Locus of Control : ความเชื่อ และ พลังอำนาจในตัวตน


Locus of Control : ความเชื่อ และ พลังอำนาจในตัวตน สู่ภาวะผู้นำที่สมบูรณ์
Locus of Control

ความเชื่อ-พลังอำนาจในตัวตน

มุจลินทร์  ผลกล้า  5220130107 ป. เอก ภาวะผู้นำฯ มอ.ปัตตานี
299-842 Modern Viewpoints in Educational Psychology…

เรื่องของ "Locus of Control" คนเราจะมีความเชื่อที่ต่างกัน คือ

กลุ่มที่ 1   เชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเรา เกิดจากการกระทำของเราเอง ฉะนั้นเราสามารถควบคุมสถานการณ์ต่าง ๆ ได้...

กลุ่มที่ 2   เชื่อเรื่องของโชค ชะตา ฟ้าลิขิต โดยเชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเรามีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอก ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมได้...

                 คนกลุ่มหลังเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วง และก็มีมากในสังคม โดยเฉพาะในสังคมไทย...

ที่พูดถึงเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะมีเพื่อนอยู่คนหนึ่งที่ชีวิตเขามักจะมีเรื่องร้าย ๆ เกิดขึ้นเสมอ ๆ และเขามักจะโทษโชค ชะตาโดยไม่เคยวิเคราะห์เหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นเลย...เกือบทุกเหตุการณ์ที่เขาเล่ามา เมื่อวิเคราะห์แล้วเกิดจากการขาดสติในการดำเนินชีวิตของเขาเองเกือบทั้งสิ้น สิ่งที่เราทำได้ก็แค่แนะนำให้เขาฝึกสมาธิบ้าง สติจะได้อยู่กับตัว ทำอะไรจะได้ไม่เกิดความผิดพลาด...

            “ ชีวิตคนเราไม่ได้ยาวนานนัก ใช้ชีวิตอย่างมีสติในทุก ๆ วัน มองเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิตเราอย่างมีเหตุมีผล การดำเนินชีวิตของเราจะได้ไม่ผิดพลาด และที่สำคัญเราจะได้มีความสุขในชีวิตอย่างแท้จริง” ....

ที่มาของ Locus of Control

                Locus of Control  มาจาก แรงจูงใจ (Motivation) เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางจิตใจ ซึ่งทำให้เกิดความตื่นตัว (Arousal) ทิศทาง (Direction) และความยืดหยุ่น (Persistence) ในการกระทำต่างๆ (Mitchell, 1982) ความตื่นตัวและความยืดหยุ่น คือการที่บุคคลลงทุนทั้งเวลาและแรงกายแรงใจในการประกอบกิจกรรม ส่วนทิศทาง หมายถึง กรกระทำหรือสิ่งที่บุคคลนั้นได้เสียสละเวลาและแรงกายแรงใจลงไป ดังนั้น ผู้ที่มีแรงจูงใจจะมีพฤติกรรมหรือการแสดงออกที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้น และเป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมาย นักจิตวิทยาเชื่อว่า แรงจูงใจช่วยเพิ่มพลังของบุคคล คือ เมื่อบุคคลมีแรงจูงใจสูง เขาจะยิ่งทำงานหนักและมากขึ้นกว่าเดิม             โน (Noe, 1986)  ได้เสนอว่ามีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อระดับแรงจูงใจ เช่น 1). ความเชื่อเกี่ยวกับอำนาจควบคุม (Locus of Control)  2). ความเชื่อในสมรรถภาพแห่งตน (Self efficacy belief) เป็นต้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงความเชื่อเกี่ยวกับอำนาจควบคุม (Locus of Control)  ว่าจะมีผลต่อแรงจูงใจและความสามารถในการเรียนรู้ของบุคคล ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องอำนาจควบคุมสามารถจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ ความเชื่อว่าผลลัพธ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากอำนาจควบคุมภายนอกตนเอง (external) หรืออำนาจควบคุมภายในตนเอง (internal) ผู้ที่เชื่อในอำนาจภายนอกถือว่าผลลัพธ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จหรือล้มเหลว เป็นผลมาจากปัจจัยภายนอก เช่น ความโชคดี หรือการกระทำของบุคคลอื่น แต่ผู้ที่เชื่ออำนาจภายในตนจะสรุปว่าความสำเร็จหรือความล้มเหลว เป็นผลมาจากการกระทำของตน ดังนั้นผู้ที่เชื่อในอำนาจภายในของตนจึงน่าจะมีแรงจูงใจในการเรียนรู้สูงกว่าผู้ที่เชื่อในอำนาจภายนอก  เพราะเขามีความเชื่อว่าการจะทำผลงานออกมาดีหรือไม่ดีนั้นมีสาเหตุจากการกระทำของตนเองด้วย (Goldstein, 1993)

 

หมายเลขบันทึก: 337220เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2010 00:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท