มหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ กิจกรรมด้านสุขศึกษา_____มหาวิทยาลัยขอนแก่น


คณะอนุกรรมการฝ่ายกิจกรรมด้านสุขศึกษา

เรียน ท่านอนุกรรมการทุกท่าน  เพื่อโปรดให้ความเห็น  ข้อเสนอแนะ และทัศนะ เพื่อปรับแผนปฏิบัติการครับ

 

แผนปฏิบัติการโครงการพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ  มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

ฝ่ายกิจกรรมด้านสุขศึกษา

ตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์

(2)  ด้านการส่งเสริมการออกกำลังกาย  โดยจะมีแผนที่สถานที่ออกกำลังกาย  และเวลาที่เหมาะสมในการออกกำลังกายในแต่ละชนิดกีฬา  มีจำนวนผู้ออกกำลังกาย  เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด  ประชากรในมหาวิทยาลัยมีสมรรถภาพทางกายอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 80 และมีค่าดัชนีมวลกาย(Body Mass Index :  BMI) ที่เกินมาตรฐาน “ท้วม” (Preobese) ลดลงร้อยละ 10

 

(3)  ด้านการมีโภชนาการที่ดี  รับประทานอาหารปลอดภัย มีประโยชน์ โดยร้านอาหารภายในมหาวิทยาลัยต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 80 (Clean Food Good Taste)

 

 (9)  ด้านการสร้างบรรยากาศและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  โดยมีบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยเอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีขึ้น ทั้งด้านกายภาพและทางสังคม มหาวิทยาลัย/คณะ/ศูนย์/สถาบัน/สำนัก/หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อม  ร้อยละ 80 , สภาพทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยที่ดี,นักศึกษาหอพักมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมหอพักอย่างน้อยปีละครั้ง/หอพัก

หมายเลขบันทึก: 336975เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2010 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แผนปฏิบัติการโครงการพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฝ่ายกิจกรรมด้านสุขศึกษา

1.ด้านการสร้างบรรยากาศและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

แผนงาน การสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ

ตัวชี้วัด - สิ่งแวดล้อมด้านกายภาพได้รับการพัฒนาให้เอื้อต่อการสร้างสุขภาพ

- ประชากร มข. มีส่วนร่วม (นักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ผู้พักอาศัย)

- มีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย/ บรรยากาศผ่อนคลาย

ค่าเป้าหมาย - สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน (ร้อยละ 80 ขององค์กร)

- สร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาพ

- พิทักสิทธิ์ประชากร

- ปรับบริการพื้นฐานและปรับบริการขององค์กรที่รับผิดชอบร่วม เช่น เทศบาลที่เก็บขยะไปทำลาย ต้องแยกขยะเช่นกัน

เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ไปเก็บขยะ

กลยุทธ์ 1. (Green Clean Area/ Zoning) (ประชากร มข. ร่วมสร้างพื้นที่สีเขียว ลดโลกร้อน/ฟอกปอด/ เพิ่มพื้นที่ออกกำลัง

กาย / ปฏิบัติธรรม /พักผ่อนระหว่างเรียนหรือทำงาน/นันทนาการ / ไม่เป็นที่ซ่องสุม/ แสงสว่าง เพียงพอ/ ไม่มีหลุม ฝุ่น)

1.1 สำรวจพื้นที่ ผู้เกี่ยวข้อง กฎระเบียบ และมาตรการที่มีอยู่

1.2 ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง สร้างความเข้าใจ เสริมความตระหนัก ขยายเครือข่าย (ผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา ผู้อาศัย)

1.3 กันพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์ เพิ่มจำนวนสวนหย่อม/ต้นไม้ริมทาง / เพิ่มที่นั่งพักใต้ร่มไม้ ตามคณะ และหอพัก/ รอบสวน

สาธารณะ เช่น สวนร่มเกล้าฯ / ลู่เดินวิ่งหน้าตึกอธิการบดี/รอบศูนย์ประชุมฯ / สระพลาสติก

1.4 กำหนดเขตปลอดบุหรี่ ในอาคาร และรอบอาคาร 50 เมตร เช่น ที่ทำงาน ที่เรียน หอพักและที่อยู่อาศัยอื่น

(ทำร่วม กับโครงการบำบัดบุหรี่)

1.5 กำหนดถนนคนเดิน/ โซนปลอดควันรถ ลดมลพิษในมข. (ช่องปั่นจักรยาน/พื้นที่จอดรถและปลอดภัย)

งบประมาณ 2 แสนบาท

ผู้รับผิดชอบ

- ฝ่ายกายภาพ

- ทุกคณะ รองฯบริหาร นายกสโมสร นศ.

- ประธานชมรม/ชุมนุม

- ประธานหอพัก

2. Waste management (จัดการของเสีย/พาหะนำโรค)

2.1 จัดการขยะอย่างปลอดภัย (Reduceรณรงค์ให้ใช้วัสดุธรรมชาติ ภาชนะที่ล้างได้ ลดใช้โฟม/พลาสติก /Coding ถัง

ขยะ/คัดแยกขยะ/Reuse/ Recycle) ผลิตวัสดุทดแทนที่ปลอดภัย คนเก็บขยะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกัน

2.2 การกำจัดและควบคุมสัตว์พาหะนำโรค แมลงวัน แมลงสาบ หนู สุนัข

2.3 ส้วมสะอาดและปลอดภัย (ที่ complex/ โรงอาหารอื่น/ คณะต่างๆ/ หอพัก)

2.4 การจัดการน้ำเสีย /ล้างท่อน้ำเสียที่อุดตัน

2.5 ปรับปรุงหอพักให้น่าอยู่ (Big cleaning day )

งบประมาณ 2 แสนบาท

ผู้รับผิดชอบ - ฝ่ายกายภาพ

- ทุกคณะ รองบริหาร นายกสโมสร

- ประธานชมรม/ชุมนุม

- ประธานหอพัก

- คณะสาธารณสุข ศาสตร์ / วิศวกรรมศาสตร์ให้ความรู้

2. ด้านการส่งเสริมการออกกำลังกาย

แผนงาน การส่งเสริมการออกกำลังกาย

ตัวชี้วัด 1. มีแผนที่สถานที่ออกกำลังกาย 2.จำนวนชนิดกีฬา 3. จำนวนผู้ออกกำลังกาย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20

4. ประชากร มข. มีสมรรถภาพทางกายอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 80 5. BMI ได้มาตรฐาน ลดลง 10%

6. นักศึกษาหอพักมีส่วนร่วมในการพัฒนาหอพักอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี

ค่าเป้าหมาย - ระบบเฝ้าระวังและการจัดการความเสี่ยง (BMI ได้มาตรฐาน การทำงานของอวัยวะดี)

- พิทักสิทธิ์ประชากร มีความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการพื้นฐาน

- บริการพื้นฐาน มีคุณภาพใกล้ตัว ใกล้ใจ

- พัฒนาศักยภาพบุคคล ส่งเสริมจิตอาสา

กลยุทธ์ 1. Create health promoting activities (มข. ร่วมใจใส่ใจสุขภาพผ่านการออกกำลังกาย)

1.1 พัฒนาฐานข้อมูลสุขภาพประชากร มข.

รวบรวมข้อมูลประชากร มข.

ตรวจสมรรถภาพร่างกาย /BMI

จัดทำสมุด/บันทึกการออกกำลังกาย

ทำแผนที่สถานที่ออกกำลังกาย/สนามกีฬา ทั้งในอาคารและนอกอาคาร

รวบรวมข้อมูลชนิดกีฬาที่มีอยู่ใน มข.

1.2 ปรับปรุงและเพิ่มที่ออกกำลังกายให้ปลอดภัย สะดวก เข้าถึงง่าย ประหยัด ทั้งสนามกลางแจ้งและในอาคาร จัดสวัสดิการราคาถูก

นักศึกษามีงบจากค่าธรรมเนียมการศึกษามาช่วย จ้างงาน นักศึกษาดูแล มีผู้ให้ความรู้ ที่อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า

1.3) Show & Shareรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การจัดนิทรรศการ เสวนา ให้ความรู้ สร้างความตระหนัก สร้างเครือข่ายการส่งเสริมสุขภาพ โดยกำหนดวันออกกำลังกายร่วมกันทุกสัปดาห์ ผลัดเปลี่ยนคณะ ชุมนุม หอพัก เป็นเจ้าภาพ บริการอาหารมีประโยชน์ ปลอดภัย ตรวจสุขภาพ แนะนำ บำบัดทางเลือก

1.4) ให้ความรู้ด้านการออกกำลังกาย (KKU channel, FM)

งบประมาณ 2.5 แสนบาท

ผู้รับผิดชอบ - ฝ่ายกายภาพ

- งานกีฬา

- ทุกคณะ รองบริหาร รองพัฒนานักศึกษา นายกสโมสร

- ประธานชุมนุม/ ชมรมกีฬา

- ประธานหอพัก

3. ด้านโภชนาการที่ดี

แผนงาน ด้านการมีโภชนาการที่ดี รับประทานอาหารปลอดภัย มีประโยชน์

ตัวชี้วัด - มีร้านอาหารภายในมหาวิทยาลัยที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 80 (Clean Food Good Taste Safe Life)

- ผู้บริโภคปลอดภัย ไม่ท้องร่วง BMI ปกติ ไม่ซีด ไม่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ไม่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ

ค่าเป้าหมาย - ระบบเฝ้าระวังและการจัดการความเสี่ยง (BMI ได้มาตรฐาน การทำงานของอวัยวะดี)

- พิทักสิทธิ์ประชากร มีความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการพื้นฐาน

- บริการพื้นฐาน มีคุณภาพใกล้ตัว ใกล้ใจ

- สร้างจิตอาสา ชุมชน/ มีส่วนร่วม

- ส่งเสริมการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน

- สร้างนวัตกรรม สร้างคน สร้างองค์ความรู้ สร้างสรรค์สังคม

กลยุทธ์ 1. Healthy food (ประชากร มข เข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย)

1.1 จัดหาร้านค้าที่ได้มาตรฐานมาจำหน่าย

- วิเคราะห์สถานการณ์มาตรฐานอาหารที่มีอยู่

- ทำฐานข้อมูลร้านอาหาร

1.2 กำหนดมาตรฐานร้านอาหารปลอดภัย

-Focus group ผู้ประกอบการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- สร้างเครือข่าย(Network) ด้านอาหารปลอดภัย

- การตรวจสุขภาพแม่ค้า

- ยกย่องเชิดชู/ประกาศเกียรติคุณร้านอาหารปลอดภัย

- ควบคุมการปรุงอาหารให้ปลอดภัย

1.3 สร้างค่านิยมการบริโภคปลอดภัย

- ส่งเสริมร้านค้าปรุงอาหารจากวัตถุดิบที่ปลอดภัย (ผัก / ผลไม้ / เนื้อสัตว์ที่ปลอดภัยปราศจากสารพิษ)

- มข. เป็นแนวหน้าสร้างพื้นที่ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ที่ปราศจากสารพิษ หรือ ฮอร์โมนตกค้าง ส่งร้านอาหารใน มข. และให้ประชากรซื้อไปบริโภค

- ตรวจสุขภาพคนขาย สุ่มตรวจอาหาร ออกใบประกาศให้ร้านที่ผู้ประกอบการ อาหารปลอดภัย สิ่งแวดล้อมดี

- มหาวิทยาลัยสนับสนุนให้ใช้ /จัดหา พาชนะที่ปลอดภัยให้ ไม่เคลือบสารตะกั่ว/ พลาสติก

- สร้างบรรยากาศร้านอาหารที่ผ่อนคลาย ลดเสียง แสง ความร้อน มีที่ล้างมือ ห้องน้ำสะอาด

1.4 โครงการปรับพฤติกรรมการบริโภค

- ชีวิตนักศึกษาวนเวียนกับซุปเปอร์มาร์เก็ต ต้องส่งเสริมให้ร้านค้ามีอาหารจำหน่ายที่ปลอดภัย มีประโยชน์ เช่น มีสลัดบาร์ มีผลไม้

- รณรงค์ลดการบริโภคเนื้อสัตว์

- ลดการบริโภคอาหารขยะ (Junk Food)

- ลดการบริโภคอาหารเค็ม เผ็ด หวาน มัน งดอาหารดิบ หรือสุกๆดิบๆ

- ส่งเสริมการรับประทานอาหารเช้า ลดอาหารรอบดึก

1.5 สร้างเครือค่ายคุ้มครองผู้บริโภค

- รับสมัคร อบรม ปฏิบัติ รายงานผล ประชุมต่อเนื่อง ในกลุ่มอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค

- Hot line แจ้งข่าวการบริโภคที่ถูกเอาเปรียบ ไม่ได้มาตรฐานและปัญหาสุขภาพ จากการบริโภค

- บริการให้คำปรึกษา

งบประมาณ 2.5 แสนบาท

ผู้รับผิดชอบ - งานทรัพย์สิน

- ทุกคณะ รองบริหาร

- ประธานชมรมคุ้มครองผู้บริโภค

- ประธานหอพัก

- คณะสาธารณสุข ศาสตร์ / เทคโนโลยีอาหาร/ คณะพยาบาลศาสตร์ ให้ความรู้

เรียน กรรมการในฝ่ายกิจกรรมด้านสุขศึกษา ที่เคารพทุกๆท่าน

ตามที่มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งทุกท่านเป็นอนุกรรมการฯ ทั้งนี้ ได้มีการประชุมปรึกษาหารือ และร่างแผนปฏิบัติการฯ โดยมีการยกร่างขึ้นเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 53 โดยประธานฯและทีมเลขานุการ ภายใต้กรอบตัวชี้วัดที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นกำหนดไว้ และได้นำเข้าหารือกับคณะอนุกรรมการในฝ่ายฯเรา เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 53 จากนั้น ท่านประธานฯ(รศ.ดร.สมจิต แดนสีแก้ว) ได้ปรับตามข้อเสนอในที่ประชุม และจะได้นำเสนอต่อที่ประชุมกรรมการอำนวยการในการสัมมนาในวันที่ 18 ก.พ. ที่จะถึงนี้

ในโอกาสนี้ ใคร่ขอความอนุเคราะห์จากอนุกรรมการทุกท่าน ได้ให้ข้อเสนอแนะ โดยส่งกลับทางอีเมลล์นี้ หรือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ที่บล็อคนี้ ครับ

ด้วยความเคารพ

ยอด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท