สิทธ
นาย สิทธิชัย สิทธ ช่วยสงค์

อบรมการกรีดยางพารา


การกรีดยางพารา

ผลการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่  หลักสูตร การกรีดยางพาราที่ถูกต้องและเหมาะสม 

ระหว่างวันที่  16 – 22  กุมภาพันธ์  2553

ณ  ศูนย์วิจัยยางพาราสุราษฏร์ธานี   อำเภอท่าชนะ   จังหวัดสุราษฏร์ธานี

------------------------------------

บุคคลเป้าหมายที่เข้าอบรมหลักสูตร การกรีดยางพาราที่ถูกต้องและเหมาะสม  จำนวน 20 ราย ได้แก่

1. อำเภอกาญจนดิษฐ์  1 ราย  ได้แก่  นายสิทธิชัย  ช่วยสงค์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ      

2. อำเภอเมือง   1 ราย  ได้แก่  นายสุทธิเดช  ทองมาก   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

3. อำเภอดอนสัก  1 ราย ได้แก่  นายสมภพ  โกศลเวช   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ

4. อำเภอไชยา  1 ราย  ได้แก่  นายเธียรชัย  พิชัยรัตน์    นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร

5. อำเภอท่าชนะ  1 ราย ได้แก่  นายเอนก   พิสุทธิจารุ   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

6. อำเภอท่าฉาง 2 ราย ได้แก่ นายสมคิด สิทธิกุล  เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน

                                       นายธวัช วรรณคดี  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 

7. อำเภอพุนพิน  1 ราย ได้แก่  นายเอกวิทย์   โถสุวรรณ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร

8. อำเภอวิภาวดี  1 ราย ได้แก่  นส.ณัทฐิมา  สุขเสวียด   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

9. อำเภอบ้านตาขุน 1 ราย ได้แก่  นายชวิศร์  สวัสดิสาร  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

10. อำเภอคีรีรัฐนิคม 1รายได้แก่นายชำนาญวิทย์  ทินวงศ์นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

11. อำเภอพนม 1 ราย ได้แก่ นางวิไลวรรณ พลายสวัสดิ์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ

12.อำเภอบ้านนาสาร1 รายได้แก่ว่าที่รต.พีรพงศ์  พิงคารักษ์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร

13. อำเภอบ้านนาเดิม 1 ราย ได้แก่  นส. อรัญญา  ชูแก้ว นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ

14. อำเภอเวียงสระ  1 ราย ได้แก่  นายฤทธิเดช   สุขคง  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

15. อำเภอพระแสง 2 ราย ได้แก่  นายสิทธิโชค  บุญคง  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ

                                  นายวัชระ  รักษาศรี  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

16. อำเภอชัยบุรี  1 ราย ได้แก่  นายพิมลศักดิ์  วงศ์เทพ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร

17. อำเภอเคียนซา  1 ราย ได้แก่  นส.มลทิรา  เพชรัตน์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

18. จังหวัดสุราษฏร์ธานี 1 รายได้แก่นายญันยงค์   ปล้องอ่อน   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

รวมทั้งหมด     จำนวน  20  ราย

            ทีมวิทยากร บรรยายและปฏิบัติ    (ศูนย์วิจัยยางพาราสุราษฏร์ธานี)

                1. นายกฤษดา       สังข์สิงห์            นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ

                2. นางอารมณ์       โรจน์สุจิตร          นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ

                3. นายเก็บ             หนูศรี               เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน

                4. นายสุชาติ         ทองฉิม              พนักงานตรวจจำแนกพันธุ์ยาง

                5. นายสิทธิชัย      สะละหมัด           พนักงานประจำห้องทดลอง

                6. นายนิพนธ์       แก้วกัญญาติ         เจ้าพนักงานการเกษตร

                7. นายเฉลิม          โสภาพงษ์          คนงานทดลองการเกษตร

รูปแบบการฝึกอบรม 

1.       การบรรยาย โดยมีเอกสารประกอบการฝึกอบรม

2.       การฝึกปฏิบัติเป็นกลุ่มและรายบุคคล

3.       ประเมินผล โดยการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม

ความคาดหวังของผู้เข้าอบรม  ได้แก่ ได้รับความรู้และทักษะในการกรีดยางพาราที่ถูกต้องและเหมาะสม  และได้รู้จัก นวส. จากอำเภอ และจังหวัดสุราษฏร์ธานี 

วันที่  16 กุมภาพันธ์ 2553      

เวลา  08.30 น.   เดินทางมารายงานตัวลงทะเบียน

                เวลา  10.00 น.     ร่วมพิธีเปิดโครงการอบรมหลักสูตร การกรีดยางพาราที่ถูกต้องและเหมาะสม  โดยได้รับเกียรติจากนายพิเชษฐ   ไชยพานิชย์    ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยางพาราสุราษฏร์ธานี       เป็นประธานในการเปิดโครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่  หลักสูตร การกรีดยางพาราที่ถูกต้องและเหมาะสม และยินดีต้อนรับ โดยได้ดำเนินการแนะนำศูนย์วิจัยยางพาราสุราษฏร์ธานี ดังนี้

ศูนย์วิจัยยางพาราสุราษฏร์ธานี  มีพื้นที่ทั้งหมด 4,398  ไร่  (ใหญ่ที่สุดในกรมวิชาการเกษตร) มีบุคลากร จำนวน 300 กว่าคน  (ข้าราชการ จำนวน 17 คน) มีการดำเนินงานด้านการวิจัย ได้แก่

1.       วิจัยยางพารา

2.       วิจัยปาล์มน้ำมัน

3.       วิจัยมะพร้าว

4.       วิจัยทุเรียน

5.       วิจัยกาแฟ

6.       วิจัยลองกอง และมังคุด

7.       ป่าอนุรักษ์ ประมาณ  300 ไร่

สำหรับด้านการฝึกอบรมยางพารา ของศูนย์วิจัยยางพาราสุราษฏร์ธานี  มีการฝึกอบรมหลายหลักสูตร

  คุณจรัญ รอดศรีนาค พิธีกรดำเนินการ

                                        ผู้เข้าอบรม 20 ราย

  

           คุณใจทิพย์  ด่านปรีดานันท์ ให้การต้อนรับ ผอ.ศูนย์วิจัยยางพารา                 และตัวแทนจากกรมส่งเสริมการเกษตร

      เวลา  11.00 – 12.00  น.    คุณเบญจรงค์  จิรศวตกุล   นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ  กลุ่มส่งเสริมการผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมัน  กรมส่งเสริมการเกษตร   พบปะผู้เข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว  และให้ความรู้ในเรื่องสถานการณ์ยางพาราในประเทศ และต่างประเทศ

สถานการณ์ยางพารา   ประเทศที่มีการปลูกยางพารามากที่สุดในโลก  คือประเทศอินโดนีเซีย (ประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย  รวม 3 ประเทศ มีพื้นที่ปลูกยางพารา 70 % ทั่วโลก)   ส่วนในประเทศไทย จังหวัดสุราษฏร์ธานีมีการปลูกยางพารามากที่สุด  ผลผลิตเฉลี่ยของจังหวัดสุราษฏร์ธานี 256 กิโลกรัม/ไร่  (ผลผลิตเฉลี่ย 278 กิโลกรัม/ไร่) 

สำหรับเกษตรกร  1 คน สามารถที่จะกรีดยางพาราได้ประมาณ 5-7 ไร่

                สำหรับยางพาราระดับโลก  มีประมาณ 27 ประเทศ  ได้แก่  แหล่งปลูกโซนเอเชีย  ประเทศอินโดนีเซีย  ไทย  มาเลเซีย  เวียดนาม  จีน  อินเดีย   แหล่งปลูกโซนแอฟริกา คือ ไลบีเรีย  ไฮเวอรีโคส  เป็นต้น

 ข้อคิดต่างๆ ในการทำงานด้านส่งเสริมการเกษตร จะต้องมีประสิทธิภาพ และคุณภาพในการทำงาน ต้องรู้จักการอดทน  และให้มีการเตรียมเป็นวิทยากรที่ดี  โดยเฉพาะอบรมเกษตรกรต้องมีการจัดการด้านสถานที่  มีการขึ้นท่อนยางพารา (ท่อนซุงยางพารา)  ต้องทำด้วยความระมัดระวัง   การให้ความรู้เกษตรกรโดยเฉพาะการฝึกปฏิบัติ  เกษตรกรประมาณ 5-7 คน  ต่อเจ้าหน้าที่ 1 คน หินลับมีด ควรมีขนาด 8 นิ้ว เป็นต้น 

เวลา  12.00 – 13.00  น.           รับประทานอาหารกลางวัน

รับประทานอาหารกลางวัน ที่ครัวรินทร์สิรี

 

เวลา  13.00 – 16.30 น.  ฝึกลับมีด

 

 

วันที่  17 กุมภาพันธ์ 2553      

เวลา  08.30 น.             ฝึกลับมีด และกรีดท่อนซุง

เวลา  12.00 – 13.00  น.           รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา  13.00 – 16.30 น.  ฝึกลับมีดและกรีดท่อนซุง (ต่อ)

เวลา  14.00 น.             นายวิรัตน์  สมตน        เกษตรจังหวัดสุราษฏร์ธานี  พบปะและตรวจเยี่ยมผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมตามโครงการฯ ดังกล่าว

 

 นายวิรัตน์ สมตน  เกษตรจังหวัดสุราษฏร์ธานี ตรวจเยี่ยมผู้เข้ารับการอบรม

วันที่  18 กุมภาพันธ์ 2553      

เวลา  08.30 – 12.00 น.                        ฝึกกรีดท่อนซุง

เวลา  12.00 – 13.00  น.           รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา  13.00 – 16.30 น.     นายกฤษดา   สังข์สิงห์  นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ  ให้ความรู้ เรื่อง       ไม้ยางพารา   การปรับปรุงพันธุ์ยางพารา  พันธุ์ยางพาราและคำแนะนำพันธุ์ยางพารา และการศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ยางพารา

 

วันที่  19 กุมภาพันธ์ 2553      

เวลา  08.30 – 12.00 น.     ฝึกกรีดท่อนซุง

เวลา  12.00 – 13.00  น.    รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา  13.00 – 16.30 น.     นางอารมณ์   โรจนสุจิตร    นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ 

ให้ความรู้ เรื่อง  โรคและศัตรูยางพาราและการป้องกันกำจัด

 

วันที่  20 กุมภาพันธ์ 2553      

เวลา  06.00  น.                        กรีดยางต้นจริง  (แบ่งกลุ่มๆ ละ 5 คน)

 

เวลา  09.00  น.                        บรรยายการทำแผ่นยางพารา

 

เวลา  10.00  น.                        เก็บน้ำยางพารา

เวลา  10.30  น.                        ฝึกทำแผ่นยางพารา

เวลา  13.00 – 16.00 น.   นายเก็บ หนูศรี  เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน

ให้ความรู้ เรื่อง  การจัดการสวนและการบำรุงรักษาสวนยางพารา

 

วันที่  21 กุมภาพันธ์ 2553      

เวลา  06.00  น.                        กรีดยางต้นจริง 

เวลา  10.00  น.                        เก็บน้ำยาง  ทำแผ่นยางพารา

เวลา  13.00  น.                        ทดสอบการกรีดยางพารากับท่อนซุง

 

วันที่  22 กุมภาพันธ์ 2553      

เวลา  08.30  น.           ประเมินผล โดยการทดสอบความรู้หลังการฝึกอบรม

เวลา  09.30  น.           หัวหน้าฝ่ายบริหารพบปะผู้เข้าร่วมอบรม

เวลา  10.00  น.           ศึกษาดูงานศูนย์วิจัยยางพาราสุราษฏร์ธานี

เวลา  12.00 – 13.00  น.       รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา  13.00  น.           เดินทางกลับ

 

ผลการฝึกอบรม

จากการเข้ารับการอบรมครั้งนี้ กระผมได้รับความรู้ความเข้าใจ เรื่อง การกรีดยางพาราเป็นอย่างดีสามารถนำความรู้และเทคนิคที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ข้อคิดเห็นต่อการฝึกอบรม

1.วิทยากร มีความรู้และประสบการณ์ ทักษะ ในการถ่ายทอดอย่างดียิ่ง ทำให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม

2.ระยะเวลาในการฝึกอบรม เห็นสมควรเพิ่มเป็น 15 วัน  เนื่องจากมีรายละเอียดที่จำเป็นต้องทราบอีกมาก

3.เอกสารประกอบการบรรยาย มีเนื้อหาและจำนวนเหมาะสม

4.ห้องฝึกอบรมสะอาด  และสะดวกดี สามารถจัดกลุ่มย่อย  และกลุ่มใหญ่ได้เป็นอย่างดี

5.การจัดการฝึกอบรมได้เหมาะสม  อาหารกลางวันและอาหารว่างสะอาดและรสชาติดี เจ้าหน้าที่ดูแลเอาใจใส่อย่างทั่วถึง

ข้อเสนอแนะ

เห็นสมควรให้มีการจัดฝึกอบรมในหลักสูตรนี้ต่อไป  และให้บุคลากรในหน่วยงาน   (โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการบรรจุใหม่)  เข้ารับอบรม เพื่อให้เกิดความรู้ และทักษะในการกรีดยางพาราที่ถูกต้อง และเหมาะสม  สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

                                                                                                     

หมายเลขบันทึก: 342070เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2010 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

  • เสียดายมาก ที่ไม่ได้เข้าอบรมด้วย
  • เพราะเป็นประเภท ครูพัก ลักจำ มาตลอด
  • จะมาเรียนกับท่านวิทยากร ทั้ง 20 อรหัตน์ นี้แทนเอาครับ

 

อบรมการกรียดยางนั้น มีหลายหลักสูตรครับ

1. อบรมเจ้าหน้าที่เพื่อไปเป็นครู 15 วันเป็นอย่างน้อย ถึงจะพอถ่ายทอดให้คนอื่นได้ (ผมเองอบรม 1 เดืน)

2. อบรม 7 วัน นั้น ใช้อบรมให้สำหรับคนที่ยังกรีดยางไม่เป็น

3. ส่วน หลักสูตรอบรม 5 วัน สำหรับคนที่พอจะเป็นบ้างแล้วแต่เป็นการฝึกทบทวน

4. อย่างไรก็ตาม ก็ยังดีกว่าไม่ได้รับการฝึกครับ และเคยแนะนำคุณพี่เบญจรงค์ จิรศวตกุล ไปด้วยซ้ำว่า ถ้าจะอบรมเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมเพื่อไปถ่ายทอดต่อ น่าจะสัก 15 วัน

หัวหน้าโครงการฝึกอบรมทางด้านยางพารา

จะเปิดอบรมอีกเมื่อไหร่ครับ อยากไปอบรมด้วยเพราะตอนนี้กำลังหัดกรีดยางอยู่ และตอนนี้มีปัญหามากเพราะยางที่กรีดอยู่เป็นพันธ์พื้นเมือง(พันธ์51กับพารา ต้นใหญ่มากใหญ่กว่าต้นปกติ2-3 เท่า แถมเปลือกแข็งมาก) และตัวผมเองก็ลับมีดกรีดยางไม่คมด้วย

จะเปิดอบรมอีกเมื่อไหร่ครับ อยากไปอบรมด้วยเพราะตอนนี้กำลังหัดกรีดยางอยู่ และตอนนี้มีปัญหามากเพราะยางที่กรีดอยู่เป็นพันธ์พื้นเมือง(พันธ์51กับพารา ต้นใหญ่มากใหญ่กว่าต้นปกติ2-3 เท่า แถมเปลือกแข็งมาก) และตัวผมเองก็ลับมีดกรีดยางไม่คมด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท