เทียนขาว
นาง เพ็ญทิวา เพ็ญทิวา สารบุตร

นโยบายสุขศึกษา



นโยบายงานสุขศึกษาประชาสัมพันธ์
สอ.โคกเพชร (ฉบับเผื่อแผ่)

               การจัดทำนโยบายสุขศึกษาของสถานีอนามัยบ้านโคกเพชร คงเริ่มจาก ปี 2551 ที่ผ่านมา  ได้มีการประชุมร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาสถานีอนามัย  ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่าย  ได้แก่  คณะครูอาจารย์จาก 6 โรงเรียนในตำบลโคกเพชร สมาชิก อสม.   สมาชิก อบต.  เครือข่ายจากภาคประชาชนโดยการดำเนินการร่วมกับการประชาคมหมู่บ้านทั้ง 11 หมู่  และพ่อค้า คหบดี  หลายๆท่าน  ได้ร่วมกันสร้างนโยบายสุขศึกษาร่วมกับสถานีอนามัยบ้านโคกเพชร และจากนโยบายดังกล่าว  ส่งผลให้สถานีอนามัยมีการดำเนินการหลายอย่างด้วยกัน  เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพคนในชุมชนมาโดยตลอด  จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันหลายๆครั้ง  จึงได้ นโยบายสุขศึกษาของสถานีอนามัย  ดังนี้

                     นโยบายงานสุขศึกษาของสถานีอนามัยบ้านโคกเพชร

         " สถานีอนามัยบ้านโคกเพชร มุ่งเน้น การให้สุขศึกษาแก่ประชาชน เพื่อจะช่วยให้บุคคลเกิดความตระหนัก เกิดความสนใจเกี่ยวกับสุขภาพ พร้อมทั้งกระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ โดยเน้น ให้ประชาชนเกิดความรู้ เกิดความเข้าใจ เกิดทัศนคติที่ถูกต้อง นำสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องและมีความเหมาะสม จนสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข"

 

วิสัยทัศน์งานสุขศึกษา

"พัฒนางานสุขศึกษาที่มีคุณภาพ มุ่งประสิทธิผล ได้มาตรฐาน

มุ่งเน้นให้ประชาชนตำบลโคกเพชรมีสุขภาพดี"

 

พันธกิจงานสุขศึกษา

1. สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่มีคุณภาพแก่ประชาชน

2.ให้ความรู้สุขภาพที่มีมาตรฐาน

3.ให้บริการผสมผสาน แบบมีส่วนร่วม

4. พัฒนาระบบงานและฐานข้อมูลสื่อสุขศึกษาอย่างต่อเนื่อง

5. สร้างงานวิจัย พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ

6.สร้างเครือข่ายการพัฒนาตนเองด้านสุขภาพ

 

ค่านิยม

Focus on customer ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง

Improvement พัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

Teamwork ทำงานเป็นทีม

 

เงื่อนไขนโยบายสุขศึกษาและพัฒนา พฤติกรรมสุขภาพตำบลโคกเพชร

1.จัดทำนโยบายงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรม สุขภาพและประกาศให้บุคลากรทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่นและประชาชนได้รับรู้โดยทั่วกัน

2.สนับสนุนงบประมาณในการดำเนิน งานสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพอย่างพอเพียงและส่งเสริมให้บุคลากรที่เกี่ยว ข้องกับการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

3.ดำเนินการจัดทำ ฐานข้อมูลด้านสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ ฐานข้อมูลด้านสื่อ และฐานข้อมูลด้านเครือข่ายให้เป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับพื้นที่และวิถีชุมชน

4.จัด ทำแผนการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้สอดคล้องกับปัญหาสาธารณ สุขในพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาพรัฐ เอกชน ท้องถิ่น และภาคประชาชน

5.ให้มีการจัดกิจกรรมสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพใน สถานบริการและชุมชน ตามปัญหาสาธารณสุข

6.ให้มีการนิเทศงานสุขศึกษาและ พัฒนาพฤติกรรมสุขภาพแก่แกนนำสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

7.ให้มีการประเมินผล การดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

8.ดำเนิน การเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงและปัญหาด้านสุขภาพ ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลบ้านบึง

9.จัดทำการวิจัยในงานสุขศึกษา / นำเสนอผลงานเด่น อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรในสถานีอนามัย

1. งานพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพในการรักษาพยาบาล

งานบริการ โดยใช้กระบวนการทางพฤติกรรมศาสตร์ในการรักษาพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วย เพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองขณะเจ็บป่วย เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนและป้องกันการป่วยกลับซ้ำได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องทำแผลเป็นระยะเวลานาน เช่น แผลจากโรคเบาหวาน แผลจากอุบัติเหตุ การให้บริการด้านแพทย์แผนไทย เป็นต้น

2. งานปรับพฤติกรรมสุขภาพและวิถีชีวิต

งานบริการ โดยใช้กระบวนการทางพฤติกรรมศาสตร์เพื่อปรับพฤติกรรมสุขภาพและวิถีชีวิตของ ผู้ป่วยและญาติในด้าน กาย จิตใจ เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เช่น การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยจิตเวช เป็นต้น

3.งานส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

งานบริการ โดยใช้กระบวนการพฤติกรรมศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้บุคคลมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ และมาใช้บริการของสถานีอนามัยได้อย่างเหมาะสม เช่น โรคอ้วน โรควิตกกังวล โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น

4. งานพัฒนาระบบบริการสุขศึกษา

การประยุกต์ กระบวนการทางพฤติกรรมศาสตร์เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขศึกษา ระบบประเมินผล และระบบการเฝ้าระวังพฤติกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การออกเยี่ยมประชาชนกลุ่มเสี่ยงบ่อยๆ การออกติดตามให้กำลังผู้ป่วยเรื้อรัง การออกคัดกรองความเสี่ยงโรคต่างๆ (เบาหวาน ความดัน โรคซึมเศร้า ) เป็นต้น

 (อาจจะยังไม่ได้ดั่งใจ  ต้องปรับปรุงและพัฒนาต่อไป ขอบคุณมากนะคะ)

   16 ก.พ.2553

หมายเลขบันทึก: 337110เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2010 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ทำไมงานสาธารณสุขถึงได้มากมายอย่างนี้ก็ไม่รู้ เหนือยจังเลย

เห็นด้วย...ขอจงสู้ต่อไป....ด้วยพลังใจจิตอาสาเพื่อพี่น้องประชาชน...น่ะ นินจาฮาโตริ....เป็นกำลังใจให้เสมอ

       สวัสดีครับ

  • ผมมาเยี่ยม มาทักทาย
  • มาให้กำลังใจ กัลยาณมิตร  G2K
  • สู้ๆๆๆ
  • โชคดีมีสุขนะครับ

ทำได้ดี ครับผม เป็นกำลงัจัยให้คับ ๖๐ ขอนแก่น คับผม

สำหรับงานสุขศึกษา มีฉบับใหม่ล่าสุดนะคะ ที่จัดไว้ครอบ 10 องคืประกอบ แต่ว่ายังไม่แล้วเสร็จ ตั้งแต่องค์ที่ 1 ถึง องค์ที่ 10 เอาไว้ถ้าพอมีเวลา จะนำขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนอีกครั้งหนึ่งนะคะ ขอบคุณที่ติดตามและเป็นกำลังใจคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท