การเพิ่มสมรรถนะองค์กร


การประกันคุณภาพภายในสู่สมรรถนะสูงสุดขององค์กร
บทความ :การจัดการความรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะองค์กร โดย นางสุมลฑา ชูจร .................................................................................................................................................................................... องค์ประกอบของการจัดการความรู้ มีสามประการ คือ คน กระบวนการ และเทคโนโลยีสารสนเทศวิธีดำเนินการจัดการความรู้เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ มีลำดับการพัฒนาดังนี้ 1 การคิดหาตัวแบบในการจัดการความรู้ 2 การจัดทำโครงการ 3 การดำเนินการตามแผน 4 การติดตามผลและรายงานผล 5 สรุปหาจุดเด่นจุดด้อย เพื่อการพัฒนาต่อไป กระบวนการการจัดการความรู้ 1 การกำหนดเป้าหมายในการจัดการความรู้ 2 การค้นหาความรู้ในตัวคน 3 การสร้างความรู้จากครูต้นแบบ 4 การเลือกหรือการกลั่นกรอง 5 การจัดการความรู้ให้มีระบบ 6 การเผยแพร่ความรู้ 7 การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 8 การนำความรู้มาเก็บเป็นหน่วยความรู้ 9 การติดตามตรวจสอบ วัดผล การจัดการความรู้ ตัวอย่างการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะคนในสถานศึกษาให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ การจัดการความรู้ให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบการจัดการประกันคุณภาพการศึกษา สามารถจัดได้ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นไม่รู้ 1) แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพของสถานศึกษาเพื่อศึกษาพัฒนา และดำเนินการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพของสถานศึกษา 2) ศึกษาองค์ประกอบ ดัชนีบ่งชี้คุณภาพ และเกณฑ์ตัดสินที่จะนำมาใช้ในการประกัน คุณภาพโดยให้แต่ละฝ่าย/งานกำหนดค่ามาตรฐานที่จะใช้ในการประกันคุณภาพที่เป็นไปได้และสอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ขั้นที่ 2 ขั้นรับรู้ 1) จัดประชุมเพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรของสถานศึกษาในเรื่องการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ให้บุคลากรของสถานศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพ และเข้าใจระบบกระบวนการ ขั้นตอนการประกันคุณภาพ 2) จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพ ขั้นที่ 3 ขั้นเลียนรู้ 1) ดำเนินกิจกรรมการประกันคุณภาพการปฏิบัติงานตามคู่มือที่กำหนด รวมทั้งการเร่งรัด สนับสนุน ปรับปรุง ระบบและกลไก การดำเนินงานภายในหน่วยงานให้สอดคล้องกับ องค์ประกอบและดัชนีบ่งชี้คุณภาพที่กำหนดไว้ 2) กำหนดวิธีการตรวจสอบ ประเมินคุณภาพ และดำเนินการตามขั้นตอนที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด ขั้นที่ 4 ขั้นเรียนรู้ 1) พัฒนาระบบการควบคุมการประกันคุณภาพการเพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับบุคลากร 2) ดำเนินการพัฒนาบุคลากรให้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพ 3) จัดทำรายงานการศึกษาตนเองและรายงานการประกันคุณภาพ 4) ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 5) เผยแพร่ข่าวสารการประกันคุณภาพไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6) จัดทำรายงานการประเมินตนเองและส่งเสริม หรือแก้ไขปรับปรุงงานตามผลที่ได้รับจากการประเมิน ประโยชน์ที่เกิดต่อสถานศึกษา 1. ทำให้ความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพยังคงอยู่กับสถานศึกษา ไม่สูญหายไปกับบุคลากร 2. สะดวกในการเข้าถึงความรู้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจ เนื่องจากผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจต้องสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ 3. ทำให้ผู้ปฏิบัติงานประกันคุณภาพมีความเข้าใจในงานและวัตถุประสงค์ของงาน โดยไม่ต้องมีการควบคุม หรือมีการแทรกแซงมากนักจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานในหน้าที่ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการพัฒนาจิตสำนึกในการทำงาน การจัดการความรู้ที่ดี จึงช่วยให้องค์กรและบุคลากรมีความเข้มแข็ง เกิดการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและวิธีการทำงาน การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน จะช่วยก่อให้เกิดความเปิดเผย การยอมรับซึ่งกันและกันภายในองค์กร เพิ่มศักยภาพในการตัดสินใจและการทำงานเชิงรุก สร้างนวัตกรรมและความคิดริเริ่ม นอกจากนี้ยังช่วยผลักดันให้มีการปรับปรุงและพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง อ้างอิง พรธิดา วิเชียรปัญญา. การจัดการความรู้. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://km.doe.go.th/prdoc/km11_1.doc สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร. การประกันคุณภาพ. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.lib.su.ac.th/qa/
หมายเลขบันทึก: 342015เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2010 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท