ศาสตร์แห่งการตีความในงานวิจัยเชิงคุณภาพ


การตีความในงานวิจัยเชิงคุณภาพ

ดร.อุทัย  ดุลยเกษม  อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร บรรยายเรื่อง "ศาสตร์แห่งการตีความในการวิจัยเชิงคุณภาพ เมื่อ วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องประชุม 1507 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยบรรยายให้กับนักศึกษาปริญญาโท-เอก คณาจารย์ และผู้สนใจ เห็นว่าเนื้อหาที่บรรยายเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจในแนวคิดการวิจัยเชิงคุณภาพ จึงนำเนื้อหาส่วนหนึ่งที่สรุปได้ ดังนี้

1. ศาสตร์แห่งการตีความ

การวิจัยมีการเรียกชื่อที่หลากหลายการเรียกชื่อวิจัยเอาการออกแบบมาเรียกชื่อวิจัย เมื่อมีการวิจัย ก็เรียกว่าการวิจัยแบบทดลอง  ประวัติศาสตร์ เอาอายุการวิจัยมาเรียก การวิจัยแบบสำรวจ เอาวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมาเรียกชื่อการวิจัย  การวิจัยเหล่านี้เรียกชื่อกันหลากหลาย ทำให้สับสน การวิจัยที่จริงมี 2 ประเภทเท่านั้น คือ

1. การวิจัยที่ตั้งโจทย์การวิจัย เพื่อหาคำตอบที่เป็นรายละเอียดในแง่มุมต่าง ๆ ของเรื่องที่ศึกษาวิจัย อาจเรียกงานวิจัยประเภทนี้ว่า การวิจัยแบบพรรณนา ก็ได้ เพราะเป็นการมุ่งพรรณนารายละเอียด เพราะเราต้องการรู้รายละเอียดทั้งหลายของปรากฎการณ์  เช่น ทัศนคติที่มีต่อสาธิต ม.ดินแดง  ใช้สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ไม่มีตัวแปรเข้ามากเกี่ยวข้องเลย เพราะเป็นการทำงานวิจัยที่ต้องการทราบรายละเอียดเท่านั้น เช่น ต้องการรู้สถานการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างไร ก็ระบุรายละเอียด คนตายเท่าไหร่  หญิงชาย ฯลฯ

2. การวิจัยที่ตั้งโจทย์การวิจัยเพื่อหาเหตุผลหรือหาเหตุปัจจัยที่สามารถอธิบายได้อย่างมีพลังว่าสิ่งที่เรากำลังศึกษาวิจัยนั้นมันเป็นอย่างที่มันเป็นได้เพราะเหตุใด  เช่น ถามว่า ทำไมความขัดแย้งใน 4 จชต. มันเกิดขึ้นและต่อเนื่องยาวนานมาเพราะอะไร การหาคำตอบก็ต้องซับซ้อนขึ้น การทำวิจัยแบบนี้ต้องการรู้ว่าสาเหตุมาจากอะไร การวิจัยต้องหาหลักฐานและวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของมันที่แท้จริง ทำไมเกิดสันติอโศก  ทำไม.....การตอบทั้งหมดต้องมีกระบวนการ รอบคอบ 

การวิจัยที่แท้จริง คือ การตั้งโจทย์คำถาม ในสิ่งที่อยากรู้ และดำเนินการตามวิธีการหรือกระบวนการที่สอดคล้องกับโจทย์คำถามเพื่อให้ได้คำตอบในสิ่งที่อยากรู้นั้นเอง

สิ่งที่อยากรู้เป็นเรื่องอะไรก็ได้

แต่สิ่งที่อยากรู้เรียกว่า ปรากฏการณ์ (Phenomena) ซึ่งมีอยู่มากมาย ในโลกนี้มี 2 ประเภท คือ

-          ปรากฏการณ์ธรรมชาติ

-          ปรากฏการณ์ทางสังคม ได้แก่ การย้ายถิ่น สงคราม การเดินขบวน  ฯลฯ

มีบางอย่างที่ผสมผสานกัน เช่น กรณีบั้งไฟพญานาค ปรากฎการณ์ทางสังคมมันมีมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะผู้กระทำ แต่ปรากฎการณ์ธรรมชาติ มนุษย์เป็นผู้ถูกกระทำ 

          การวิจัยที่เข้ามาในเมืองไทย พร้อมกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ทำให้เราเข้าใจผิดว่าต้องใช้สถิติ เพียงแต่ใช้สถิติเพื่อยืนยัน ทำให้เราเข้าใจสับสนว่า อะไรที่ใกล้ 100 นั้นใกล้จริง  และเอาความถี่มาเป็นหลัก ยึดได้เพียงบางส่วน อย่างยึดเป็นหลัก การวิจัยปรากฎการณ์ทางสังคมซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในฐานะผู้ถูกกระทำ พึงคำนึงว่า

  1. มนุษย์มีความจำ
  2. มนุษย์มีระบบคุณค่าที่ยึด จะเอาระบบคุณค่าของคนภาคกลางมาอธิบายคนภาคอีสานไม่ได้
  3. มนุษย์ให้ความสำคัญกับ Perception (สิ่งที่มองเห็นกับตา) มากกว่า Reality (สิ่งที่จริงแท้)  สิ่งที่เป็นจริงมนุษย์จะไม่บอก เราจะได้เห็นแต่สิ่งที่เห็นข้างนอก แต่ไม่จริง ก็ได้  คนจะนำเสนอสิ่งที่ให้คนอื่นประทับใจ ที่เป็นสิ่งที่อยู่ข้างนอก เช่น การศึกษา
  4.  มนุษย์ใช้ เหตุผลทั้งด้านอัตวิสัย และภาวะวิสัย ประกอบกัน (subjective and objective reasoning) แต่มนุษย์ใช้ subjective มากกว่า objective เราวัดแต่ objective คิดว่าสามารถวัดได้
  5.  มนุษย์ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ไม่น้อยกว่าเนื้อหาสาระ (relationship and matters) ความสัมพันธ์ในสังคมสำคัญมาก โดยเฉพาะในสังคมตะวันออก การที่คนทำ/ไม่ทำอะไรในสังคมคือ ความสัมพันธ์  ในสังคมชนบทยังมีสิ่งเหล่านี้เข้มแข็งอยู่ แต่ในเมืองมีน้อยลงมาก
  6.    มนุษย์เป็นตัวกระตุ้นและเป็นตัวตอบสนอง (stimulus and response) การสัมภาษณ์ต้องระมัดระวัง เพราะข้อมูลแปลไปตามตัวกระตุ้น ทำให้เราได้ข้อมูลที่ไม่จริง  ขาดความน่าเชื่อถือ
  7.  มนุษย์มีความสลับซับซ้อนมากเพราะมีอารมณ์ ความรู้สึก
  8.  นอกจากทำความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์แล้ว ต้องทำความเข้าใจบริบท (Context) ที่ปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้นด้วย บริบทเหล่านี้ ได้แก่ ระบบสังคม วัฒนธรรม และการเมืองของพื้นที่ที่นักวิจัยกำลังทำการวิจัย

 

          สรุป ถ้าเราไม่เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ในกาแสดงพฤติกรรม และไม่เข้าใจในบริบททางสังคม วัฒนธรรม การเมือง ของพื้นที่ที่เราทำวิจัย เราตีความหมายของข้อมูลที่เราเก็บรวบรวมมาไม่ตรงหรือไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง 

 

2. การวิจัยเชิงคุณภาพ

 ลักษณะสำคัญที่พึงรู้

(1)   ไม่ให้ความสำคัญกับการอ้างอิงในวงกว้างแต่ให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจต่อปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นจริงในบริบทนั้น ๆ

(2)   มีความเชื่อพื้นฐานว่า สรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีความสัมพันธ์กันเป็นเส้นตรง (Linear Relationship) การวิจัยเชิงคุณภาพจึงไม่นำหลักสถิติมาใช้ เนื่องจากไม่เชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลายเป็นเส้นตรง  เพราะหลักการสถิติ ตั้งอยู่หลักความน่าจะเป็น  หมายความว่า โอกาสที่โยนเหรียญ ค่าที่เกิดขึ้นจากหลักสถิติ เป็นค่าความน่าจะเป็นไม่ใช่ความเป็นจริง และหลักแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง 

  1. ถ้างานวิจัยของเราไม่ใช้ 2 หลักนี้ ไม่มีการสุ่มตัวอย่างเลย เพราะการสุ่มตัวอย่าง หมายถึง การเป็นตัวแทนของทั้งหมด
  2. ถ้าข้อมูลที่นำมาทดสอบ ไม่เป็นไปตามความโค้งปกติ นำสถิติมาใช้ไม่ได้

(3)   การวิจัยเชิงคุณภาพสนใจหลักการที่อยู่เบื้องหลัง ไม่ใช่สิ่งที่เห็นได้ง่าย การแก้ไขปัญหาต้องไปถึงรากเหง้านี้ให้ได้

(4)   การวิจัยเชิงคุณภาพสนใจความเป็นมนุษย์มากกว่าเรื่องตัวเลข

 

เพราะฉะนั้น ศาสตร์แห่งการตีความในการวิจัยเชิงคุณภาพ ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า

-    การตีความข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข และข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเลขอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ในการแสดงพฤติกรรม และการตีความข้อมูลอย่างสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ที่ปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้น เช่น มีคนบอกเราว่าเรามีเงิน 2 แสน ในความรู้สึกของเรา หมายถึงมีเงินเยอะ  น้ำหนัก 90 กิโล หมายถึงอ้วน แต่ถ้าเป็นคนต่างประเทศอาจไม่ใช่ก็ได้ แต่ค่าความหมายเหล่านี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่และเวลา เงิน 2 แสนในอดีตอาจจะมาก แต่ปัจจุบันอาจจะน้อย 

-    การวิจัยเชิงคุณภาพไม่ใช่หมายถึงมีคุณภาพดีกว่า แต่หมายถึง ความละเมียดละมัย คุณลักษณะที่ละเอียดกว่า

-    มนุษย์ให้ความหมายกับความเชื่อ และการยึดถือ

-    การทำวิจัยต่างพื้นที่ควรระวังเรื่องของภาษา เพราะภาษาเป็นวัฒนธรรมที่มีความหมายแตกต่างกันมาก   

ราคา 100 บาท   จำนวน 160 หน้า
แนะนำอ่านหนังสือ “เบื้องหลังหน้ากาก” ทำให้เข้าใจเบื้องหลังของมนุษย์มากขึ้น จากที่สังเกตเห็นโดยทั่วไป หนังสือทางชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnography) มีเป็นจำนวน มาก แต่หนังสือเหล่านี้ก็แทบจะไม่ได้กล่าวถึงกิจกรรมการออกภาคสนามเลย ถ้าจะมีการพาดพิงไปถึงประสบการณ์ของผู้ศึกษาบ้างก็มักอยู่ในรูปเรื่องเล่า สั้นๆ ด้วยเหตุนี้ เจอรัลด์ ดี แบรีแมน (Gerald D. Berreman) จึงเขียน หนังสือเรื่อง Behind Many Masks: Ethnography and Impression Management ขึ้น และ อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย ได้นำหนังสือดังกล่าวมาเขียนคำอธิบายและแปล โดยให้ชื่อภาษาไทยว่า เบื้องหลังหน้ากาก ซึ่งเนื้อหาที่เสนอนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรยายถึงแง่มุมบางแง่มุมของงาน วิจัยภาคสนามของแบรีแมนเอง โดยแสดงให้เห็นลักษณะบางอย่างของประสบการณ์มนุษย์ที่เรียกว่า “งานสนาม” และนัยบาง ประการของประสบการณ์มนุษย์ว่ามีผลต่อชาติพันธุ์วรรณนาในฐานะที่เป็นการศึกษา แบบวิทยาศาสตร์อย่างไร หนังสือเล่มนี้จึงอาจเป็นประสบการณ์สำหรับผู้ที่คิดจะออกภาคสนาม และอาจช่วยกระตุ้นให้นักชาติพันธุ์วรรณนาอื่นๆนำความรู้และความเห็นเกี่ยว กับประสบการณ์สนามมาเล่าสู่กันฟังมากขึ้น

Behind Many Masks: Ethnography and Impression Management ในพากย์ภาษา ไทย “ เบื้องหลังหน้ากาก” บรรยายถึงแง่ มุมของงานวิจัยภาคสนาม ลักษณะและนัยของประสบการณ์มนุษย์ที่เรียกว่า “งานสนาม” ซึ่งมีผลต่อ ชาติพันธุ์วรรณนาในฐานะที่เป็นการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่คิดจะออกภาคสนาม และกระตุ้นให้นักชาติพันธุ์วรรณนานำความรู้ความเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์สนาม มาเล่าสู่กันฟังมากขึ้น

-          การตีความมนุษย์มีความสลับซับซ้อน จึงต้องทำความเข้าใจมากปกติ  ต้องอ่านนอกเหนือจากสาขาของตนเอง เพราะโลกความเป็นจริงมีทุกมิติ และทุกมิติต้องเกี่ยวข้องกันหมด มนุษย์มีหลายมิติ ไม่ได้มีมิติเดียว  เรื่องเดียวกันมันมีหลายมิติ ข้ออ่อนของนักวิจัยเมืองไทย คือ ไม่อ่าน

การวิจัยมี 2 ส่วน คือ คำถาม และ methodology แต่คำถาม นั้นสำคัญกว่า วิธีวิจัย ต้องให้ความสำคัญกับการตั้งคำถามการวิจัย  โจทย์เป็นตัวกำหนด methodology ถ้าโจทย์ที่ตั้งเป็นเส้นขนมจีน ตัวที่เป็นไปได้มีหลายอย่าง เช่น น้ำยา น้ำพริก ฯลฯ  สิ่งเหล่านี้ไปได้กับเส้นขนมจีน มีบางอย่างไปด้วยกันไม่ได้ แต่พอเปลี่ยน วิธีการก็เปลี่ยน

สิ่งที่สอนเป็น research method เช่น การเก็บข้อมูล สัมภาษณ์  แต่ methodology ประกอบด้วย (1) วิธีการ เทคนิค  และ (2) โลกทัศน์ ที่มีต่อการวิจัย (paradigm) ถ้ามีทัศนะที่ผิดต่อสิ่งที่ทำวิจัย คำตอบที่ได้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เช่น ทัศนะต่อความยากจนว่าเกิดจากการมีลูกมาก หรือ ความขยัน ทั้งที่มันมีมากมายกว่านั้น  มองสิ่งเดียวไม่ได้  นักวิจัยต้องอ่านมุมมองที่หลากหลาย จากงานวิจัยหลายมุมมอง 

ความน่าเชื่อถือของงานวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แหล่งข้อมูล

มนุษย์ใช้ 3 อย่างในการสื่อ คือ ตัวเลข ภาษา และสัญลักษณ์ เราต้องเข้าใจบริบทจึงจะเข้าใจ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการไม่ยอมรับความหลากหลาย  ความปกติ คือ ความหลากหลาย มาตรฐานที่ถูกต้องมีหลายมาตรฐาน  ความถูกในข้อสอบไม่ได้มีข้อเดียว แต่มีหลายข้อ     

[1] ดร.อุทัย  ดุลยเกษม  อธิการบดี ม.ศิลปากร  บรรยายวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 13.30-16.00 น. คณะศึกษาศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 336461เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2010 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท