มองผ่านเลนส์เราและเขา คณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล


ผู้เขียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆทุกครั้งในแต่ละเวทีที่ผ่านมา เป็นคุณค่าที่ประมาณไม่ได้เลยเหมือนว่าเรามีส่วนในการทำให้ผู้อื่นมองเห็นพลังแฝงในตัวเอง เหมือนว่าเราทำให้คนรักกัน เหมือนว่าเราทำให้แต่ละท่านมองเห็นความดีของกันและกัน แล้วยอมรับว่า "เป็นเช่นนั้นเอง"

ผู้เขียนรู้สึกชื่นชมคณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดลที่ให้ความสนใจในกระบวนการสร้างทีมงานอย่างยั่งยืนโดยเริ่มต้นจากการ "รู้จักตนเองและคนอื่น" "ทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างกัน" และ "ยอมรับในความแตกต่างนั้น" 

 

กระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกันจากภายในสู่ความเข้าใจภายนอก ซึ่งเป็นการเคารพตัวตนของกันและกัน ดึงศักยภาพของอีกฝ่ายมาร่วมมือกัน และให้อภัยจากเหตุ นั่นคือการมองผ่านโลกทัศน์ของผู้อื่น

  

      ภาพดอกตำลึงในบริเวณสนามกอล์ฟ Royal Gems

 

การอบรมการสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทีมงานด้วยศาสตร์ Enneagram จัดขึ้นให้กับคณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล ณ Royal Gems Resort  โดยในครั้งที่ ๒  นี้มีจำนวนผู้เข้าร่วมกระบวนการ ๓๙ คน ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าจำนวนกลุ่มครั้งที่ ๑ ซึ่งมีประมาณ ๒๘ คน   ในความเป็นจริงแล้ว ผู้เขียนได้ฝากบอกผู้ประสานงานขอให้กลุ่มผู้เข้าร่วมกระบวนการมีจำนวนประมาณเท่าเดิม  แต่คาดว่าคงมาจากความสนใจของท่านอาจารย์ ฝ่ายบริหารและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ ทำให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น 

การออกแบบกระบวนการแลกเปลี่ยนในแต่ละครั้ง ผู้เขียนจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบตามคุณลักษณะของกลุ่ม และขนาดของผู้เข้าร่วมกระบวนการ  ซึ่งหากว่าผู้จัดมิได้ให้ข้อมูลมาล่วงหน้า  ผู้เขียนก็จะต้องอาศัยประสบการณ์และการตัดสินใจ ณ ขณะนั้นในการออกแบบตามเครื่องมือที่มีอยู่แล้วหลากหลายพอสมควร ซึ่งผู้เขียนก็ถือว่าไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ ไม่ว่าจะมีข้อมูลหรือไม่มี ทุกอย่างคือความท้าทายในการฝึกฝนและเรียนรู้กลุ่มใหม่ ๆ ที่ไม่เคยคุ้นเคยกันมาก่อน  แต่ก็สามารถดึงศักยภาพแฝงเร้นของทุกท่านออกมาบอกเล่าเรื่องราวให้กันและกันได้รับฟัง

ทั้งที่ทุกท่านเหนื่อยล้าจากการทำงานหนักเมื่อคืนก่อนเข้าร่วมกระบวนการ      ผู้เขียนทราบว่าทุกท่านต้องทำงานที่คณะถึง ๓ ทุ่ม เนื่องจากมีการตรวจสอบมาตรฐานคล้าย ๆ กับ ISO ของแต่ละคณะในมหาวิทยาลัย   ต้องขออภัยจริง ๆ ที่ไม่ได้สอบถามรายละเอียด อาจผิดพลาดในการนำเสนอข้อมูล  แต่ที่แน่นอนคือทุกท่านอ่อนเพลีย และควรพักผ่อนในวันเสาร์ซึ่งเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์  แต่ก็อุตส่าห์มาร่วมกระบวนการในครั้งนี้

 

มองเห็นทุกท่านตั้งใจทำ Workshop อย่างเต็มที่ อ่อนล้าแต่ทรหด "สู้ ๆๆ" 

 

การจัดกระบวนการครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งที่แล้ว  เนื่องจากทุกท่านทำงานดึก นอนน้อย จึงใช้วิธีทำ Workshop สองรอบ ทั้งเช้าและบ่าย ด้วยหัวข้อที่แตกต่างกัน  โดยหัวข้อตอนเช้า เน้นการแสดงความคิดแบบปัจเจกบุคคลแล้วนำมาปะติดปะต่อเป็นเรื่องราวบนแผ่นกระดาษเดียวกัน  ส่วนตอนบ่ายเน้นการระดมความเห็นร่วมกันแบบทำงานเป็นทีม  มีเสียงบ่นแว่ว ๆ มาว่าโจทย์ตอนบ่ายยากกว่า  แต่ผลที่ได้รับกลับสะท้อนอะไรบางอย่างที่เหนือคำอธิบาย ทุกท่านได้แต่พยักหน้ายอมรับโดยดุษฎี

จากเก้าอี้ ลงสู่พื้นห้องโดยไม่มีอะไรรอง  นับว่าเป็นความไม่ถือตัวของท่านคณาจารย์ ผู้บริหาร นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติทุกท่าน

 

                                  เมื่อต้องนำเสนอผลงาน

ผลงานผ่านหัวใจ  ...เป็นเรื่องที่มหัศจรรย์อีกแล้ว ที่มีการนำเสนอผลงานของกลุ่มที่มีลักษณะเดียวกันเหมือนกันทั้งสองครั้ง 

ผู้เขียนเห็นใจในผู้ร่วมกระบวนการอย่างมาก  ช่วงบ่ายจึงนำเสียงเพลงบรรเลงให้ทุกท่านได้หลับไหล ระลึกถึงเรื่องราวที่ผ่านมาโดยมีประเด็นให้ทบทวน

 

การเล่าเรื่องราวผ่านความรู้สึกนึกคิด 

       การเล่าเรื่องที่แตกต่าง ทั้งทางอารมณ์ ลีลาท่าทางประกอบ

 

การเล่าเรื่องจากความคิด จินตนาการ

ผู้เล่าดึงเพื่อนในกลุ่มผู้ฟังออกมาแลกเปลี่ยน เพราะ "เรามีโลกทัศน์เดียวกัน"

แม้จะอิดโรย แต่ก็ตั้งใจฟังเรื่องเล่าของเพื่อน ๆ ตัวแทนโลกทัศน์เดียวกัน

ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มอย่างจริงจัง เป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ทั้งที่ไม่เคยผ่านการทำงานเป็นทีมร่วมกันกับกลุ่มนี้มาก่อน (จากการสอบถามหลังเวที)

 

ทำ Workshop ร่วมกันอย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย ไม่ยอมแม้กระทั่งออกไปทานของเบรค จนพนักงานโรงแรมต้องนำมาเสริฟค่ะ

 

 

ผู้เขียนได้รับเกียรติจากคุณนายดอกเตอร์ (ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์) ที่มาช่วยสรุปในตอนท้าย  ทุกท่านเหมือนถูกสะกดให้ตั้งใจฟังทุกคำที่มีความหมายลึกซึ้ง

 

ท่านคณบดีกล่าวสรุปปิดท้ายกินใจทุกครั้ง สิ่งหนึ่งที่ท่านกล่าวย้ำเสมอคือความเชื่อมั่นว่าทุกคนเป็นคนดี หากเข้าใจในโลกทัศน์ที่แตกต่างกัน จะนำมาซึ่งความเข้าใจ ให้อภัยและมองเห็นศักยภาพที่แต่ละคนจะนำมาใช้เกื้อกูลกัน

 

 

การบ้านที่ให้ทุกท่านเขียน...ลักษณ์ของเรา  สิ่งที่เราได้เรียนรู้และการนำไปใช้ประโยชน์

 

 

ผู้เขียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆทุกครั้งในแต่ละเวทีที่ผ่านมา เป็นคุณค่าที่ประมาณไม่ได้เลย    เสมือนว่าเรามีส่วนในการทำให้ผู้อื่นมองเห็นพลังแฝงในตัวเอง  เสมือนว่าเราทำให้คนรักกัน  เสมือนว่าเราทำให้แต่ละท่านมองเห็นความดีของกันและกัน แล้วยอมรับว่า "เป็นเช่นนั้นเอง"

 

ข้อค้นพบทุกครั้ง   ....การทำงานที่ทำให้เกิดกุศลจิต มันเป็นเช่นนี้ นี่เอง

 

หมายเลขบันทึก: 340462เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2010 19:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

    *  ทุกครั้งที่เข้ามาชมบันทึกของอาจารย์ศิลา  ก็ได้รับความประทับใจกลับไปทุกครั้งครับ

    *  อ่านแล้ว  ก็อยากจัดบรรยากาศแบบนี้บ้าง 

    *   ผมเองประเภทครูพักลักจำครับ  ขอจำภาพรวมๆไว้ก่อนครับ

                ขอบคุณบันทึกดีๆครับ

       พรุ้งนี้เช้า ขอให้มีความสุขกายสุขใจวันมาฆะบูชาครับ

อาจารย์นพลักษณ์ ๙ ... เขียนบันทึกด้วยความสุขนะครับ

นี่ถ้าผู้เข้าร่วมสัมมนาไม่ได้เปิดใจจริง ๆ เราจะสามารถเรียกว่าเป็นความสำเร็จได้หรือไม่ครับ อิ อิ แล้วผมก็คิดนอกกรอบอีก ป๊าดโธ่ !!!

ผมทราบว่าอาจารย์ไม่โกรธผมแน่ ๆ ล่ะ ผมจึงถามแบบนี้อยู่เป็นประจำ

อยู่ใกล้ ๆ มันน่าเข้าไปสังเกตการณ์น่าดูครับ ;)

สวัสดีครับ

แวะมาทักทาย และสวัสดีวันแห่งความรักแบบไทยๆ ครับ

การเรียนรู้เพื่อรู้เขา รู้เรา ของนพลักษณ์ทำให้ค้นพบว่า""เป็นเช่นนั้นเอง"

ขอบคุณครับ

เรียนท่านอาจารย์Sila ทีม มหิดล ก้าวหน้ามากมาก ครับ

  • ธรรมรักษาค่ะ ท่าน Small Man P ขอให้มีความสุขภายในเนื่องในโอกาสวันมาฆบูชาค่ะ
  • ท่านอาจารย์นพลักษณ์ 10 P คะ  เรียนตามตรงว่าตรงวิธีการที่ทำให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการเปิดใจนี้แหล่ะค่ะคือเคล็ดลับความสำร็จ เป็น how to หรือลิขสิทธิ์ค่ะ
  • หากใช้ Enneagram ให้ผู้เข้าร่วมฯ เปิดใจไม่ได้ ถือว่าไม่สำเร็จค่ะ แต่ที่ผ่านมาได้รอยยิ้มเสียงหัวเราะและการรู้เนื้อรู้ตัวทุกครั้ง เรียกได้ว่าเป็น Human KM ที่เรียกสติให้อยู่กับตัวค่ะ  สนใจไหมคะ

สติไม่ค่อยจะอยู่กับเนื้อกับตัวผมซะด้วยครับ ท่านอาจารย์นพลักษณ์ ๙ ;)

การทำให้เปิดใจได้ คงต้องใช้ศิลปะขั้นสูงสุดของมนุษย์แน่ ๆ เลยครับ อิ อิ

  • ขอบพระคุณคุณบินหลาดง P ที่แวะมาเยี่ยมค่ะ สิ่งที่เป็นเช่นนั้นมีเหตุปัจจัย หากว่าเรามีสติก็ไม่มีคำว่าเสียใจ เสียดายเลยล่ะค่ะ  ...เป็นคำเก๋ ๆ ที่หยิบยกมากล่าวได้อย่างน่าสนใจมากค่ะ
  • เห็นด้วยค่ะ ท่านอาจารย์ JJ P
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท