ระวังปอดไว้ถ้าอยู่ใกล้ควัน-ถ่าน-ฟืน [EN]


การศึกษาใหม่พบ คนที่ใช้ฟืน ถ่าน หรือเชื้อเพลิงแข็ง โดยเฉพาะถ่านหินที่ใช้ทำอาหารในจีน-อินเดีย เพิ่มเสี่ยงโรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) และโรคปอดเรื้อรังอีกหลายชนิด [ Reuters ]

...

[besthealth]

ภาพที่ 1: แสดงหลอดลมใหญ่-กลาง-เล็ก ภายในปอด > [ A.D.A.M. ] & [ besthealth ]

...

[metrohealth]

ภาพที่ 2: แสดงหลอดลมฝอยในปอด และถุงลม; ภาพซ้ายของคนปกติ จะเห็นผนังบางๆ กั้นระหว่างถุงลมเป็นระเบียบเรียบร้อย; ภาพขวาของคนที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง จะเห็นถุงลมมีขนาดใหญ่ขึ้น ผนังที่กั้นระหว่างถุงลมถูกทำลาย บางลง หรือมีขอบเขตไม่ัชัดเจน > [ metrohealth ]

...

[besthealth]

ภาพที่ 3: แสดงถุงลมฝอยในปอด ซึ่งเป็นผนังที่บางมาก มีหลอดเลือดฝอยแทรกอยู่ภายใน > [ A.D.A.M. ] & [ besthealth ]

...

[besthealth]

ภาพที่ 4: แสดงภาพขยายถุงลมฝอยปกติ ซึ่งมีผนังบางมากจนแก๊สออกซิเจน (O2) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึมผ่านได้ดี หรือมีการฟอกเลือดอย่างเป็นระบบ > [ A.D.A.M. ] & [ besthealth ]

...

[tappmedical]

ภาพที่ 5: ภาพขยายถุงลมฝอยในปอด; ภาพบนเป็นของคนที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง ถุงลมฝอยโป่งออก ผนังถุงลมฝอยถูกทำลาย ทำให้บางลง อักเสบ หรือหายไปบางส่วน ทำให้การฟอกเลือดไม่ดี

ภาพล่างแสดงถุงลมฝอยปกติ มีผนังบางๆ กั้นเป็นห้องเรียบร้อยดี ไม่โป่งออก หรือหายไปเป็นบางส่วน > [ A.D.A.M. ] & [ tappmedical ]

...

[tappmedical]

ภาพที่ 6: แสดงถุงลมฝอยของคนที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งโป่งออกเป็นบางถุง ผนังบางส่วนถูกทำลาย ดูไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย หรือดูลักษณะที่แบ่งเป็นห้องหับ (คล้ายๆ กับห้องในบ้าน) หายไปบางส่วน > [ A.D.A.M. ] & [ tappmedical ]

...

[unc.edu]

ภาพที่ 7: แสดงผลของการได้รับควันไฟหรือบุหรี่; ภาพบนซ้ายแสดงหลอดลมฝอยของคนที่มีโรคหลอดลมอักเสบ ผนังจะบวม ขรุขระ มีเมือกจับหนาผิดปกติ ทำให้การไหลเวียนอากาศแย่ลง; ภาพบนขวาแสดงหลอดลมฝอยของคนปกติ จะเห็นผนังเรียบ และไม่มีเมือกจับหนาผิดปกติ ทำให้การไหลเวียนอากาศดี > [ unc.edu ]

ภาพล่างซ้ายแสดงถุงลมของคนที่ีมีโรคถุงลมโป่งพอง จะเห็นหลอดลมโป่งออก ถุงลมโป่งออก ผนังถูกทำลายเป็นบางส่วน; ภาพลางขวาแสดงถุงลมของคนปกติ จะเห็นหลอดลมมีขนาดปกติ ถุงลมฝอยมีผนังกั้นเป็นห้องหับ ดูเป็นระเบียบดี

...

[hubpages]

ภาพที่ 8: ภาพซ้ายแสดงถุงลมของคนปกติ - เวลาหายใจออกจะแฟบลงได้ดี ทำให้อากาศเสีย (อากาศเก่า) ออกไปได้ดี, เมื่อหายใจเข้าจะได้รับอากาศใหม่มาช่วยฟอกเลือด > [ hubpages ]

ภาพขวาแสดงถุงลมของคนที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง - เวลาหายใจออกจะแฟบตัวได้ไม่ดี มีอากาศเสีย (อากาศเก่า) คั่งค้างอยู่ในถุงลม, เมื่อหายใจเข้าจะเกิดการผสมกันระหว่างอากาศใหม่กับอากาศเสีย (อากาศเก่า) ทำให้การฟอกเลือดแย่ลง

...

[discoveryhospital]

ภาพที่ 9: แสดงลูกกรเดือก หลอดลม และปอด; ภาพเล็ก (1) แสดงถุงลมของคนปกติ; ภาพเล็ก (2) แสดงถุงลมของคนที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง > [ discoveryhospital ]

...//...

คณะวิจัยทำการ ทบทวนผลการศึกษาวิจัยจากหลายประเทศรวม 15 รายงานพบว่า การหายใจเอาควันจากเชื้อเพลิงแข็ง เช่น ฟืน ถ่าน ถ่านหิน (ใช้หุงหาอาหาร หรือให้ความอบอุ่นหน้าหนาวในจีน-อินเดีย) ฯลฯ เพิ่มเสี่ยงโรคทางเดินหายใจอุดตันเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease / COPD)

บ้านเรือนในประเทศกำลังพัฒนา (ยากจน) ประมาณครึ่งหนึ่งมีการใช้เชื้อเพลิงจากสิ่งมีชีวิต (biomass; bio- = สิ่งมีชีวิต; mass = สสาร ในที่นี้หมายถึงเชื้อเพลิง)

...

เชื้อเพลิงซึ่ง เพิ่มความเสี่ยงของโรคทางเดินหายใจอุดตันเรื้อรังหรือ COPD ที่สำคัญได้แก่ ไม้ วัสดุทางการเกษตร (เช่น ฟาง ฯลฯ), มูลสัตว์ (animal dung - ใช้มากในเอเชียใต้ เช่น อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน ฯลฯ) 

การศึกษาก่อนหน้านี้พบ การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลังของ COPD ซึ่งที่พบบ่อยมี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ถุงลมโป่งพอง (emphysema) มีอาการเหนื่อยง่าย หอบ เพลีย, และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis) มีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก

...

อ.ดร.พิกซิน แรน และคณะแห่งมหาวิทยาลัยการแพทย์กว๊างโจ้ว (Guangzhou ออกเสียงตาม 'webster' = Canton = กวางตุ้ง) จีน ทำการทบทวนผลการศึกษา 15 รายงานจากเอเชีย อเมริกาใต้ เม็กซิโก และสเปน รวมกลุ่มตัวอย่างคนไข้ COPD จำนวน 3,719 ราย และคนที่มีสุขภาพดีเกือบ 39,000 คน

ผลการศึกษาพบว่า การหายใจเอาควันจาการเผาไหม้เชื้อเพลงแข็ง (เช่น ฟืน ถ่าน เผาป่า เผาขยะ เผาใบไม้ ฯลฯ) เข้าไป เพิ่มเสี่ยง COPD เป็น 2.5 เท่า

...

ความเสี่ยงจะ เพิ่มเป็นมากกว่า 4 เท่าถ้าหายใจเอาคันจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงแข็งด้วย และสูบบุหรี่ด้วย

สถิติมะเร็งในไทยพบสูงที่สุดในลำปางและเชียงใหม่น่าจะมีความสัมพันธ์กับการ ใช้ฟืน ถ่าน เผาใบไม้ เผาขยะ เผาป่า เผาไร่นาสูงในบริเวณดังกล่าวเช่นกัน

...

การหยุดสูบ บุหรี่ เลิกเผาขยะ-ใบไม้ เลิกเผาป่า ไม่ใช้ฟืน-ถ่านในบ้าน (ถ้าใช้... ควรใช้อย่างระมัดระวัง เน้นไม่ให้มีควัน และใช้นอกบ้านในที่ที่อากาศถ่ายเทดีเท่านั้น) น่าจะมีส่วนช่วยป้องกันทั้งโรคทางเดินหายใจอุดตันเรื้อรังหรือ COPD และมะเร็งปอด ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงคล้ายกันได้ไม่มากก็น้อย

โรงพยาบาลรัฐหลายๆ แห่งมีคลินิกเลิกบุหรี่ ซึ่งจะช่วยให้ท่านเลิกสูบได้ง่ายขึ้น

...

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์ เรา                                

ต้น ฉบับเรื่องนี้คือ 'Smoke from home fuels tired to emphysema' = "ควันจากเชื้อเพลิงในบ้านมีความสัมพันธ์กับโรคถุงลมโป่งพอง" = "ควันถ่าน-ฟืนในบ้านเพิ่มเสี่ยงถุงลมโป่งพอง"

คลิกลิ้งค์ > คลิกลำโพง-ธงชาติ > ฟัง-ออกเสียงตามเจ้าของภาษา 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้ถูกต้องและเร็ว

...

ย้ำ เสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี กรณีมีตำแหน่งย้ำเสียง 2 ตำแหน่ง, ตำแหน่งที่ย้ำเสียงหนักกว่า คือ พยางค์ที่ใช้ตัวอักษรตัวหนา

@ [ fuel ] > [ ฟิ้ว - เอิ่ว - L ] > http://www.thefreedictionary.com/fuel > noun = เชื้อเพลิง; verb = เติมเชื้อเพลิง

...

# Our car ran out of fuel. = เชื้อเพลิงรถของเราหมด (เช่น น้ำมันหมด แก๊สหมด ไฟหมด ฯลฯ)

# The tanker is being fuelled. = รถบรรทุกน้ำมันกำลัง (ถูก) เติมน้ำมัน (tanker = รถ เรือ เครื่องบินบรรทุกน้ำมันหรือของเหลวอื่นๆ [ longdo ]

# The tank has finished fuelled. = รถถังคันนั้น (ถูก) เติมน้ำมันเสร็จแล้ว (tank = รถถัง ถัง แท้งค์น้ำ แท้งค์บรรจุของเหลว) [ longdo ] 

...//...

We thanks & recommend [ Reuters ];[ unc.edu ]; [ A.D.A.M. ]; [ metrohealth ]; [ besthealth ]; [ discoveryhospital ]; [ hubpages ]; [ tappmedical ] //

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่ มา                                                         

  • Thank Reuters > Smoke from home fuels tired to emphysema. Febraury 25, 2010. / Source > Chest. online, February 5, 2010.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 27 กุมภาพันธ์ 2553.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 340318เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2010 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท