ถอดบทเรียน : จากเกม Zin สู่ World Café


World Café ที่เป็นเครื่องมือที่ดีมากในการระดมสมองของคนในหัวข้อที่สนใจร่วมกัน

    การเล่นเกม Zin  มีกฏิกาดังนี้

 ๑.     มีข้อมูลเป็นกระดาษ ๓๓ ชิ้น มีข้อความที่บอกใบ้เกี่ยวกับการก่อสร้าง Zin

๒.    คำถามคือถามว่า Zin สร้างเสร็จในวันอะไร ของสัปดาห์ 

๓.    ข้อมูลจากกระดาษ จะแบ่งให้สมาชิกกลุ่ม อย่างไรก็ได้ แต่มีข้อแม้ว่า ไม่ให้เปิดให้ผู้อื่นดู  ให้ใช้การสื่อสารแบบอื่น ๆ ได้

๔.    ให้เวลาช่วยกันหาคำตอบประมาณ ๒๕ นาที

(ข้อมูลในกระดาษ เป็นภาษาอังกฤษ และ มีศัพท์เรื่องของหน่วยต่าง ๆ เช่น วัน เวลา เป็นคำเฉพาะที่ไม่เหมือน สิ่งที่เราคุ้นเคย)

 

      ระหว่างที่แต่ละกลุ่มกำลังพยายามหาคำตอบ กระบวนกรก็จะสังเกตดู กิจกรรมของกลุ่ม  ถ้าเห็นว่าไม่มีกลุ่มไหนเลยไปถูกทาง ก็จะบอกใบ้เพิ่มให้  แต่ถ้าเห็นมีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เริ่มจับประเด็นถูกทางแล้ว ก็จะแจ้งให้ทราบว่าไปถูกทางแล้ว และบอกให้กลุ่มอื่น ๆ ได้ทราบด้วย เป็นการช่วยเหลือให้เดินถูกทางเร็วขึ้น และเมื่อมีกลุ่มที่ได้คำตอบถูก ก็จะให้ทุกกลุ่มหยุด  ให้กลุ่มที่ได้คำตอบถูกก่อนกลุ่มอื่น ๆ ออกมาอธิบาย ขั้นตอนการทำงานที่นำมาสู่การได้คำตอบให้กลุ่มอื่นได้รับทราบ และตามด้วยการให้แต่ละกลุ่ม ถอดบทเรียน เพื่อให้ทราบว่า ทำไมกลุ่มของตน จึงยังไม่ได้คำตอบ มีจุดใดที่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้คำตอบ หรือ จุดใดที่ทำให้หลงทาง การเล่นเกมครั้งนี้ ได้เรียนรู้อะไรบ้าง ? (ที่เกี่ยวกับเรื่องของการจัดการความรู้) ให้แต่ละกลุ่ม สรุปประเด็นสำคัญ ๆ เขียนลงในกระดาษชาร์ต (มาถึงช่วงนี้พอดีได้เวลาพักรับประทานอาหารกลางวัน)

     ในช่วงบ่าย กระบวนกรก็แนะนำว่า จะเป็นกิจกรรม การใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ ที่เรียกว่า World Café  ที่เป็นเครื่องมือที่ดีมากในการระดมสมองของคนในหัวข้อที่สนใจร่วมกัน โดยมีแนวคิดหลักโดยสรุปตามภาพข้างล่าง ในครั้งนี้ก็ใช้ข้อสรุปจากการเล่นเกม Zin ที่ว่า ได้เรียนรู้อะไรบ้างที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ ในวันนี้ ที่สามารถจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อการ พัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาองค์กรได้  รายละเอียดเรื่องของ World Café มีมากครับ ท่านที่สนใจสามารถค้นหาข้อมูลอ่านเพิ่มเติมได้จากทั้งใน G2K เอง และ จากอินเทอร์เน็ต ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 341968เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2010 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สรุปว่า การทำการใดๆ ให้สำเร็จรุล่วงด้วยดี ความสามัคคีของคนที่มีความรู้ที่แตกต่างกัน มาสุมหัว แบบร่วมด้วยกัน คนละไม้คนละมือ เปรียบด้วยมือที่ประกอบด้วยนิ้วทั้งห้านิ้วที่ยาวไม่เท่ากัน ทั้งสองมือ แต่มือที่มีนิ้วที่ยาวไม่เท่ากันนี้เองคือหัวใจสำคัญ ที่ทำให้การใช้มือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกนิ้วมีความสำคัญ ช่วยกันทุกนิ้วเราจึงใช้มือทำงานได้ ให้งานออกมาได้ตามเป้าหมายทันเวลา จะใช้รูปแบบ สุมหัว แบบสเฮด สหฮาี์ร์ต สหแฮนด์ แอนด์สหบาทา ก็จะนำพาองค์พัฒนาไปสู่เป้าหมายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน…… ZIN เป็นกุศโลบาย ที่ดึงความสามรถที่ฝังลึก ของแต่ละออกมาร่วมด้วยช่วยกัน สร้างสรรงานให้เกิดขึ้นได้ และพัฒนาต่อเนื่องเป็นองค์ความรู้ใหม่ ให้เกิดการแรกเปลี่ยนเรียนรู้  เพื่อการพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สู่เป้าหมาย ที่มั่นคงและยั่งยืน

  • สหบาทา ใช้น้อย ๆ หน่อยก็จะดีครับ ท่าน P
  • ประเทศวุ่นวายไม่หายสักทีก็เพราะ พวกชอบใช้ สหบาทา คิดนี่แหละ.....อิอิ

สวัสดีค่ะอาจารย์

***แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

*** อาจารย์สบายดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท