หนุ่ม tapee
นายธนวัฒน์ (บุญรินทร์) กล่อมเกลี้ยง

การใช้เหยื่อพิษกำจัดแมลงสิงศัตรูถั่วฝักยาว


แมลงสิงศัตรูพืชสำคัญกับพืชเศรษฐกิจ

การใช้เหยื่อพิษกำจัดแมลงสิงศัตรูถั่วฝักยาว

          เกษตรกรปลูกถั่วฝักยาว ประสบปัญหาแมลงสิงเข้าทำลายฝักถั่วทำให้เกิดความเสียหายไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตบริโภคและจำหน่ายได้  ทำให้เกษตรกรขาดทุน

ลักษณะ

          แมลงสิง   เป็นศัตรูพืชชนิดหนึ่งเป็นแมลงปากเจาะดูด  ที่ระบาดในนาข้าว และพืชผักโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว  แมลงสิงที่เป็นศัตรูของถั่วฝักยาว ลำตัวจะโตและยาวกว่าแมลงสิงที่ระบาดในนาข้าว มีสีน้ำตาล   และเป็นศัตรูพืชที่ชอบเนื้อเน่าเหม็น

ลักษณะการทำลาย

             การทำลายของแมลงสิง   จะเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงของเมล็ดฝักถั่วตั้งแต่ฝักยังอ่อน ทำให้เมล็ดลีบฝักถั่วจะลีบและแห้งในที่สุด  ส่วนแมลงสิงที่ระบาดในนาข้าวจะเจาะดูดกินเมล็ดข้าวตั้งแต่ข้าวระยะเป็นน้ำนมทำให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง

การป้องกันกำจัด

การป้องกันกำจัดแมลงสิง  โดยการใช้สารเคมีชนิดดูดซึมฉีดพ่นให้ทั่วแปลง  ทุกๆ 7 วัน   แต่การใช้สารเคมีเป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค

การผลิตเหยื่อพิษ

การกำจัดแมลงสิงโดยวิธีปลอดภัยทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค โดยวิธีการใช้เหยื่อพิษเบื่อแมลงสิง  โดยเกษตรกรไม่ต้องฉีดพ่นสารเคมีในแปลงถั่วและนาข้าวแต่อย่างได

วิธีทำ

1.  ใช้เนื้อ หมู หรือ วัว หรือเนื้ออื่นๆ ที่ราคาถูกกว่า  ตัดเป็นชิ้นขนาด  2 × 2  นิ้ว  ผูกเชือกสำหรับแขวน    และนำก้อนเนื้อใส่ภาชนะเปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน  จนเนื้อมีกลิ่นเหม็นเน่า 

2.   นำมาก้อนเนื้อมาคลุกเคล้ากับสารเคมี    แลนเนท   และทิ้งไว้  1  คืน  อัตราการใช้  เนื้อ  3  ชิ้น  ต่อสารเคมี   1  ช้อนโต๊ะ   (มากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้เพราะ   แลนเนท  เป็นสารเคมีที่ไม่มีกลิ่น มีความเป็นพิษสูง  เกษตรกรทั่วไปเรียกว่า   “ยาน็อคหนอน”   )

3.   นำเหยื่อพิษที่ได้ไปแขวนไว้บริเวณภายในแปลงผัก โดยเน้นบริเวณรอบนอกแปลงผักให้มากที่สุด  เพื่อล่อแมลงสิงภายในแปลงออก   แมลงสิงเป็นแมลงศัตรูพืชที่ชอบเนื้อเน่า จะเข้ามาเจาะดูดกินก้อนเนื้อที่ผสมสารเคมีและจะตาย 

สรุป

              การใช้เหยื่อพิษกำจัดแมลงสิง  สามารถใช้ได้ทั้งในแปลงผักและในนาข้าว    ทำให้เกษตรกรลดการฉีดพ่นสารเคมี  มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค  ผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษ  ลดต้นทุนการผลิต    แมลงศัตรูธรรมชาติและสภาพแวดล้อมไม่ไม่ถูกทำลาย  

                                               ................

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 339577เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2010 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หวัดดีครับ

  • สารแลนเนท ไม่ตกค้างในผลผลิตนะครับ
  • ทำให้ถั่วฝักยาว น่ากินกว่าเก่า ครับ

>>

แลนเนท เป็นชื่อทางการค้าของเม็ทโธมิล (Methomyl) ซึ่งเป็นสารเคมีกำจัดแมลงชนิดหนึ่งในกลุ่มคาร์บาเมต ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืชได้หลายชนิด

ลักษณะทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ของแลนเนท จะเป็นผลึกของแข็งสีขาว มีกลิ่นกำมะถันเจือจาง มีความเสถียรในสภาพที่เป็นของแข็งมากกว่าสภาพที่เป็นด่าง และสามารถสลายตัวได้ดีในสภาพที่มีอุณหภูมิสูง หรือในสภาพที่เป็นด่าง รวมถึงสามารถสลายตัวได้อย่างรวดเร็วเมื่ออยู่ในดิน ซึ่งเพราะแลนเนทมีสีขาวคล้ายเกล็ดของน้ำตาล ดังนั้น ปัจจุบันผู้ผลิตจึงต้องผสมสีเข้าไป เช่น สีน้ำเงิน เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดในการนำไปใช้งาน คุณสมบัติหนึ่งของแลนเนทก็คือ มีกลิ่นน้อยมาก อีกทั้งยัง ละลายน้ำได้ ซึ่ง 2 จุดนี้ถือว่าต้องระวัง

แลนเนทเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะก่อเกิดกระบวนการเมตาบอลิซึม ซึ่งบางส่วนจะถูกขับออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว แต่บางส่วนที่หลงเหลือตกค้างอยู่ในร่างกายและตามเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ จะ ก่อให้เกิดพิษโดยมันจะไปขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ Cholinesterase และส่งผลกระทบต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาการเริ่มแรกจะอ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก ม่านตาหรี่ และกล้ามเนื้อชักกระตุก จากนั้นอาจเกิดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง เกิดอาการชัก และหมดสติ

เนื่องจากสารเคมีกำจัดแมลงชนิดนี้เป็นยาที่หาซื้อได้ง่าย จึงสะดวกต่อการนำไปใช้ในทางที่ผิดได้ง่ายกว่าสารเคมีกำจัดแมลงชนิดอื่น ๆ ทางผู้เชี่ยวชาญระบุ นี่แหละทำให้ แลนเนท เป็น ยาพิษฆ่าคนได้

<<

ที่มาของข้อมูล : คอลัมน์สกู๊ปข่าวหน้า 1 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท