลาน เนเปิล) จากพระเจ้าเฟอร์ดินาน (ตา)

            - คาสติล และอาณานิคมในทวีปอเมริกา จากพระนางอิสซาเบลลา (ยาย)

            - อาณาจักรออสเตรีย จากจักรพรรดิแมกซิเมเลียน (ปู่)

            - ฟรองซ์ กองเต และเนอเธอแลนด์จากพระนางแมรี่ (ย่า)

                ในปี ค.ศ. ๑๕๑๙ ทรงได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ภายใต้พระนามใหม่คือ จักพรรดิชาลล์ที่ ๕ ทำให้ดินแดนภายใต้ปกครองกว้างใหญ่มากขึ้น จนเป็นที่เกรงกลัวต่อบรรดาผู้ปกครองยุโรปทั้งหลายว่า จะเป็นการทำลาย ดุลแห่งอำนาจ (Balance of  Power) ในยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศส ซึ่งถูกปิดล้อมจากอาณาจักรของพระองค์ (อาณาจักรแฮปเบิร์ก) ทั้งทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้

                ปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนต้นรัชสมัยที่สำคัญมีสองเหตุการณ์ที่สำคัญคือ ความขัดแย้งกับฝรั่งเศส และ ความขัดแย้งกับตุรกี (ออตโตมันเติร์ก : Ottoman Empire)

 

                ความขัดแย้งกับฝรั่งเศส

                ๓. ในอดีตพระเจ้าชาล์ที่ ๘แห่งฝรั่งเศส ขายอิทธิพลเข้าไปในแหลมอิตาลี ทำให้เกิดผลกระทบกับผลประโยชน์ของสเปน

                ๒. ฝรั่งเศสถูกปิดล้อมจากอาณาจักรแฮปเบิร์ก ทั้งทางทิศตะวันออกและทิศใต้ ฝรั่งเศสต้องการทำลายอำนาจของจักรพรรดิชาลล์ที่ ๕

                ๓. ดินแดนของอารากอน (ตอนบนของสเปน) มรดกตกทอดจากพระเจ้าเฟอร์ดินานนั้น มีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสอยู่ก่อนแล้ว คือเมืองรูซิยองและเซดาน ซึ่งฝรั่งเศสถือโอกาสยึดไปเมืองครั้งเกิดเหตุการณ์กบฏในอารากอนก่อนที่พระองค์จะเข้ามาปกครอง

                ๔. พระเจ้าฟานซิสที่ ๑ แห่งฝรั่งเศส พ่ายแห้การเลือกตั้งตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อันเนื่องมากจากจักรพรรดิชาลล์ที่ ๕  ได้รับการสนับสนุนจาก กลุ่มธนาคาร Fuger Bank กลุ่ม 7 Electors (ผู้ครองนครทั้ง ๗ รัฐในอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์)   และสันตะปาปา ผลจากการชนะของจักรพรรดิชาลล์ที่ ๕ ทำให้ยุโรปเสียดุลอำนาจ และทำให้ฝรั่งเศสต้องเกิดศึกสองด้าน คือกับสเปนและดินแดนเยอรมนี

                ๕. ต่อมาภายหลังพระเจ้าฟานซิสที่ ๑ แห่งฝรั่งเศส เป็นพันธมิตรกับพวกมุสลิม ฝรั่งเศสเน้นความสำคัญของรัฐมากกว่าศาสนา จึงเป็นปฏิปักษ์กับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

 

                ความขัดแย้งกับตุรกี

                จักรพรรดิชาลล์ที่ ๕ ทรงขัดแย้งกับพวกออตโตมันเติร์ก ซึ่งเป็นศตรูนอกทวีป จำแนกได้ดังนี้

                ๑. การเพิ่มแสนยานุภาพทางทะเลของออตโตมันเติร์ก มีผลกระทบโดยตรงต่อผลประโยชน์ของสปนในทะเลเมดิเตอร์เรเนียล ทำให้จักรพรรดิชาลล์ที่ ๕ ต้องทำสงครามกับตุรกีเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการค้า โดยเฉพาะเส้นทางที่สำคัญคือ จากบาเซโลนาไปอิตาลี

                ๒. ค.ศ. ๑๕๒๖ ออตโตมันเติร์กยึดฮังการีได้สำเร็จ จักรพรรดิชาลล์ที่ ๕ ไม่สามารถปกป้องเอาไว้ได้

                ๓. ค.ศ. ๑๕๒๙ ออตโตมันเติร์กบุกกรุงเวียนนา แต่ครั้งนี้จักรพรรดิชาลล์ที่ ๕ สามารถปกป้องเอาไว้ได้

 

จักรพรรดิชาลล์ที่ ๕ กับการปกครองดินแดน 

 

เนเธอร์แลนด์

                จักรพรรดิชาลล์ที่ ๕ ได้ดินแดนเนเธอร์แลนด์มจากพระนางแมรี่แห่งเบอร์กันดี ดินแดนนี้พระองค์ทรงรักและให้ความสำคัญมากที่สุดเพราะ

                ๑. ทรงประสูติที่เนเธอร์แลนด์

                ๒. เป็นดินแดนที่สีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการค้ากับต่างชาติ  ทำให้พระองค์เก็บภาษีได้มากที่สุด เมืองท่าที่สำคัญเช่นอัมเตอร์ดัมส์

                ๓. เมื่อเกิดการปฏิรูปศาสนาขึ้นในเยอรมนี ในปี ค.ศ. ๑๕๑๗ ในดินแดนเยอรมนี เ เนเธอแลนด์ก็ได้รับอิทธิพลจากการปฏิรูปครั้งนี้ด้วย กล่าวคือ พ่อค้าและประชาชนส่วนใหญ่เปลี่ยนการนับถือนิกายจากคอทอลิกเป็นโปรแตสแตนส์ เนื่องจากนิกายใหม่อนุญาตให้ทำการค้าขายแบบเอากำไรได้โดยไม่ผิดหลักศาสนา ในฐานนะที่ทรงเป็นประมุขแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งนับถือนอกายคอทอลิก พระองค์จึงนำกฎ ตรวจสอบผู้นับถือศาสนาและนิกายนอกรีตนอกเหนือจากคอทอลิก (Inquistion) มาใช้ แต่ก็ไม่ได้ใช้ความรุนแรงอย่างเช่นดินแดนอื่น ทรงเห็นว่า สามารถเก็บภาษีจากดินแดนแห่งนี้ได้มากนั่นเอง

                สรุป ทรงประสบความสำเร็จในการปกครองเนเธอร์แลนด์

 

คาสติล

                ทรงได้รับมรดกจากพระนางอิสซาเบลลา ดินแดนแห่งนี้พระองค์ต้องประสบกับปัญหาตั้งแต่ก่อนเสด็จมาปกครอง เรื่อยมาจนถึงเสด็จมาประทับ การปกครองคาสติลมีพัฒนาการดังนี้

                ๑. ก่อนที่พระองค์เสด็จมาปกครอง สังฆราชจิปานุส ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการ ต้องประสบกับปัญหากับความขัดแย้งระหว่างขุนนางและประชาชนมากมาย

                ๒. เมื่อเสด็จมาประทับคาสติล พระองค์ต้องประสบกับปัญหาการต่อต้านเพราะ

                - ทรงพูดภาษาสเปนไม่ได้

                - ชาวคาสติลไม่พอใจที่ทรงเรียกเก็บภาษีแพงเกินไป

                - ทรงนำขุนนางเบอร์กันเดียน (Burgundians) เข้ามาร่วมบริหารประเทศ ทำให้ขุนนางและชนชั้นสูงในคาสติลไม่พอใจ

                ๓. ค.ศ. ๑๕๒๐ – ๑๕๒๑ เกิดกบฏคอมมูนส์ ขุนนางคาสติลไม่สามารถปราบปรามได้ แต่เมื่อพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์  ทรงมีพระราชอำนาจและกองกำลังมาก สามารถปราบปรามกบฏคอมมูนส์ได้สำเร็จ เพราะไม่มีขุนนางคนใดเข้าขัดขวาง อีกทั้งยังหันมาให้การร่วมมือกีบพระองค์ในการปราบกบฏคอมมูนส์ ผลที่ตามมาหลังจากกบฏคอมมูนส์คือ

                - เกิดความปรองดองระหว่างกษัตริย์และขุนนาง ขุนนางคาสติลไม่ก่อกบฏตลอดที่ราชวงศ์แฮปเบิร์กปกครองคาสติล

                - ทรงสามารถพัฒนาระบบ สมบูรณาญาสิทธิราช (Absolutism) ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีสภาคอร์เตสคอยช่วยเหลือ

                - ชาวคาสติลประทับใจในพระองค์ เมื่อพระองค์พูดภาษาสเปนได้ และทรงเป็นคอทอลิกที่เคร่งครัด เป็นผู้ปกครองศาสนาที่เข้มแข็ง

                - ทรงได้ประโชยน์จากการเก็บภาษาและการทหาร

                ๔. ทรงตองแทนประชาชนคาสติลโดย ผู้ที่จะเป็นขุนนางคาสติล จะต้องเป็นชาวคาสติล ๘ / ๑๐ คน

                สรุป พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการปกครองคาสติล

                 

อรากอน

                ทรงได้รับสืบทอดมาจากเจ้าชายเฟอร์ดินานด์ ทรงประสบปัญหาในการปกครองอรากอนคล้ายกับคาสติล กล่าวคือ

                ๑. ในช่วงแรกชาวอราการไม่ประทับใจในพระองค์ที่เป็นชาวต่างชาติ พูดภาษาสเปนไม่ได้

                ๒. ค.ศ. ๑๕๑๙ เกิดกบฏบาเลนเซีย แต่สามารถปราบปรามได้ในปี ค.ศ. ๑๕๒๒

                ๓. พระองค์ไม่สามารถนำเอาระบบ Absolutism มาใช้ในอรากอนได้ ถูกถูกระบบการตรวจสอบกษัตริย์จากขุนนาง (Fuerous) บังคับ นับว่าเป็นระบบอภิสิทธิชนที่เข็มแขงของขุนนางอรากอน

                สรุป พระองค์ทรงไม่ประสบความสำเร็จในการปกครองอรากอน

 

เยอรมนี (Germany Holy Roman Empire)

                ทรงได้รับมรดกมาจากจักรพรรดิแมกซิเมเลียน นับว่าเป็นดินแดนที่พระองค์ไม่ประสบความสำเร็จในการปกครองมากที่สุด เพราะ

                ๑. ทรงเป็นชาวต่างชาติในสายตาชาวเยอรมนี

                ๒. ทรงไม่พอพระทัยความเป็นอิสระของขุนนางเยอรมนี และขุนนางเยอรมนีไม่พอใจพระองค์ ขุนนาง ขุนนางยุยงให้พระองค์ทำสงครามกับฝรั่งเศส เพื่อที่พระองค์จะได้ไม่มีเวลามายุ่งเกี่ยวกับขุนนางเยอรมนี

                ๓. ทรงไม่มีอำนาจทางการทหาร และไม่สามารถเก็บภาษีได้อย่างเต็มที่

                ๔. ค. ศ. ๑๕๑๗ มาติน ลูเธอร์ นักบวชชาวเยอรมนี ไม่พอใจในศาสนจักร ในการกระทำเช่น การถือครองที่ดินของพระที่มากเกินไป, ความฟุ่มเฟือยของพระ, การซื้อขายตำแหน่งทางศาสนา, อำนาจของสันตะปาปาและราชาคณะที่มากจนเกินไป และที่สำคัญที่สุด การขายใบบุญไถ่บาปเพื่อนำเงินไปสร้างมหาวิหาร St. Peter ในอิตาลี ทำให้มาตินลูเธอร์ออกประกาศ 95 Theses ในแซกโซเนีย ตอนเหนือของเยอรมนี เพื่อต่อต้านสันตะปาปาและศาสนจักร (Protestant) จึงทำการปฏิรูปศาสนาโดยมีผู้ร่วมขบวนการหลายกลุ่มเช่น ขุนนางฝ่ายเหนือ พ่อค้า และประชาชนที่ถูกกดขี่จากศาสนาจักร ทำให้จักรพรรดิชาลล์ที่ ๕ ในฐานะของจักรพรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์ และ กษัตริย์คาทอลิก ตั้งรับหน้าที่ทำการปราบปราม แต่พระองค์ก็ไม่ประสบความสำเร็จเพราะ

Matin Luther

(ที่มา : http://imspeakingtruth.wordpress.com/2008/07/18/blacks-and-reformed-theology/)

                - ทรงติดทำสงครามกับฝรั่งเศส และ ตุรกี ไม่สามารถทุ่มเทกำลังมาปราบปรามได้อย่างเต็มที่

                - ทรงมีความขัดแย้งกับสันตะปาปาอยู่ก่อนแล้วจึงไม่กระตือรือร้นในการปราบปราม

มหาวิหาร St. Peter นครวาติกัน

(ที่มา : http://www.ship-of-fools.com/mystery/2000/200Mystery.html)

                ๕. ในภายหลังทรงหันมาช่วยเหลือสันตะปาปาในการปราบปรามพวกโปรแตสแตนส์ กำหนดโทษมาตินลูเธอร์ เกิดการต่อต้านอย่างหนักจากขุนนางทางภาคเหนือของเยอรมนี และประชาชน ก่อให้เกิดนิกายใหม่คือ Lutheranism ซึ่งเป็น Protestant นิกายแรก ลุกลามกลายเป็นสงคราม Knight War ค.ศ. ๑๕๔๖ – ๑๕๕๕ และพัฒนาเป็นสงคราม ๓๐ ปี (The Thirty Year War) ในภายหลัง

                สรุป พระองค์ทรงล้มเหลวในการปกครองเยอรมนี

 

อิตาลี

                ทรงได้รับมรดกจากเจ้าชายเฟอร์ดินานด์ ประกอบด้วยเมืองสำคัญคือ มิลาน เนเปิล ซาร์ดิเนีย ซิซิลี ทรงประสบกับปัญหากับการปกครองดินแดนแห่งนี้คือ

                ๑. ชาวอิตาลีมองว่าพระองค์เป็นชาวต่างชาติ และเป็นศตรู

                ๒. ทรงมีปัญหากับสันตะปาปาคือ

                - สันตะปาปาไม่ต้องการให้มหาอำนาจชาติใดขยายอำนาจเข้ามาในแหลมอิตาลี เนื่องจากกรุงรมอยู่ในอิตาลี ซึ่งก็เหมือนกับประเทศของสันตะปาปา

                - สันตะปาปาเอเดรียนที่ ๕ ผู้ที่เคยเป็นพระอาจารย์ของพระองค์หันไปเข้าข้างฝรั่งเศส เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระองค์ไม่กระตือรือร้นในการปราบปรามพวก โปรแตสแตนส์ ในช่วงแรก

                - สันตะปาปาเครมองต์ที่ ๗ หวาดเกรงพระราชอำนาจของจักรพรรดิชาลล์ที่ ๕ จากผลงานในการปราบปรามโปรแตสแตนส์ จึงหันไปร่วมมือกับ สันนิบาติคอนยัค เพื่อคานอำนาจพระองค์ ดังนั้น ในปี ค.ศ. ๑๕๒๗ จักรพรรดิชาลล์ที่ ๕ จึงทรงตอบโต้โดยการนำกองทัพบุกเข้าไปในกรุงโรมแล้วปล้นสะดม

                สรุป ทรงไม่ประสบความสำเร็จในการปกครองอิตาลี

 

                จักรพรรดิชาลล์ที่ ๕ กษัตริย์ราชวงศ์แฮปเบิร์กแห่งสเปนทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระราชอำนาจมากและดินแดนในการปกครองดินแดนที่กว้างใหญ่ทั้งในยุโรปและอเมริกา  แม้ว่าพระองค์จะทรงประสบความล้มเหลวในการปกครองดินแดนตอนต้นรัชสมัย แต่ชาวสเปนก็มีความถูมิใจในการเป็นผู้นำคาทอลิกที่เข้มแข็ง เมื่อทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงนำเสปนเป็นศูนย์กลางในการปกครองจักรวรรดิของพระองค์ แต่ด้วยความกว้างใหญ่ของดินแดน อีกทั้งความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา และภาษา ทำให้พระองค์ปกครองไม่ทั่วถึง อีกทั้งอุปสรรค์จากการปฏิรูปศาสนา ความไม่ลงรอยรับสันตปาปา และสงครามอันยืดเยื้อกับฝรั่งเศสและตุรกีตลอดระยะเวลา ๔๐ ปีที่ทรงครองราชย์  ทำให้ทรงสละราชสมบัติในปี ค.ศ. ๑๕๕๖

 

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

บรรณานุกรม

ศฤงคาร พันธุ์พงศ์, รศ.. ประวัติศาสตร์สเปนสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ๒๕๔๘.

 

http://www.gwleibniz.com/britannica_pages/emp_karl_v/emp_karl_v_gif.html สืบค้นเมื่อ ๙-๓-๒๕๕๓

 

http://imspeakingtruth.wordpress.com/2008/07/18/blacks-and-reformed-theology/ สืบค้นเมื่อ ๙-๓-๒๕๕๓

 

http://www.ship-of-fools.com/mystery/2000/200Mystery.html สืบค้นเมื่อ ๙-๓-๒๕๕๓

หมายเลขบันทึก: 342603เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2010 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท