ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล หรือเข้าอินทขิล


ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล หรือเข้าอินทขิล

          ประเพณีและเทศกาลมีความเกี่ยวข้องกันในแง่ที่ว่า เทศกาลคือเวลาที่ปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีที่กำหนดไว้เพื่อทำบุญและเรื่อนเริง  ซึ่งนอกเหนือจากความหมายในเชิงวัฒนธรรมแล้ว ปัจจุบันยังเพิ่มความหมายในเชิงธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อสร้างชื่อเสียงของท้องถิ่นและของประเทศให้เป็นที่รู้จักออกไปในวงกว้างอีกด้วย

       ตำนาน : อินทขิล หรือเสาหลังเมืองเชียงใหม่ ตามตำนานกล่าวว่า  พระอินทร์ได้ประทานเสานี้ให้ชาว “ลัวะ” เพื่อเป็นศูนย์รวมใจ ชาวเมืองต้องทำพิธีบูชา หากปล่อยปะละเลยบ้านเมืองจะพินาศ

          ประวัติ : ในปี พ.ศ. 1839 พญามังรายมหาราช ได้รวบรวมหัวเมืองเหนือตั้งอาณาจักรล้านนา “นพบุรีนครพิงค์ เชียงใหม่” เป็นเมืองหลวง ได้ได้ยกเสาหลักเมืองหรือ “อินทขิล”  ขึ้นที่วัดสะดือเมือง หรือวัดอินทขิล

        ในปี พ.ศ. 2343 พญากาวิละได้บูรณะเสาอินทขิล และย้ายมาประดิษฐานไว้ที่ซุ้มจัตุรมุขใหญ่หน้าพระวิหารวัดเจดีย์หลวง อนุญาตเฉพาะบุรุษเท่านั้นที่จะเข้าไปสักการะ

อินทขิล วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่

(http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=tonight&id=4773)

      พิธีกรรมและกิจกรรมตลอด  7 วัน

         1.  วันแรกเรียกว่าวัน “เข้าอินทขิล” จะอัญเชิญพระพุทธรูปคันธารราษฏร์ฝนแสนห่า” รอบเมืองเชียงใหม่ แล้วกลับมาที่วัดให้ประชาชนสรงด้วยน้ำส้มป่อยโรยกลีบกุหลาบ

         2.  พิธีการสักการะพระประทานในวิหาร มีการใส่บาตรดอกไม้ธูปเทียนลงไปในขัน 28 ใบ  (พระพุทธเจ้า 28 พระองค์)

         3.  นิมนต์พระสงฆ์จากวัดต่าง ๆ มาเจริญพระพระพุทธมนต์ตลอด 7 วัน

         4.  สักการะเสาอินทขิลด้วยดอกไม้ธูปเทียน สมโภชด้วยการละเล่นต่าง ๆ ตลอด 7 วัน

         5.  วันสุดท้ายเรียกว่า “วันออกอินทขิล”  จะมีการนิมนต์พระสงฆ์ 108 รูป เพื่อเจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตราหารและเครื่องไทยะทานเป็นอันเสร็จพิธี

         ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล เป็นการบูชาใหญ่ของวัดเจดีย์หลวงจัดในช่วงเดือน พ.ค. – มิ.ย. เป็นงานที่สวยสดงดงาม เนื่องจากพิธีส่วนใหญ่จะมีการใส่บาตรดอกไม้ เป็นงานพิธีที่มุ่งการสร้างกำลังใจให้ชาวเมืองอยู่เย็นเป็นสุขและฝนตกต้องตามฤดูกาล  ที่กำลังจะเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูก

 

ที่มาของภาพ : http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=tonight&id=4773

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

หมายเลขบันทึก: 339727เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2010 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท