รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา


(3)เทคนิคและวิธีการพัฒนาสถานศึกษา

รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา 

               การปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมในการจัดการความรู้ โดยการ   เปลี่ยนแปลงค่านิยมและพฤติกรรมของผู้บริหาร ครู และบุคลากรให้เป็นผู้ยึดแนวการทำงานที่เปิดรับ และพร้อมจะสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ พร้อมเป็นผู้แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน  มีสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน มีมุมมองผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชาในเชิงบวก ผู้บริหารต้องกล้านำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ ร่วมกัน หาทางออกหากขัดต่อระเบียบข้อบังคับ และสร้างโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน และให้โอกาสทีมงานด้วยความสมัครใจ

               กระบวนการและเครื่องมือในการจัดการความรู้  เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ถ้าเป็นการจัดการความรู้ประเภทชัดแจ้ง มักจะใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ประเภทฝังลึก มักจะเป็นกระบวนการที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบ่งปัน เผยแพร่ความรู้ กิจกรรมนี้ นำการจัดการที่เป็นระบบแล้วเผยแพร่แก่นักปฏิบัติที่มีความต้องการจะนำองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ไปใช้ประโยชน์นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (Use) เป็นกิจกรรมที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อมีการจัดการความรู้แล้วไม่นำไปใช้ประโยชน์ก็ไม่บังเกิดผลใด ๆ ทำให้เกิดความสูญเปล่าในการจัดการความรู้นำความรู้ที่ได้มา และผ่านการนำไปใช้แล้วว่าเกิดประโยชน์จริง มาเก็บไว้ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ไว้เป็นแหล่งความรู้ (Knowledge Assets) เพื่อให้เกิดพลังในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                ตัวอย่าง การจัดการความรู้ในสถานศึกษา  มีวิสัยทัศน์ มุ่งจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ประสานชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  ให้บรรลุตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ  มีความรู้คู่คุณธรรม  สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น  และพัฒนาวิชาชีพให้นักเรียนสามารถประกอบสัมมาชีพได้  เป็นคนคุณภาพของสังคมและประเทศชาติการส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาวิชาชีพครู มุ่งให้ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา  ได้แก่                        

                การส่งเสริมให้ครู   ได้แสดงความรู้ ความสามารถให้มากยิ่งขึ้น โดยการจัดทำศูนย์รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริหาร ครูต้นแบบ ครูดีในดวงใจ ครูดีเขตพื้นที่   จัดให้ครูทุกคนได้มีโอกาส  เข้ารับการอบรม  ประชุมสัมมนา  ศึกษาดูงานในเรื่องที่สนใจ เผยแพร่  ผลงานของผู้บริหาร  ครู นักการ  ลูกจ้าง  ในเอกสารประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน    กระตุ้นให้ครู ผู้บริหารร่วมกันคิดและสร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ข้อมูลจากประสบการณ์ของผู้ทีประสบผลสำเร็จในการคิดปรับปรุง หรือพัฒนาการจัดการเรียนการสอน  ส่งเสริมสนับสนุน ให้เกิดความร่วมมือกันทางวิชาการ ระหว่างโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย     ส่งเสริมการสร้างเครือข่าย ระหว่างบุคคลและเครือข่ายระหว่างหน่วยงานกับสถานศึกษา   ดังนั้นในการจัดการความรู้ของโรงเรียน จึงกำหนด   “เป้าหมายในการจัดการความรู้”  เพื่อให้วิสัยทัศน์ บรรลุผล โดยเลือกกำหนดให้สอนคล้องกับยุทธศาสตร์ ที่กำหนดไว้ในแผน    

หมายเลขบันทึก: 342515เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2010 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แวะเวียนเข้ามาดูเรื่องเกี่ยวกับการจัดการความรู้นะคะ KM

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท