สัมมนากลุ่มย่อย ภาครัฐเกี่ยวกับ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอกนิกส์


สัมมนากลุ่มย่อย ภาครัฐเกี่ยวกับ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอกนิกส์

สัมมนากลุ่มย่อย ภาครัฐเกี่ยวกับ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอกนิกส์

และความจำเป็นในการปรับแก้เพื่อตอบโจทย์ภาครัฐ

วันที่  9 กุมภาพันธ์ 2553

 

            สืบเนื่องมาจากการปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งตาม มาตรา 3 ของพรบ ฉบับนี้ให้ใช้บังคับแก่ธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ธุรกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดมิให้นำพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือ แต่บางส่วนมาใช้บังคับ

            งานนี้จัดโดย สำนักธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  โดยมีการระดมความคิดเห็นจากหลากหลายภาคส่วนเช่น ภาครัฐ และภาคประชาชน

            ประเด็นหลักๆ ที่สมควรมีการปรับแก้เพื่อให้ตอบโจทย์ ภาครัฐเช่น

  • ประเด็นการจัดตั้งสำนักงานและบทบาทของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

          ในเรื่องนี้ อาจมีการจัดตั้งเป็นองค์กรมหาชน ก็อาจจะเป็นไปได้

  • ประเด็นการปรับแก้กฎหมาย ในเรื่องเกี่ยวกับคำนิยามตาม มาตรา 4
  • ประเด็นในเรื่องการรับรองสิ่งพิมพ์ออกของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ print out

          ความเห็นจากอาจารย์ จรัญ ภักดีธนากุล  ตามาตรา 10 วรรค4 ที่ได้มีการแก้ไขใหม่นั้นในเรื่องการรับรองสิ่งพิมพ์ออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดแล้ว ให้ถือว่าสิ่งพิมพ์ออกดังกล่าวใช้แทนต้นฉบับได้ ซึ่งคำว่า หน่วยงานที่มีอำนาจตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดแล้ว นั้นยังไม่มีหน่วยงานใด ที่มีอำนาจในการประกาศ ก็ต้องติดตามต่อไป ว่าหน่วยงานใดที่จะมีอำนาจตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ซึ่งบางทีอาจใช้หลักการที่ว่า หน่วยงาน หรือระบบข้อมูลดังกล่าวเป็นของใคร ก็ให้องค์กรนั้น ๆ เป็นคนรับรอง เป็นต้น หรืออาจเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถก็อาจเป็นไปได้

            ความเห็นจากคุณวิศิษฎ์  วิศิษฎ์สรอรรถ

            ให้ความเห็นว่า เรื่อง print out นี้เป็นเรื่องสำคัญ อาจจะต้องกลับมาใช้หลักการทั่วไป ก็คือ คนที่ออก print out ออกมาก็ควรรับรองเอกสารprint out นั้นด้วย ถ้าจะมองจากมุมมองในเรื่องความถูกต้องของข้อมูล และความมั่นคงทางด้านความปลอดภัย

            ความเห็นจากอาจารย์เดชอุดม  ไกรฤทธิ์

            อาจารย์นำเสนอข้อมูลเปรียบเทียบกับทางด้านประเทศสิงคโปร ที่มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล ของ CIA หรือไม่ก็ควรมีการ ลงทะเบียนแสดงความเป็นตัวตน บนอินเตอร์เน็ต เป็น Netizen เพื่อให้เกิดการมีตัวตนจริงๆ ของมนุษย์บนอินเตอร์เน็ต อีกทั้งยังช่วยเรื่อง การรับฟังพยานหลักฐานในศาล อีกด้วย

          ประเด็นจากปัญหาการรับฟังพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์

          ความเห็นจากอาจารย์ จรัญ ภักดีธนากุล 

            ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ เรื่องการรับฟังเป็นพยานหลักฐาน ว่าในเรื่องนี้ควรมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ให้ทันสมัยอยู่เรื่อยๆ ทั้งในตัวกฎหมาย เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ

            และตามมาตรา  11 ก็ได้ระบุไว้แล้ว ว่า ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอกนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายเพียงเพราะว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แต่ในเรื่องนี้ที่น่าจะมีปัญหาตรงที่ ตามมาตรา 3 เพราะว่า พรบ นี้ให้ใช้บังคับเฉพาะ ธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น

  • ประเด็นในเรื่องอายุความในการจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
  • ประเด็นการทำลายเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
  • ประเด็นการอนุวัติการอนุสัญญาว่าด้วย e-contracts Convention ของ สหประชาชาติ UN

 

  • ประเด็นอื่นๆ

                   มุมมองเกี่ยวกับ e-government ในหมวด 4

                   ตามมาตรา 35 ที่กล่าวว่า ตามกฎหมายกับหน่วยงานของรัฐหรือโดยหน่วยงานของรัฐ ถ้าได้กระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือตามหลักเกณฑ์…. ให้นำพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ

                        นั้น มีการเสนอความเห็นในเรื่อง ขององค์กรอิสระของทางภาครัฐ ว่าอาจจะไม่เข้า ตามมาตรานี้หรือไม่ อาจต้องกลับไปแก้ไขคำนิยาม ตามมาตรา 4 เป็น หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐเป็นต้น

                        เรื่องการทำธุรกรรมของภาครัฐ

                    ในเรื่องนี้ ตามมาตรา 35นั้น อาจให้ทางกรมสรรพากร  หรือกรมธุรกิจการค้า  ออกมารับรองก็ได้ เพื่อให้เอกสารที่ออกมาใช้ได้ และสามารถรับฟังเป็นต้นฉบับ ซึ่งเรื่องนี้ค่อนข้างที่จะต้องให้ความสำคัญ ถ้าเปรียบเทียบกับ กฎหมายของทางประเทศอังกฤษ มี evident Act ซึ่งมีการรับรองเอกสารจากบุคคลที่ถูกแต่งตั้ง เป็นต้น

 

หมายเลขบันทึก: 335572เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท