KM ของเราจะไม่มีวันตาย


ในอดีต

• งานประจำของห้องผ่าตัด คือ การพยาบาลดูแลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด ภายใต้บทบาทหน้าที่ของพยาบาลห้องผ่าตัดให้เป็นไปตามมาตรฐานการพยาบาล อยู่ในสภาพ พึ่งพาความรู้จากภายนอก จนเคยชิน   กล่าวคือทำงานตาม ความรู้ ที่กำหนดไว้ในกฎระเบียบอย่างชัดเจนตายตัว

• การทำงานของพยาบาลจะอยู่ในลักษณะงานประจำ (Routine)

ขาดการทบทวนเพื่อพัฒนางาน

• การสร้างสรร การสร้างนวตกรรมมักไม่ค่อยปรากฏ

ปัจจุบัน

 • งานประจำของห้องผ่าตัดก็ยังคงเป็นการพยาบาลดูแลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด ภายใต้บทบาทหน้าที่ของพยาบาลห้องผ่าตัดให้เป็นไปตามมาตรฐานการพยาบาล   แต่เพิ่มบทบาทเป็นหน่วยสร้างความรู้ เป็นหน่วยวิชาการ  ซึ่งต้องมีทั้งการพัฒนาแนวความคิดและทักษะในการสร้างความรู้ขึ้นใช้เองในงานของตนให้เกิดปัญญาปฏิบัติ   คือปัญญาที่ได้จากการปฏิบัติงาน   และใช้สำหรับปฏิบัติงาน   เป็น ปัญญารวมหมู่ (collective wisdom) คือ   มาจากการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ   เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในหมู่พยาบาลในหน่วยงานเดียวกัน

 • โดยมีงานประจำของชุมชนคนชุดเขียวที่มาเสริมด้วยคือ เครื่องมือที่เรียกว่า " KM "

• งานประจำเป็นทั้งเป้าหมาย (end) และเครื่องมือ (means) ของการทำ KM

• เริ่มต้นด้วยความคิดว่าในหน่วยงาน/งานประจำ มีความรู้ดีๆ อยู่แฝงอยู่ในเนื้องานมากมาย    โดยอยู่ในความสำเร็จจากความสำเร็จเล็กน้อยจนกลายเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่    ดำเนินการทำ mapping โดยจัดเวที ลปรร. ทั้งจาก

      เรื่องเล่าทุกๆ เช้า (Morning Talk) 

          การทำ AARหลังการประชุมวิชาการของทุก ๆ คน

               การประชุมประจำเดือนทั้งจากการทบทวนงานวิชาการ จากเวทีให้ความรู้จากศัลยแพทย์

สิ่งที่สำคัญ คือทุกเวที ลปรร. ต้องจดบันทึก “ความรู้ที่มีอยู่ในการปฏิบัติ   และนำมาทำวงจร PDCA ของงานประจำ 

อ.วิจารณ์กล่าวว่า หัวใจ ของ KM คือ

• KM ที่ไม่เนียนอยู่ในงานประจำ เป็น KM ปลอม    จะไม่ยั่งยืน   ไม่ก่อผลจริงจัง   ไม่นำไปสู่ LO

• จุดเริ่มต้นของความล้มเหลว คือ CEO เรียกเจ้าหน้าที่มาคนหนึ่ง    บอกให้รับผิดชอบทำ KM    เพราะคำสั่งเช่นนี้อยู่ภายใต้แนวคิดว่า KM คือกิจกรรมหนึ่ง ที่แยกจากงานประจำ  

ขออนุญาตสรุปว่า หากหัวหน้าสั่งว่าให้ลูกน้องคนใดคนหนึ่งไปทำ KM ให้สำเร็จแสดงว่าเป็นการเริ่มต้นที่ผิดทิศทาง การที่ยังไม่เข้าถึงหัวใจ KM  เพราะการมอบความรับผิดชอบระบบจัดการความรู้ไว้กับใครหรือหน่วยใดหน่วยหนึ่ง มีความเสี่ยงที่การดำเนินการจัดการความรู้จะแยกออกจากเนื้องาน    ทำให้การจัดการความรู้กลายเป็นเนื้องานหรือภาระงานเสียเอง    ผู้ปฏิบัติงานจะต่อต้าน หรือไม่เต็มใจทำ  เพราะรู้สึกว่าเป็นการเพิ่มงาน  แล้วในที่สุดการจัดการความรู้จะล้มเหลว

กับบทวิเคราะห์  KM ของชุมชนคนชุดเขียวในปัจจุบันดิฉันคิดว่าพวกเราเริ่มจาก.. ตั้งไข่.. เตาะแตะ.. กำลังจะเต่งตึง.. อนาคตต่อไปเราคงจะเติบโต (สักวันหนึ่งเราจะโต้..เราจะโต)  ... แต่ KM ของเราจะไม่มีวันตาย   อาเมน

คำสำคัญ (Tags): #คนชุดเขียว#km
หมายเลขบันทึก: 34136เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2006 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 11:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
เห็นด้วยค่ะ แต่คำที่บอกว่า "โตงเตง" ขอจำเป็น "เติบโต" นะคะ (เขินค่ะ)
  • เป็นความรู้จากประสบการณ์ที่เยี่ยมมากเลยค่ะ
  • ขออนุญาตยืมไปใช้บ้างนะค่ะ

คิดว่าเป็นการเข้าถึงธรรมะในการปฏิบัติงานโดยมีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ(เข้าถึงคุณค่าแห่งปัญญารวมหมู่”) ขออนุโมทนากับน้องเล็กและชุมชนคนชุดเขียนด้วยค่ะ  และจะขออนุญาตไปจับภาพ/สัมภาษณ์ในแง่นวัตกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพในองค์กรด้วยนะคะ

ตอบพี่มอม ขอบคุณค่ะ จะแก้ไขนะคะ

ตอบคุณaudit3 ยินดีค่ะ หัวใจ KM คือการ Share ค่ะ

ตอบพี่ปิ่ง เล็กยังไม่มีเวลายื่นใบสมัครแต่ขอจองไว้ก่อนนะ สัญญาว่าอาทิตย์หน้าจะไปสมัครค่ะ

ขอให้ท่านผู้รู้ช่วยส่งข้อความที่เป็นประโยชน์ต่อสาขาจะดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท