DM nursing care conference:การปรึกษาหารือทางการพยาบาล


ครั้งนี้เป็นการทำ Nursing care conference รูปแบบใหม่ ซึ่งมีผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงโรคเบาหวานเข้าร่วมวิพากวิจารณ์ กระบวรการดูแล ดังนั้นเสียงสะท้อนจากกลุ่มเป้าหมายจึงบอกว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งค่ะ เมื่อครั้งแรกดี ครั้งที่สอง ที่สาม..คงจะตามมา ค่ะ

Nursing care conference หรือ เรียกสั้นๆ ว่า case conference เป็นอีกกิจกรรมหนึ่ง ในการพัฒนาคุณภาพ การดูแลผู้ป่วยของ วิชาชีพการพยาบาล ค่ะ เป็นการนำ ผู้ป่วยกรณีศึกษา (case) ที่มีประเด็นการดูแลที่น่าสนใจ มีความยุ่งยาก ซับซ้อน ในการดูแล มาร่วม วิเคราะห์ กระบวนการดูแล   ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ อาจนำสู่การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วยกรณีดังกล่าว ในบริบทของทีมการพยาบาลนั้นๆ โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ พยาบาลจากหอผู้ป่วยต่างๆ ค่ะ

กระบวนการ Nursing care conference นั้นเป็นที่ทราบดีของพยาบาล โดยทั่วไปแล้ว มีกระบวนการ ดังนี้ ค่ะ 

หลังจาก กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและแนะนำตนเองแล้ว.. 

  • ทีมผู้ให้การดูแล หรือ เรียกง่ายๆ ว่า เจ้าของ case นำเสนอ ข้อมูลของผู้ป่วย   ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ  แผนการรักษา  และ ความก้าวหน้าของการดูแล 

  • ผู้เข้าร่วม conference  ซักถามประวัติการเจ็บป่วย   ผลการตรวจต่างๆ หรือ ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งเจ้าของ case อาจ นำเสนอหรือรวบรวมมาไม่หมด  

  • ทีมพยาบาลเจ้าของ case อธิบาย กลไก พยาธิ  ของโรค  ตลอด จนแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการดูล

  • ทั้ง เจ้าของ case และ  ผู้เข้าร่วม conference  ร่วมวิเคราะห์ ปัญหา  (ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล) โดย ใช้ ทฤษฎีหรือแนวคิดที่เกี่ยวข้อง   ตลอดจน ประสบการณ์การดูแล ทางคลินิก

  • ทั้ง เจ้าของ case และ  ผู้เข้าร่วม conference  ร่วมเสนอแผนการพยาบาล และ กิจกรรมการพยาบาล ตลอดจน การประเมินผล การพยาบาล  โดย  เชื่อมโยง   ทฤษฎีหรือแนวคิดที่เกี่ยวข้อง   ตลอดจน ประสบการณ์การดูแล ทางคลินิก  กับ สถานการณ์ของผู้ป่วยกรณีศึกษา 

  • สรุป ผล และ บทเรียนที่ได้รับ

ในการทำ   Nursing care conference ต้องใช้ เวลา   ศึกษา ค้นคว้า แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง   และ การเตรียมข้อมูล ตลอดจนการนำเสนอ ข้อมูล ดังนั้น แต่ละหน่วยงานจึงไม่สามารถทำ Nursing care conference ได้บ่อยๆ ดังนั้น เพื่อ พัฒนาคุณภาพในการดูแลโดยฉพาะในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้เขียนจึงพยายาม ผลักดันให้มีกิจกรรม DM nursing care conference ขึ้นในหอผู้ป่วยต่างๆ โดย เป็นผู้นำ   ช่วยเหลือ ในการรวบรวม ข้อมูล เตรียมทีม ทำความเข้าใจกับ case ก่อนนำเสนอ ค่ะ

ครั้งนี้เป็นการทำ  Nursing care conference รูปแบบใหม่ ซึ่งมีผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงโรคเบาหวานเข้าร่วมวิพากวิจารณ์ กระบวรการดูแล ดังนั้นเสียงสะท้อนจากกลุ่มเป้าหมายจึงบอกว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งค่ะ   เมื่อครั้งแรกดี  ครั้งที่สอง  ที่สาม..คงจะตามมา ค่ะ

คุณพี่นพพร เชาวะเจริญ ผู้ตรวจการพยาบาล ประจำอาคาร สว.กล่าวเปิดงาน(สั้นๆ)

 

DM nursing care conference อาคาร สว. ซึ่งประกอบด้วย พยาบาลประจำหอผู้ป่วย 9A,9B,9C, สว.11, สว. 12, และ สว.15 จำนวน 30 คน

 

หมายเลขบันทึก: 337662เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2010 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

P แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช
เมื่อ พฤ. 18 ก.พ. 2553 @ 19:20
#1864557 [ ลบ ]

ขอบคุณ สำหรับ กำลังใจ ค่ะพี่แก้ว

ชูศรี คูชัยสิทธิ์ ...(พี่เล็ก)

พี่ชู ขอเป็นกำลังใจ เมื่อมีการดำเนินการให้มีการสะท้อนข้อมูล เพื่อให้ครั้งที่ 2 เกิดผลดียิ่งขึ้น

สวัสดีค่ะ น้องลดาวัลย์

มาร่วมเชียร์ในการดำเนินการกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานค่ะ

ขอขอบคุณน้องลดาวัลย์ที่มาร่วมทำ conference ด้วย ถือว่าได้ประสบการณืและเรียนรู้ร่วมกันและขอขอบคุรพี่อ๋อยพี่ช่วยชี้แนะ เรายังเหลือการติดตามผล คงจะเร็วๆ นี้จะไ้แนวปฏิบัติที่เหมาะสมกับหอผู้ป่วยแต่ยังคงกรอบแนวคิดในเรื่อง Empower และNPGL ที่ใช้ร่วมกันได้ทุกหน่วยงาน

ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดีคะ สามารถเป็นแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยต่อไป สนับสนุนให้ดำเนินกิจกรรมต่อไปนะคะ

ขอยคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท