น้ำผลไม้ลดเสี่ยงนิ่วจริงไหม


คนอเมริกัน 308.8 ล้านคนเป็นนิ่วปีละ 1 ล้านกว่าคน, นั่นคือ มีโอกาสเป็นนิ่วเพิ่มปีละ 1 คนจาก 309 คน [ census ]

ทีนี้การกินผลไม้หรือดื่มน้ำผลไม้ช่วยป้องกันนิ่วได้หรือไม่, ท่านอาจารย์อะนาฮาด โอ'คอนเนอร์ ตีพิมพ์เรื่องนี้ในนิวยอร์คไทมส์ ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ nytimes ]

... /// ...

คนอเมริกันมัก จะได้รับคำแนะนำให้ดื่มน้ำผลไม้ตระกูล 'citrus' หรือส้ม-มะนาว ซึ่งให้สารซิเทรท (citrate) ที่มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดนิ่วชนิดที่พบบ่อยที่สุด คือ แคลเซียมออกซาเลท (calcium oxalate)

วิธีหนึ่ง คือ ให้ดื่มน้ำมะนาว (lemonade / lemon) เจือจางพร้อมน้ำตอนเช้า

...

การศึกษาหนึ่ง ที่ได้รับทุนจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ ในปี 2006 พบว่า การดื่มน้ำส้มทำให้ระดับซิเทรทในปัสสาวะสูงกว่า และทำให้ปัสสาวะมีความเป็นกรดลดลงมากกว่าการดื่มน้ำมะนาวหรือน้ำกลั่น

ข่าวร้าย คือ ผลไม้อื่นๆ มีทั้งเพิ่มและลดเสี่ยงนิ่ว เช่น แอปเปิ้ล แครนเบอรี ฯลฯ เพิ่มเสี่ยงนิ่วแคลเซียมที่พบบ่อย และลดเสี่ยงนิ่วชนิดที่พบไม่บ่อย (ผลรวม = เพิ่มเสี่ยง)

...

การศึกษาหนึ่ง พบว่า การดื่มน้ำเสาวรสหรือเกรพฟรุต (grapefruit) วันละถ้วยเพิ่มเสี่ยงนิ่วได้มากจนถึง 44%

สรุป คือ ผลจากผลไม้หรือน้ำผลไม้ในการป้องกันนิ่ว (เมื่อเทียบกับน้ำเปล่า) ไม่แน่นอน, แต่ถ้าอยากลองใช้สูตรป้องกันนิ่วจากผลไม้... ส้มกับมะนาวยังให้ผลดีทีเดียว

...

ข้อควรระวัง คือ ผลไม้และน้ำผลไม้ (ตอนกินเข้าไป) มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ทำให้เคลือบฟันอ่อนลง 30-60 นาที

หลังดื่มควรบ้วนปากหลายๆ ครั้ง และบ้วนปากทุกๆ 10-15 นาทีจนครบ 60 นาทีก่อน อย่าเพิ่งแปรงฟันในช่วง 30-60 นาทีแรก เนื่ืองจากอาจทำให้ฟันสึก-เสียวฟันได้ง่าย 

...

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... /// ...

We thank & recommend > [ nytimes ]; [ census ] //

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่ มา                                                         

  • Thank nytimes > Anahad O'Conner.The Claim: Fruit juice can prevent kidney stones.
    March 1, 2010. 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 2 มีนาคม 2553.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 341236เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2010 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท