การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา โดย รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์


แนวคิดในการพัฒนาที่มุ่งหวังให้องค์กรหรือบุคลากรในองค์กรสามารถชี้นำตนเอง(Self-Directing) ที่จะช่วยให้องค์กรเกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน ในอนาคต

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา โดย รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา : Empowerment Approach Empowerment Evaluation เป็นแนวคิดในการพัฒนาที่มุ่งหวังให้องค์กรหรือบุคลากรในองค์กรสามารถชี้นำตนเอง(Self-Directing) หากนำแนวคิดนี้เข้าสู่กระบวนการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษา จะช่วยให้สถานศึกษาเกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน ในอนาคต วันที่ 17 กันยายน 2552 ได้ไปบรรยายเรื่อง “การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน” ในการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด สพท. นนทบุรี เขต 1 และ 2 ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี ได้นำเสนอแนวคิดในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ Empowerment Approach และ Theory-Driven Approach โดยนำเสนอแนวปฏิบัติที่สำคัญ ๆ ในกระบวนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้

ขั้นที่ 1. Taking Stock....ตรวจสอบสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือผลการประเมินคุณภาพโรงเรียน เพื่อวิเคราะห์ว่า โรงเรียนเรามีคุณภาพมากน้อยเพียงใด เป็นการวิเคราะห์และจัดทำ Baseline เช่น พิจารณาจากผลการสอบ O-NET ผลการประเมิน ของ สมศ. ยกตัวอย่าง เช่น ในจังหวัดนนทบุรี โรงเรียนที่มีคุณภาพติดใน 100 อันดับแรกของประเทศ คือ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรีและโรงเรียนนวมินทราชูทิศ หอวัง นนทบุรี

ขั้นที่ 2. Setting Goal....กำหนดเป้าหมายความสำเร็จ เช่น กำหนดว่า ภายในปี 2553 เราจะต้อง

1) ปรากฏผลการประเมินคุณภาพภายในระดับดีมาก

2) รายวิชาร้อยละ 90 มีคุณภาพระดับดีมาก(ตามเกณฑ์ ห้องเรียนคุณภาพ)

3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยเฉพาะ O-NET จะต้องเพิ่มขึ้นปีละ 5 %

ขั้นที่ 3. Developing Strategies and Implementing..พัฒนากลยุทธ์ แล้วนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ ตัวอย่างกลยุทธ์ที่จะเน้น เช่น

1) ขับเคลื่อนแนวคิดห้องเรียนคุณภาพ หรือประกันคุณภาพ

รายวิชา ครูทุกคน ทุกรายวิชาต้องตั้งเป้าคุณภาพและดำเนินการยกระดับคุณภาพให้ได้ ทั้งนี้ นิยามว่า “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ ผู้ที่ทำงานประสบความสำเร็จ ใครสามารถทำให้ผลงานปีนี้ ดีกว่าปีที่แล้ว เรียกว่า ผู้นำการเปลี่ยนแปลง”

2) ปฏิรูปการบริหารจัดการห้องเรียนประจำชั้น กำหนดเกณฑ์ “ห้องประจำชั้น/ที่ปรึกษาคุณภาพ”

3) บริหารจัดการสถานศึกษาที่เน้นการขับเคลื่อนเชิงทฤษฎี อย่างเป็นระบบ ตามกรอบหลักวิชา

ขั้นที่ 4. Documenting Progress.......ประเมิน รวบรวมเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงความก้าวหน้าของงานตามเป้าหมาย

การดำเนินการในทุกขั้นตอนเน้น “การมีส่วนร่วม” ของคณะครู-อาจารย์ในโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้อง เช่น กรรมการสถานศึกษา เครือข่ายผู้ปกครอง สมาคมศิษย์เก่า เป็นต้น

ในการนี้ ผมได้ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนางานเพื่อยกระดับคุณภาพในเรื่องใด ๆ ในสถานศึกษา ตามกรอบขั้นตอนข้างต้น เป็นแนวคิดของ Empowerment Evaluation ของ David Fetterman (1993) เป็นแนวคิดในการพัฒนาที่มุ่งหวังให้องค์กรหรือบุคลากรในองค์กรสามารถชี้นำตนเอง(Self-Directing) ที่จะช่วยให้องค์กรเกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน ในอนาคต

อ้างอิงจาก http://www.kruthailand.net/forum/index.php?PHPSESSID=5d1ebe437e54cbcf368657eee3800787&topic=8.0

หมายเลขบันทึก: 340336เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2010 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท