การกำหนดและบริหารจัดการระบบความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ


การกำหนดและบริหารจัดการระบบความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังต่อไปนี้  

   1.กำหนดระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย (Plan) โดยองค์กรควรกำหนดขอบเขตของระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยและกำหนดนโยบายความมั่นคงปลอดภัย โดยพิจารณาถึงลักษณะของธุรกิจ องค์กร สถานที่ตั้ง ทรัพย์สิน และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังต้องกำหนดวิธีการประเมินความเสี่ยงที่เป็นรูปธรรมขององค์กร ระบบความเสี่ยง วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง ระบุและประเมินทางเลือกในการจัดการกับความเสี่ยงการดำเนินการที่เป็นไปได้ เลือกวัตถุประสงค์และมาตรการทางด้านความปลอดภัยเพื่อจัดการกับความเสี่ยง ขออนุมัติและความเห็นชอบสำหรับความเสี่ยงที่ยังหลงเหลืออยู่ในระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย ขอการอนุมัติเพื่อลงมือปฎิบัติและดำเนินการ และสุดท้ายคือ จัดทำเอกสาร SoA (Statement of Applicability) แสดงการใช้งานมาตรฐานตามที่แสดงไวในส่วนของมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบธุรกรรมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์

   2.ลงมือปฎิบัติและดำเนินการระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย (Do) โดยองค์กรควรจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยง ลงมือปฎิบัติตามแผนการจัดการความเสี่ยงและตามมาตรฐานที่เลือกไว้ กำหนดวิธีการในการวัดความสัมฤทธิ์ผลของมาตรการที่เลือกมาใช้งาน จัดทำและลงมือปฎิบัติตามแผนการอบรมและสร้างความตระหนัด บริหารจัดการดำเนินงานและบริหารทรัพยากรสำหรับระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย รวมถึงจัดทำและลงมือปฎิบัติตามขั้นตอนปฎิบัติและมาตรการอื่นๆ ซึ่งช่วยในการตรวจจับและรับมือกับเหตุการณ์ทางด้านความมั่นคงปลอดภัย

   3.เฝ้าระวังและทบทวนระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย (Check) โดยองค์กรควรลงมือปฎิบัติตามขั้นตอนปฎิบัติและมาตรการอื่นๆ สำหรับการเฝ้าระวังและทบทวน ดำเนินการทบทวนความสัมฤทธิ์ผลของระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ วัดความสัมฤทธิ์ผลของมาตรการทางด้านความมั่นคงปลอดภัย ทบทวนผลการประเมินความเสี่ยงตามรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้กับระดับความเสี่ยงที่เหลืออยู่และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ดำเนินการตรวจสอบและทบทวนระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย ปรับปรุงแผนทางด้านความปลอดภัยโดยนำผลของการเฝ้าระวังและทบทวนกิจกรรมต่างๆ มาพิจารณาร่วมด้วย และบันทึกการดำเนินการซึ่งอาจมีผลกระทบต่อความสัมฤทธิ์ผลหรือประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย

   4.บำรุงรักษาและปรับปรุงระบบบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัย (Act) โดยองค์กรควรปรับปรุงระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยตามที่ระบุไว้ รวมถึงการใช้มาตรการเชิงแก้ไข ป้องกัน และใช้บทเรียนจากประสบการณ์ทางด้านความมั่นคงปลอดภัยขององค์กรเองและองค์กรอื่น แจ้งการปรับปรุงและดำเนินการให้แก่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตรวจสอบว่าการปรับปรุงที่ทำไปแล้วนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่

2.ข้อกำหนดทางด้านการจัดทำเอกสาร

   1.ความต้องการทั่วไป เอกสารที่จำเป็นต้องจัดทำจะรวมถึงบันทึกแสดงการตัดสินใจของผู้บริหาร ได้แก่  นโยบายความมั่นคงปลอดภัย ขอบเขตของระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย วิธีการประเมินความเสี่ยง เป็นต้น

   2.การบริหารจัดการเอกสาร ซึ่งเอกสารตามข้อกำหนดของระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยจะต้องได้รับการป้องกันและควบคุม ขั้นตอนการปฎิบัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร ได้แก่ อนุมัติการใช้งานเอกสารก่อนที่จะเผยแพร่ ทบทวน ปรับปรุงและอนุมัติเอกสารตามความจำเป็น ระบุการเปลี่ยนแปลงและสภานภาพของเอกสารปัจจุบัน เป็นต้น

   3.การบริหารจัดการบันทึกข้อมูลหรือฟอร์มต่างๆ องค์กรจะต้องมีการกำหนด จัดทำและบำรุงรักษาบันทึกข้อมูลหรือฟอร์ต่างๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงความสอดคล้องกับข้อกำหนดและการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย

 

  

หมายเลขบันทึก: 338147เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2010 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท