โรคตับเรื้อรัง


โรคตับแข็ง (Cirrhosis)
 
     ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ตับมีหน้าที่ทำลายสารพิษ poison หรือของเสียออกจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกัน immune เพื่อต่อต้านเชื้อโรค สร้างสารเพื่อให้เลือดแข็งตัว clotting factors สร้างน้ำดี bile เพื่อย่อยอาหารและดูดซึมวิตามินที่ละลายในน้ำมัน fat soluble vitamin ผู้ป่วยที่เป็นตับแข็ง เนื้อตับจะถูกทำลายจะมีพังผืดแทรกและเบียดเนื้อตับที่ดีทำให้เลือดไปที่ตับน้อยลง
 
 
 
 
โรคตับ ตับแข็ง โรคตับแข็ง ตับเรื้อรัง ตับอักเสบ อาการ โรคตับอักเสบ การรักษา โรคตับ การป้องกัน โรคตับอักเสบ มะเร็งตับ สาเหตุ
 
     ตับแข็ง เกิดจากหลายสาเหตุ ในประเทศไทยโดยมากเกิดจาก สุรา ไวรัสตับอักเสบ บี่
 

1. Alcoholic cirrhosis ตับแข็งที่เกิดจากสุรามักเกิดหลังจากที่ได้ดื่มสุราเป็นปริมาณมากมาในระยะเสลาหนึ่ง ปริมาณที่ดื่มขึ้นกับแต่ละบุคคล ผู้หญิงจะเกิดตับแข็งได้ง่ายกว่าผู้ชาย ผู้หญิงอาจจะดื่มเพียง 2-3 แก้วต่อวันก็ทำให้เกิดตับแข็ง ผู้ชายดื่ม 4-6 แก้วต่อวันก็สามารถทำให้เกิดตับแข็ง เชื่อว่าสุราทำให้การสันดาปของโปรตีน ไขมัน และ แป้งผิดไป

2. Chronic hepatitis B,D ไวรัสตับอักเสบทำให้เกิดอักเสบของตับเป็นเป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะมีตับแข็ง

3. Chrinic hepatitis C เริ่มพบมากขึ้นทั่วโรคตับมีการอักเสบอย่างช้าก่อนเป็นตับแข็ง

4. Autoimmune hepatitis เกิดจากโรคที่ภูมิคุ้มกันมีการทำลายเนื้อตับ

5. Inherited diseases โรคกรรมพันธุ์บางโรคทำให้เกิดตับแข็ง เช่น hemochromatosis, Wilson’s disease, galactosemia,

6. Nonalcoholic steatohepatitis (NASH) มีการสร้างไขมันในตับเพิ่มทำให้กลายเป็นตับแข็ง เช่นผู้ป่วยเบาหวาน คนอ้วน

7. Blocked bile ducts มีการอุดกั้นของทางเดินน้ำดี เช่นนิ่วของถุงน้ำดีถ้าหากอุดนานๆทำให้เกิดตับแข็ง

8. ยา และสารพิษ หากไดัรับติดต่อกันเป็นเวลานานก็ทำให้เกิดตับแข็ง

 
อาการ
 

ผู้ป่วยตับแข็งในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการ เมื่อตับเป็นมากขึ้นเรื่อยๆจึงเกิดอาการของตับแข็งได้แก่

  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • เหนื่อยง่าย
  • คลื่นไส้
  • น้ำหนักลด

ถ้าหากโรคเป็นมากขึ้นผู้ป่วยบางรายอาจมาด้วยอาการของโรคแทรกซ้อน

 
โรคแทรกซ้อนของ โรคตับแข็ง
 
  • บวมหลังเท้า และท้องเนื่องจากตับไม่สามารถสร้างไข่ขาว
  • เลือดออกง่าย เนื่องจากตับไม่สามารถสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว
  • ตัวเหลืองและตาเหลือง เนื่องจากตับไม่สามารถขับน้ำดี
  • คันตามตัวเนื่องจากน้ำดีสะสมตามผิวหนัง
  • นิ่วในถุงน้ำดี
  • สูญเสียความสามารถเกี่ยวกับความจำ สติ เนื่องจากการคั่งของๆเสีย
  • ไวต่อยา การให้ยาในผู้ป่วยตับแข็งต้องระวังการเกิดยาเกินขนาดเนื่องจากตับไม่สามารถทำลายยา แม้ว่าจะให้ยาขนาดปกติ ยาบางชนิดอาจต้องลดปริมาณยา
  • อาเจียนเป็นเลือดเนื่องจากตับแข็ง จะทำให้ความดันในตับสูงส่งผลให้หลอดเลือดดำในหลอดอาหารมีความดันสูง และถ้าสูงมากเกิดการแตกของหลอดเลือดดำ
การวินิจฉัย
 
     แพทย์จะซักประวัติหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดตับแข็งและตรวจร่างเพื่อหาสิ่งแสดงว่าเป็นตับแข็งหรือไม่ เช่น ตัวเหลืองตาเหลือง ท้อง และเท้าบวม ฝ่ามือแดง palma erythema มีจุดแดง spider telangiectasia ตามตัวหรือไม่ คลำตับพบว่าผิวแข็งขรุขระ ขอบไม่เรียบ

     การตรวจทางห้องปฏิบัติการ แพทย์จะเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับความผิดปกติที่อาจพบได้คือ ไข่ขาวต่ำ มีการคั่งของน้ำดี bilirubin บางรายอาจตรวจ ultrasound หรือเจาะเนื้อตับ

 
โรคตับ ตับแข็ง โรคตับแข็ง ตับเรื้อรัง ตับอักเสบ อาการ โรคตับอักเสบ การรักษา โรคตับ การป้องกัน โรคตับอักเสบ มะเร็งตับ การรักษา
 

1. รักษาสาเหตุ ขึ้นกับว่าต้นเหตุเกิดจากอะไรก็รักษาไปตามสาเหตุ เช่นถ้าเกิดจากสุราก็ให้หยุดสุรา เกิดจากยาก็ให้หยุดยา เกิดจากไวรัสก็ให้ยาบางชนิด โรคตับแข็งรักษาให้หายขาดไม่ได้แต่สามารถชะลอหรือหยุดการดำเนินของโรค

2. รักษาโรคแทรกซ้อน

  • ท้องมานและบวมหลังเท้า แนะนำให้ลดอาหารเค็ม และจะให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดบวม
  • คันตามผิวหนัง ให้ลดอาหารพวกโปรตีน และให้ยาแก้แพ้
  • ลดของเสีย แพทย์จะให้ยาระบายเพื่อลดของเสียที่อยู่ในลำไส้ซึ่งจะถูกดูดซึมหากมีมากในลำไส้
 
โรคตับ ตับแข็ง โรคตับแข็ง ตับเรื้อรัง ตับอักเสบ อาการ โรคตับอักเสบ การรักษา โรคตับ การป้องกัน โรคตับอักเสบ มะเร็งตับ การป้ิองกัน
 
     มีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในเอกสารทางวิชาการว่า การใช้ Probiotic สามารถที่จะช่วยรักษาสมดุลย์ของจุลินทรีย์และระบบภูมิคุ้มกันในผนังลำไส้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็งได้ ซึ่งจะสามารถป้องกันอาการแทรกซ้อนซึ่งเกิดจาการเป็นตับแข็งได้ โดย Probiotic โดยเฉพาะสายพันธุ์ Lactobacilli จะช่วยเพิ่มเพิ่ม Killer cells และ T lymphocytes ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งผลให้ผู้ป่วยตับแข็งมีภูมิคุ้มกันดีขึ้น ไม่ติดเชื้อง่าย ป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยตับแข็งได้ด้วย
 
คำสำคัญ (Tags): #โรค
หมายเลขบันทึก: 337152เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2010 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท