มิตรภาพ ในอีกมุมมอง


Positive Psychology

เท่าที่ผมทราบ มิตรมีสามแบบ

1. กัลยาณมิตร เป็นเพื่อนที่ดีที่สุด ช่วยเหลือเรา คุณจะรู้สึกถึงแรงคัดค้าน อย่างมีพลัง เวลาคุณทำอะไรออกนอกลู่นอกทาง จนคุณต้องฟัง ชีวิตคุณไม่ง่ายนักเมื่ออยู่ไกล้กัลยาณมิตร เพราะเขายึดความดีงาม เป็นหลัก ในระยะยาวตัวคุณจะถูกขัดเกลา คุณภาพใจจะดีขึ้นเรื่อยๆ

2. พันธมิตร อยู่ด้วยแล้วมีความสุข ปนทุกข์ แต่โดนรวมเราจะรู้สึกดี  เพราะแบ่งทุกข์แบ่งสุขกัน งานมีโอกาสก้าวหน้าสูง พอๆกับลงเหวได้แบบไม่ทันคิด พันธมิตรอาจไม่ยึด "ความดี" เป็นหลัก โดยอาจเป็น "ผลประโยชน์" แทน เมื่อหมดประโยชน์ จึงอาจหมดสนุก เมื่อคุณพยายาม "ใช้หลักความดีมากกว่าผลประโยชน์" พันธมิตร จึงอาจไม่อยากมี "พันธะ" กับคุณอีกต่อไป ในโลกมีพันมิตรมากนะครับ คุณเองก็ต้องบริหารความเสี่ยงดีๆ ถ้าไม่ใช่กัลยาณมิตรก็ต้องคอยดูใจกันไปครับ อย่ายึดติดและคาดหวังความทุ่มเท และความรับผิดชอบจากเขามากครับ เพราะไม่แน่

3.  บาปมิตร อาจมีเยอะกว่า และอาจดูเยอะมากกว่าปรกติ เพราะคุณเผลอคิดว่าเขาเป็นพันธมิตร หรือกัลยาณมิตร ดูให้ดีครับ ถ้าไม่เข้าหัวข้อหนึ่ง หรืออย่างน้อยข้อสอง คุณอาจต้องคิดใหม่ ปล่อยเขาไปเถอะครับ ระยะยาวนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์อะไร เรายังอาจเสียผู้เสียคนก็ได้ อย่างน้อยก็เสียโอกาสแน่นอน การปล่อยเขาไปอาจเป็นการแสดงความเป็น "กัลยาณมิตร" ที่ดีที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้

เป็นข้อคิดเล็กน้อยในวันนี้ครับ เขียนให้ผู้ที่ยังสับสนกับคำว่า "มิตรภาพ"

คุณล่ะ คิดอย่างไร

 

คำสำคัญ (Tags): #positive psychology
หมายเลขบันทึก: 342535เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2010 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สำหรับมิตรภาพแล้ว ไม่ว่า พันธมิตร หรือ กัลยาณมิตร

ต้องสร้างและเริ่มจากมุมมองเชิงบวก ค่ะ อย่างน้อยที่สุด

เราเองที่สุขใจ พร้อมให้อย่างไม่คาดหวัง บนพื้นฐาน

ความถูกต้อง ความดีงาม และสร้างสรรค์เพื่อสิ่งดีๆ ค่ะ

พื้นฐานทางวัฒนธรรมเป็นสำคัญค่ะอาจารย์..ในความคิดนะคะ..ครอบครับเป็นสังคมเล็กๆก็จริงแต่ยิ่งใหญ่ในการขัดเกลาจิตใจของคนในครอบครัวสู่สังคมใหญ่..พฤติกรรมนี้ถูกสั่งสมเป็นประสบการณืที่เราเรียกกันว่าประสบการณ์ตรงที่ถาวร ยกตัวอย่างในทางที่ดีคือ

1.ความเป็นกัลยาณมิตรของครอบครัวกับเพื่อนบ้าน รู้จักให้แบ่งปัน เด็กๆได้เห็นพฤติกรรมนี้จากคนรุ่นพ่อแม่-ปู่ย่า-ตายาย ด้วยวัฒนธรรมการให้ ให้ความจริงใจ

2.ความเป็นกัลยาณมิตรต่อชุมชน รู้จักรักษาทรัพย์สมบัติอันเป็นสาธารณะของชุมชน ช่วยงานวัด งานอื่นๆของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ เสียสละ สามัคคี มีวินัย ใส่ใจ คือวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม หรือที่เราอาจเรียกได้ว่ารักบ้านเกิดก็ได้ค่ะ

3.ความเป็นกัลยาณมิตรของบุคคลในชุมชน เช่นผู้มีพระคุณและภูมิปัญญาหรือปราชญ์ชาวบ้านอย่างนอบน้อมนับถือ เรียกว่าวัฒนธรรมการอ่อนน้อมถ่อมตนอันเป็นกริยาที่งามของคนไทยมาเนิ่นนาน

*********************************************

เมื่อ 3 ประการนี้ได้รับการปลูกฝังมาเนิ่นนาน...ถ้าเราโชคดีเจอบุคคลเหล่านี้เข้า..เราก็จะได้กัลยาณมิตรที่เยี่ยมยอดที่สุดในโลกไซเบอร์และในสังคมของความเป็นจริง

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • น้องซิลเวียได้ยินและรู้จักคำว่า กัลยาณมิตรและพันธมิตรมาบ้างแล้วค่ะ
  • แต่คำว่าบาปมิตรเพิ่งรู้จักเป็นครั้งแรกที่นี่ค่ะ..ไม่รู้จะแยกแยะอย่างไร บาปมิตรคือคนที่ชักนำให้เราทำบาปหรือเปล่าคะ..

The table talk

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ ดร.ภิญโญ

ที่จริงก็สับสนกับคำว่า "มิตรภาพ" มากๆ เลยค่ะ..  ดูใช้คำนี้กันแบบฟุ่มเฟือยเกินความเป็นจริงหรือเปล่า..  การซึมซับเรื่องใดๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ย่อมต้องใช้เวลา ให้เวลา และมีเวลาที่จะให้..  หรือว่า.. "มิตรภาพ" ไม่ต้องใช้การซึมซับ สามารถ ชูส ไป ชูส มาได้ เหมือนการแย่งลูกฟุตบอล..  บันทึกให้ข้อคิดที่ดีมากค่ะ  ขอบคุณค่ะ  ()

ไหนๆก็ไหนๆแล้วจึงตามมาเม้นท์เรื่อยๆ ดูๆไปแล้วก็น่าคิดนะคะ อืม..ม..ม มิตรภาพที่แท้จริงก็อาจจะอยู่ที่เราเองนั่นแหละค่ะยอมรับในมิตรภาพที่ใครส่งมาให้หรือเปล่าน่ะค่ะ

               

ตอบคุณ Poo เห็นด้วยเลยครับ ต้องเริ่มจากการเป็นกัลยาณมิตรก่อนนั่นเอง

ตอบคุณอ้อยเล็ก ขอบคุณที่ให้ความรู้เพิ่มเติมครับ

ตอบน้องซินเวีย ประมาณนั้นครับ บาปในที่นี้ เบื้องต้นอาจไม่รู้เรื่อง ในระยะยาวทำเราเดือดร้อนครับ เรียกว่าตกต่ำก็ได้

ตอบคุณนีนานันท์ ผมใช้คำว่ามิตรนี้เป็นเชิงปรากฏการณ์ครับ อาจไม่มีการพูดถึงตรงๆ ครับ ยังไงผมจะเขียนมาเพิ่มครับ

ตอบคุณหมูจ๋า เพื่อนใหม่ของผม เห็นด้วยครับ เพื่อนไม่มีวันตาย แต่เพื่อนไม่ดี ทำให้เราตายได้ครับ

ขอบคุณ ท่านอาจารย์ ดร.ภิญโญ ค่ะ

ที่จริง "มิตรภาพ" มีความหมายกว้าง  โดยเฉพาะมิตรภาพ ที่เกิดจากความเมตตาที่เรามีกำลังความสามารถจะให้ใครๆ ได้ ด้วยใจยินดีและเราก็มีความสุขค่ะ..

นีนานันท์ดีใจที่เห็นบันทึกนี้  ซึ่งคนส่วนมากจะไม่ค่อยยอมรับและพูดกันตรงๆ และในทางปฎิบัติ ทุกคนก็เหมือนแย่งลูกฟุตบอลกัน  แถมยังพยายามโอ้อวดใครๆ ว่า ตัวเองเป็นผู้มีลูกฟุตบอลถืออยู่ในมือ อย่างเป็นต่อใครๆ..

ดีใจอีกครั้งที่ท่านอาจารย์จะเขียนบันทึกเชิงปฎิบัติการเพิ่ม  จะคอยรออ่านนะคะ..  อิ อิ     ()

ขอบใจไพรัชชน์ที่แวะมา

ขอบใจคุณนีนานันท์ คุณจุดประเด็นให้ผมได้เขียนต่ออีกครับ

คุณแม่เป็นคนแพร่หรอคะ เหมือนกันเลย แม่ของโอโอมะก็เป็นคนแพร่ โอโอมะเคยเรียนมัธยมที่แพร่ รร.นารีรตน์คะ แต่ไม่ใช่คนแพร่โดยกำเนิด

ยินดีที่รู้จักนะคะ ฝากหวัดดีคุณแม่คุณด้วยนะคะ คนแพร่เหมือนกัน

Ok ครับ ขอบคุณที่แวะมา คุณแม่ก็จบนารีรัตน์เหมือนกัน

โชคดีที่หนูยังพอมี กัลยาณมิตร พันธมิตร อยู่บ้าง ถึงจะไม่มากแต่ก็ดีเกินพอแล้วคะ

หนูคิดว่า มิตรภาพ แบ่งปันกันได้ ให้กันได้ง่ายๆ ไม่ต้องเสียตังค์

ที่สำคัญ....ผลคอบแทนของมิตรภาพที่เราให้ มันก็คือมิตรภาพกลับคืน แล้วมันทำให้ใจเราเป็นสุข เบิกบานด้วยซ้ำ

แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมมันให้กันยากจัง ยิ่งโตขึ้นยิ่งรู้สึกคะ

อ่านแล้วได้มุมคิดเยอะค่ะ

ถ้าโดนใจเราก็คือกัลยาณมิตรเรา

ถ้าไม่โดนใจ-ทำให้เราสนใจเพราะความต่างค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท