ถอดบทเรียน : เจ้าเป็นไผ


       กิจกรรมในท้ายวันแรกของงานอบรมการจัดการความรู้ เพื่อสร้างคุณอำนวย (Facilitator) และคุณลิขิต (Note Taker) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) รุ่นที่ ๑/๒๕๕๓ เป็นแนะนำให้รู้จักตัวตนของเจ้าของ โดยให้แต่ละคน วาดรูปสะท้อนตัวตนของตนเองในปัจจุบัน ลงในกระดาษ  แล้วจับคู่เล่าให้คู่ของตนฟัง  สำหรับชาวเฮฮาศาสตร์มักนิยมเรียกกันว่า บอกซิว่า “เจ้าเป็นไผ”

 

      โดยมีข้อกำหนดคือ

๑.     ให้จับคู่ระหว่างหญิงกับชาย 

๒.    ให้ผู้ที่อายุน้อยกว่าเล่าให้พี่ฟังก่อน (น้องเล่าพี่ฟัง) โดยห้ามพี่พูด ให้ฟังอย่างเดียว ห้ามถามหรือพูดเสริมใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ฟังอย่างตั้งใจอย่างเดียว (อนุญาติให้พี่แสดงการรับรู้หรือรับทราบเรื่องราวที่ได้รับฟังจากน้องด้วยภาษากายได้)

๓.    เมื่อน้องเล่าจบ ให้พี่ทวนสิ่งที่ได้รับรู้รับฟังจากน้องให้น้องฟัง โดยมีกติกาเช่นเดียวกันว่า ระหว่างที่น้องฟังพี่เล่า ให้ฟังอย่างเดียว ห้ามพูดเสริมหรือแย้งใด ๆ  จนกว่าพี่จะเล่าจบก่อน แล้วน้องค่อยเสริมหรือเพิ่มเติมว่าขาดเกินอย่างไร

๔.    หลังจากนั้นก็ทำ สลับกัน คือ พี่เล่าเรื่องของพี่ให้น้องฟัง  แล้วน้องเล่าเรื่องของพี่ที่ได้รับฟังกลับให้พี่ฟังจนจบก่อน ก่อนที่พี่จะแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นต่าง ๆ ที่ขาดหรือไม่ถูกต้อง

     กิจกรรมนี้ หลายท่านจะเรียกว่าการฝึก สุนทรียสนทนา หรือ Dialogue   ซึ่งความจริงหัวใจสำคัญของกิจกรรมนี้ไม่ได้อยู่การฝึกพูดหรือสนทนา แต่อยู่ที่การ ฝึกฟังอย่างตั้งใจ หรือ ฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) มากกว่า และ การที่เราเล่าเรื่องตัวตนของเราให้พี่หรือน้องฟัง ก็จะเป็นการเปิดตัวตน เปิดใจให้ทั้งสองคนได้รู้จักกันมากขึ้น หลาย ๆ ครั้งพบว่าสองคนมีอะไรหลาย ๆ อย่างคล้ายกัน ซึ่งจะเป็นจุดเชื่อมโยงไปสู่การไว้เนื้อเชื่อใจกัน และเปิดใจคุยกันได้ลึกซึ้งขึ้นต่อไป

          การให้จับคู่คุยกันอย่างไร กระบวนกร (Facilitator) หรือ คุณอำนวย จะต้องพิจารณาความเหมาะสม แต่ประเด็นหลักก็คือ ต้องการให้ได้รู้จักหรือได้เพื่อนใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น  ในกรณีนี้ที่ให้จับคู่ชายหญิงนั้น กระบวนกรจะต้องสังเกตุว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมประกอบด้วยเพศหญิงกับเพศชายเท่า ๆ กัน  กรณีที่มีเพศหนึ่งมากกว่าอีกเพศหนึ่งมาก อาจจะกำหนดให้จับคู่คนที่ทำงานอยู่คนละหน่วยงาน  หรือกรณีที่มีการจัดที่นั่งเป็นแถว และขยับที่นั่งไม่ได้หรือลำบาก ก็อาจจะให้แถวเลขคี่หันหลังกลับไปคุยกับแถวเลขคู่ก็ได้  โดยปกติจะไม่ให้จับคู่คนที่นั่งติดกัน เพราะมักเป็นเพื่อนกันหรือมาจากหน่วยงานเดียวกัน ที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว  อันนี้คนที่ทำหน้าที่กระบวนกร หรือ Facilitator จะต้องเป็นคนช่างสังเกตุ เพื่อให้เกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ขยายวงออกไปเรื่อย ๆ

หมายเลขบันทึก: 341095เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2010 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียนท่านพี่ พ่อหมี กราบขอบพระคุณครับ

แวะมาเยี่ยม

มาคารวะค่ะ

  • ร่วมด้วยช่วยกัน ถอดบทเรียน ครับ ท่าน super Fa P
  • ขอบคุณมากครับ ท่าน berger0123 P ที่แวะมา

สวัสดีคะอาจารย์

เสียดายจังเลยหนึ่งไม่ได้ไปร่วมหัดเป็น Fa ด้วย

แต่ก็ขอร่วมเรียนรู้ทาง Blog ด้วยคนนะคะ

แล้วพบกันที่เขาใหญ่นะคะอาจารย์

 

  • สวัสดีครับ น้องหนึ่ง P จากการเข้าร่วม UKM และ mini_UKM ของหนึ่งมาหลายครั้ง รวมทั้งช่วย ทีมงาน KM-QA มทส. มาสองปี  คิดว่าหนึ่งสามารถทำหน้าที่ Fa ได้อยู่แล้ว โดยไม่ต้องหัดครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท