ThaiCCM: บันทึกวันวาเลนไทน์ ใจ vs ระบบ


การมีใจ เป็นจุดเริ่มต้น แต่จะยั่งยืนได้เมื่อมีระบบ

วันที่ 14 กุมภานี้เป็นทั้งวันวาเลนไทน์และตรุษจีน..   บ่ายวันดีนี้ มีการสัมภาษณ์ความเห็นครูหยุย-วัลลภ ตังคนานุรักษ์  ต่อกรณี บ้านครูน้อยมีประโยคที่น่าคิดว่าเรื่องใจของครูน้อยมีเต็มร้อย แต่สิ่งที่ขาดคือระบบบริหารจัดการ...โดยเฉพาะบัญชี การเงิน

ระบบ คืออะไร.. ผลรวมของหน่วยย่อยซึ่งทำงานเป็นอิสระต่อกัน แต่มีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อช่วยให้งานนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ (ชัยยงค์ พรหมวงศ์,2520)
ซึ่งทำให้ฉันนึกถึงบทความอาจารย์สกล เรื่ององค์กรไม่ใช่เครื่องจักร แต่ต้องการความรักและกำลังใจ ที่กล่าวถึง ระบบสายพาน-fordism

    กระตุกให้ทบทวนถึง ประสบการณ์เมื่อครั้งทำงานวิจัยการประเมินการดูแลโรคเรื้อรัง ด้วย Assesment of Chronic Illness Care(ACIC) ฉบับภาษาไทย  ตัว ACIC นี้เป็นแบบสอบถามที่ล้อตาม concept Chronic Care Model(CCM)  ของกลุ่มนักวิจัยอเมริกา นำโดย Dr.Edward Wagner...แม้ Model นี้จะน่าประทับใจในการนำ Evidence based มาสร้างให้เป็นเสมือนโลโก้จำง่าย มีการนำไปเผยแพร่ในหลายชาติ (แม้กระทั่งจีน) แต่การนำมาประยุกต์ให้เป็นแบบสอบถามที่คนทำงานในบริบทไทยเข้าใจได้ ไม่ง่ายเลย..


ภาพ:http://www.improvingchroniccare.org/index.php?p=The_Chronic_Care_Model&s=2

   ยกตัวอย่าง ACIC หัวข้อ " Organization of health care" ประเมินว่าหน่วยบริการสุขภาพที่ดี ควรสามารถกำหนดวิสัย พันธกิจ ระบบบริหาร ของตนเอง..แต่ หน่วยบริการสุขภาพในบ้านเรา เป็นการรับนโยบายจากส่วนกลาง คะแนนที่ได้จากการ survey ในหัวข้อนี้จึงค่อนข้างต่ำ แต่คงสรุปไม่ได้ว่าใครดีไปกว่าใคร
  หัวข้อ "Self management support" ได้รับคะแนนต่ำสุด อาจเป็นเพราะ ACIC เชื่อมั่นเรื่องของการจัดระบบ ให้เป็น Multidisplinary แต่มีความ "Specialist-specific job description"
   ขณะที่เมื่อทำกิจกรรมกลุ่ม พบว่าสิ่งสำคัญที่ขับเคลื่อนคนทำงานปฐมภูมิของเรา คือคำว่า "ทำงานด้วยใจ" ที่เชื่อมโยงไปในมิติความสัมพันธ์ ความปิติ ระหว่างผู้ให้กับผู้รับบริการ เรียกว่า "ใจสำคัญกว่าเพราะเปลี่ยนระบบลำบาก"

   เรื่องนี้ อาจารย์แพทย์ท่านหนึ่งซึ่งเป็นอเมริกัน แต่ได้ทำงานในประเทศไทยมาเกือบ 10 ปี ให้ทรรศนะไว้ว่า  คนอเมริกัน ทำงานแบบ "Task oriented" ขณะที่คนไทย ทำงานแบบ "Relationship oriented" ยากที่จะบอกว่าแบบไหนดีกว่ากัน 

   ย้อนกลับมา ที่ครูน้อย..ฉันมองภาพหญิงชรา หยิบเงินใส่มือ เด็กๆ ที่มารอรับเงินไปโรงเรียน..เด็กเหล่านั้นจะรับรู้ และกลับมาช่วยเหลือได้หรือไม่กับสภาพปัญหาการเงินหนักหน่วงที่ครูน้อยรับอยู่..ความปิติสุขของการเป็นผู้ให้ กับความทุกข์ของการเป็นหนี้ อย่างไหนจะมากกว่ากัน ..หากวันหนึ่งที่ไร้ครูน้อย จะมีสักกี่คนที่ทำได้อย่างท่าน
   การให้ดูแลผู้ป่วยด้วยใจ..นับเป็นสิ่งดี เพราะ การทำงานด้วยระบบแบบไร้หัวใจ ก็ไม่ต่างอะไรกับหุ่นยนต์ แต่ การทำงานด้วยหัวใจแบบไร้ระบบ งานขึ้นกับตัวบุคคลเพียงอย่างเดียว ก็ยากที่จะยั่งยืน.. 

คำสำคัญ (Tags): #system#passion
หมายเลขบันทึก: 336558เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2010 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีค่ะ
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ และมีความสุขกับทุก ๆ วันนะค่ะ

  • สมัยทำกิจกรรมสโมสรนักศึกษา มีเพื่อนผมคนหนึ่งพูดในที่ประชุมว่า " ไม่สำคัญหรอกว่าเราจะทำงานอะไร ยากแค่ใหน มันสำคัญว่าเราทำงานนั้นกับใครมากกว่า " แรกๆผมไม่ค่อยเชื่อ เดี๋ยวนี้เชื่อสนิทเลยครับ

    มีคนรู้ใจแล้วหรือนี้.....แล้ววันนี้ได้ดอกไม้สีอะไรครับ

    คุณหมอสีอิฐ จริงคะว่า ทำงานกับใคร มีความสำึคัญ แต่เสียดายที่ เรามักเลือก ที่จะทำงานกับใคร ไม่ได้ ..

    พี่โรจน์ คงสีเหมือนๆ กับ ที่พี่โรจน์ให้คนพิเศษคะ จริงๆ อยากได้ดอก ร้อยละยี่ มากกว่า อิๆ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท