จิตวิทยาพัฒนาการ ๔ ช่วงวัย


สรุปจิตวิทยาพัฒนาการ ๔ ช่วงวัย โดยแบ่งประเด็นเป็น ๔ ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

พัฒนาการวัยเด็ก (Childhood Development)

 

พัฒนาการทางร่างกาย (Physical Development)

       -ลักษณะการเจริญเติบโต

-เป็นไปในลักษณะเพื่อให้อวัยวะต่าง ๆ สามารถทำงานได้ตามหน้าที่

-มีอัตราการเจริญเติบโตทางด้านน้ำหนักและส่วนสูง

-รับประทานอาหารได้น้อย เลือกอาหารเฉพาะที่ชอบเท่านั้น

       -ลักษณะร่างกาย

-ช่องท้องบางลง หน้าอกและไหล่กว้างและใหญ่ขึ้น

-แขนขายาวออกไป ศีรษะได้ขนาดกับลำตัว มือและเท้าใหญ่ขึ้น

-โครงกระดูกแข็งขึ้น กล้ามเนื้อเติบโตแข็งแรงขึ้น

-สามารถใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น

-ระบบกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

พัฒนาการทางจิตใจ  (Psychological Development)

-มีอารมณ์ตื่นเต้น พอใจ-ไม่พอใจ กลัวโกรธ เกลียด ยินดี รัก 

-มีการพัฒนาความเจริญงอกงามด้านจิตใจ 

-โกรธง่ายจากการไม่ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ

-รักบุคคลที่ให้การตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ

-กลัวสิ่งแปลกใหม่ หรือกลัวในสิ่งที่จินตนาการไปเอง 

-ช่างซักถาม  ช่างสงสัยทุกเรื่องและถามได้ตลอดเวลา  ไม่สิ้นสุด  

-อิจฉาเมื่อรู้สึกว่าตนด้อยกว่าผู้อื่น หรือสูญเสียความสนใจที่ตนเคยได้รับ

-ร่าเริง ดีใจหรือสนุกสนานเมื่อได้รับการตอบสนองตามที่ตนต้องการทันเวลา 

 

พัฒนาการทางสังคม (Social Development)

-ชอบการเข้าสังคม การพบปะพูดคุยกับผู้คน

-มีเพื่อนเล่นรวมกลุ่มกับเพื่อนทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศ

-มีความคิดและการเล่นที่อิสระไม่ชอบกฎเกณฑ์

-ต้องการเป็นที่ยอมรับของกลุ่มโดยการแบ่งปันสิ่งของให้กับผู้อื่น

-แสดงออกถึงความเป็นผู้นำ ชอบเล่นบทบาทสมมติเป็นพ่อแม่ ครูนักเรียน

-พยายามช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลืองานบ้านง่ายๆ 

-รู้จักปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทั้งวัยเดียวกันและวัยต่างกัน

-เรียนรู้มารยาทการไหว้ทักทาย การพูดคุย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคม

-เรียนรู้ที่จะระมัดระวังคนแปลกหน้า

 

พัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development)

-ชอบอิสระ

-ชอบแก้ปัญหาตามความคิดและวิธีการของตนเอง

-แสวงหาวิธีการต่าง ๆ จากการทดลองปฏิบัติผิดถูก การซักถาม การเปรียบเทียบ

-การแสดงออกทางการเล่น การสามารถจำสิ่งของหรือบุคคลต่าง ๆ อย่างถูกต้อง

-สามารถบอกความเหมือน ความต่าง

-มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงออก

-สามารถใช้ภาษาได้ดีขึ้น เข้าใจภาษา ความหมายของคำใหม่ ๆ

-อ่านและเขียนได้ดีขึ้น

 

พัฒนาการวัยรุ่น (Adolescence Development)

 

พัฒนาการทางร่างกาย (Physical Development)

       -เพศชาย

-จะเป็นหนุ่มขึ้น

-ร่างกายเติบโตอย่างรวดเร็ว แขนขายาวขึ้น

-มีกล้ามเนื้อแข็งแรง

-นมขึ้นพาน มีลูกกระเดือก เสียงแตก แหบห้าว

-หนวดเคราขึ้น

-อวัยวะเพศมีขนาดโตขึ้นและมีขนขึ้นบริเวณหัวหน่าว 

-มีกลิ่นตัว มีสิว และเริ่มมีฝันเปียก

       -เพศหญิง

-จะเป็นสาวขึ้น

-ร่างกายเติบโตอย่างรวดเร็ว แขนขายาวขึ้น

-เต้านมมีขนาดโตขึ้น

-มีเสียงที่แหลม

-มีไขมันสะสม รูปร่างมีทรวดทรง สะโพกผายออก

-อวัยวะเพศมีขนาดโตขึ้นและมีขนขึ้นบริเวณหัวหน่าว

-มีกลิ่นตัว  มีสิว และเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก

 

พัฒนาการทางจิตใจ  (Psychological Development)

-อารมณ์จะปั่นป่วน เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิดง่าย เครียดง่าย โกรธง่าย 

-อาจเกิดอารมณ์ซึมเศร้าโดยไม่มีสาเหตุได้ง่าย 

-เกิดพฤติกรรมเกเร  ก้าวร้าว  

-การควบคุมอารมณ์ยังไม่ค่อยดีนัก  บางครั้งยังทำอะไรตามอารมณ์ตัวเองอยู่บ้าง 

-ต้องความรักและความห่วงใย 

-ชอบอิสระอยากทำอะไรได้ด้วยตนเอง

 -อยากรู้ อยากเห็น อยากลอง     

-ทำอะไรหลายๆ อย่าง เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม

-ต้องการหาประสบการณ์แปลกๆ ใหม่ๆ เกลียดความจำเจซ้ำซาก 

-ต้องการการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน ของกลุ่ม

 

พัฒนาการทางสังคม (Social Development)

-เริ่มห่างจากทางบ้าน ไม่ค่อยสนิทสนมคลุกคลีกับพ่อแม่พี่น้อง 

-สนใจเพื่อน จะใช้เวลากับเพื่อนนานๆ    

-มีกิจกรรมนอกบ้านมาก  ไม่อยากไปไหนกับทางบ้าน  

-เริ่มมีความสนใจเพศตรงข้าม 

-สนใจสังคมสิ่งแวดล้อม ปรับตัวเองให้เข้ากับกฎเกณฑ์ของสังคมได้ดีขึ้น  

-มีความสามารถในการสื่อสารเจรจา แก้ปัญหา และทำงานร่วมกับผู้อื่น 

 

พัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development)

       -ความคิดเป็นแบบรูปธรรม

-สามารถเรียนรู้ เข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ ได้ลึกซึ้งขึ้น

-สามารถในการคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ สิ่งต่างๆได้มากขึ้น

-สามารถทางสติปัญญาเหมือนผู้ใหญ่  แต่ยังอาจขาดความยั้งคิด 

-หุนหันพลันแล่น ขาดการไตร่ตรองให้รอบคอบ

       -ความคิดเกี่ยวกับตนเอง

-แสดงเอกลักษณ์ในสิ่งตนเองชอบหรือถนัด 

-สนใจภาพลักษณ์ของตนเอง เช่น รูปร่าง หน้าตา ความหล่อความสวย ข้อดีข้อด้อยของตนเอง เป็นต้น

-ต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน 

-ภาคภูมิใจในตนเอง

-เป็นตัวของตัวเอง รักอิสระ เสรีภาพ ไม่ชอบอยู่ในกฎเกณฑ์

-เริ่มเรียนรู้ที่จะควบคุมความคิด และคิดเป็นระบบ 

       -ความคิดเชิงอุดมคติสูง

-สามารถแยกแยะความผิดชอบชั่วดีได้แล้ว 

-มีระบบมโนธรรมของตนเอง ต้องการให้เกิดความถูกต้อง 

-ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ต้องการเป็นคนดี เป็นที่ชื่นชอบของคนอื่น  

 

 

 

พัฒนาการวัยผู้ใหญ่ (Adulthood Development)

 

พัฒนาการทางร่างกาย (Physical Development)

-มีทางร่างกายสมบูรณ์โตเต็มที่ทั้งเพศหญิงและเพศชาย

-มีความสูงที่สุดในวัยผู้ใหญ่

-มีกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อไขมัน

-เพศชาย ไหล่จะกว้าง มีการเพิ่มขนาดของต้นแขนและมีความแข็งแรงมากขึ้น

-เพศหญิง เต้านมและสะโพกมีการเจริญเต็มที่

-ร่างกายจะมีพลัง คล่องแคล่วว่องไว

-การรับรู้ต่าง ๆ มีความสมบูรณ์เต็มที่ เช่น สายตา การได้ยิน การดมกลิ่น การลิ้มรส เป็นต้น

 

พัฒนาการทางจิตใจ  (Psychological Development)

-มีการควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น

-มีความมั่นคงทางจิตใจดีกว่าวัยรุ่น

-คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น รู้สึกยอมรับผู้อื่นได้ดีขึ้น

-มีพัฒนาการด้านอารมณ์รักได้ในหลายรูปแบบ เช่น รักแรกพบ หรือรักแบบโรแมนติก

-มีความรู้สึกที่จะปรารถนาใช้ชีวิตคู่ด้วยกัน

-มีการใช้กลไกทางจิตชนิดฝันกลางวัน การเก็บกดน้อยลง

-มีการใช้เหตุผลทั้งกับตนเองและผู้อื่นมากขึ้น

 

 

พัฒนาการทางสังคม (Social Development)

-ให้ความสำคัญกับกลุ่มเพื่อนร่วมวัยลดลง แต่สัมพันธภาพในเพื่อนที่ใกล้ชิดยังคงอยู่

-มีความผูกพันกันมากกว่าความผูกพันในลักษณะของคู่รัก

-เริ่มใช้ชีวิตครอบครัวกับคู่ของตนเอง

--เกิดการปรับตัวกับบทบาทใหม่

-การสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัวจะเพิ่มขึ้น

-สังคมความใกล้ชิดสนิทสนม

-บุคคลในสังคมของวัยได้แก่ เพื่อนรัก คู่ครอง

-บุคคลจะพัฒนาความรัก ความผูกพัน แสวงหามิตรภาพที่สนิทสนม

-สามารถสร้างมิตรภาพได้มั่นคง

-มีความสัมพันธ์กันอย่างไว้เนื้อเชื่อใจและนับถือซึ่งกันและกัน

-สังคมการแยกตัว

-มีความรู้สึกอ้างว้างเดียวดาย

-เป็นคนที่หลงรักเฉพาะตนเอง

 

 

พัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development)

-มีพัฒนาการทางความคิดสติปัญญาอยู่ในระดับขั้นสูงที่สุดของพัฒนาการ

-มีความสามารถทางสติปัญญาสมบูรณ์ที่สุด

-คุณภาพของความคิดจะเป็นระบบ

-มีความสัมพันธ์กัน

-มีความคิดรูปแบบนามธรรม

-มีความคิดเปิดกว้าง ยืดหยุ่นมากขึ้น

-รู้จักจดจำประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้

-สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี

-มีลักษณะของความคิดสร้างสรรค์และค้นหาปัญหาด้วย

 

 

 

พัฒนาการวัยสูงอายุ (Elderly Development)

 

พัฒนาการทางร่างกาย (Physical Development)

       -การเปลี่ยนแปลงภายนอก

-ผมหงอก 

-มีรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า

-หลังโกง หรือค่อม

-กล้ามเนื้อหย่อนสมรรถภาพ 

-ร่างกายเคลื่อนไหวได้ช้าลง การทรงตัวไม่ดี  

-การได้ยินเสื่อมลง หูตึง

-การปัญหาในมองเห็น สายตาฝ่าฟาง

       -การเปลี่ยนแปลงภายใน

-อวัยวะเริ่มทำงานเสื่อมถอยในทุกระบบ

-ความยืดหยุ่นตัวของเส้นเลือดลดลง 

-มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ต่างๆ 

- มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย 

 

พัฒนาการทางจิตใจ  (Psychological Development)

-ยังคงมีอารมณ์รัก ในบุคคลอันเป็นที่รักโดยเฉพาะบุคคลในครอบครัว 

-มีอารมณ์เหงา ว้าเหว่

-รู้สึกว่าคุณค่าของตนเองลดลง เนื่องจากต้องพึ่งพาบุตรหลาน

-รู้สึกว่าตนเองเป็นภาระของคนอื่น

-มักแสดงอาการหงุดหงิด น้อยใจ ต่อบุตรหลาน 

-มีความเศร้าโศก มีผลกระทบต่อจิตใจ  สุขภาพกาย  และพฤติกรรม

 

พัฒนาการทางสังคม (Social Development)

-สังคมในครอบครัวหรือเพื่อนร่วมวัย

-กิจกรรมของผู้สูงอายุจึงมักเป็นกิจกรรมการเลี้ยงดูหลาน  ดูแลบ้านให้กับบุตรหลาน  

-กิจกรรมที่วัด ทำบุญ ฟังธรรม 

-กิจกรรมในชุมชน  เช่น  เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ  เป็นต้น

 

พัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development)

-สมองเสื่อมหรือสมองจะฝ่อและมีน้ำหนักลดลง

-สมองถูกทำลายไป โดยเฉพาะส่วนที่เรียกว่า Gray Matter  

-เลือดมาเลี้ยงสมองได้น้อย มีภาวะความดันโลหิตสูง 

-เซลล์ประสาทตายเพิ่มขึ้นและจำนวนเซลล์ลดลงตามอายุ 

-เริ่มมีอาการความจำเสื่อม โดยเฉพาะความจำในเหตุการณ์ปัจจุบัน

 


อ้างอิง

เกศรา น้อยมานพ. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบคำสอนรายวิชาจิตวิทยาพัฒนาการผู้เรียน.

                      ชลบุรี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (อัดสำเนา).

หมายเลขบันทึก: 337344เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2010 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรื่องที่น้องเขียนสรุปได้ดี อ่านแล้วได้ใจความกระชับ ขอชื่นชมเด็กยุคใหม่ที่นำความรู้มาให้คนอื่นค้นคว้าได้

แต่ถ้าจะให้เยี่ยมไปเลยน้องช่วยลงบรรณานุกรมด้วยจะดีมาก ขอบคุณครับ

ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะ ผมเขียนเอกสารอ้างอิงที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมแล้วนะครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท