บทความ: ทำงานอย่างมีความสุข (Happiness Capital) (Hot!!)


การทำงานอย่างมีความสุข

ทำงานอย่างมีความสุข (Happiness Capital)

          ผ่านไปแล้ว 1 เดือน กับบทความใน Stock Review ผมขอถือโอกาสให้ข้อมูลติดต่อกลับ คือ website:  www.chiraacademy.com, E-mail: [email protected],หรือโทรศัพท์ 02-619-0512 - 3 จะได้มี Feedback กลับ เป็นการสร้างชุมชนการเรียนรู้ใน Stock Review ร่วมกัน

            ในเดือนนี้และเดือนต่อๆ ไป ผมเลือกวิเคราะห์ทฤษฎีทุนมนุษย์ที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (8K’s) ในแนวคิดของผมให้ท่านได้วิเคราะห์และนำไปใช้ ประกอบไปด้วย

1. Human Capital                     ทุนมนุษย์

2. Intellectual Capital               ทุนทางปัญญา

3. Ethical Capital                      ทุนทางจริยธรรม

4. Happiness Capital               ทุนแห่งความสุข

5. Social Capital                       ทุนทางสังคม

6. Sustainability Capital            ทุนแห่งความยั่งยืน

7. Digital Capital                      ทุนทาง IT

8. Talented Capital                   ทุนทาง Knowledge Skill และ Mindset

 

            เริ่มต้น ทุนมนุษย์ (Human Capital) คือ การลงทุนในมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนปัจจุบัน ไม่ว่าเป็นเรื่องการศึกษา, โภชนาการ, การแพทย์ การฝึกอบรมหรือการมีวัฒนธรรมเรียนรู้ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์จะเน้นปริมาณเป็นส่วนใหญ่ เช่น คนที่เรียน 8 ปี น่าจะมีรายได้มากกว่าคนที่เรียนแค่ 5 ปี ซึ่งอาจจะจริง (ในอัตราเฉลี่ย) แต่ถ้าเปรียบเทียบคนเรียน 8 ปีเท่ากัน 2 คน คุณภาพหรือ ประสิทธิภาพอาจจะไม่เท่ากัน จึงเป็นที่มาของการมองคุณภาพของทุนมนุษย์ว่ามีไม่เท่ากัน เช่น

            คนหนึ่งเรียนเก่งแต่เวลาทำงานไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะท่องเก่ง ลอกเก่ง แต่คิดไม่เก่ง วิเคราะห์ไม่เป็น จะเรียกว่าเป็นบุคคลที่มีทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ไม่มาก

            แต่วันนี้ ผมจะเลือกทุนมนุษย์ ทุนที่ 4 คือ ทุนแห่งความสุข (Happiness capital) มาวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้อ่านในวงการเงิน ตลาดหุ้นและธุรกิจ ค้นหาตัวเองก่อนว่าแต่ละท่านมีทุนแห่งความสุขมากน้อยเพียงใด จะปรับตัวอย่างไร? ปรับแล้วได้ผลอย่างไร?

            ทุนแห่งความสุขเกิดจากปัจจัยหลายอย่างและบางส่วนจากประสบการณ์ของผม

สิ่งแรก คือ ผมจบ Ph.D มาจากต่างประเทศ ในช่วงแรกของการเป็นอาจารย์ก็ยังค้นหาตัวเองไม่พบว่าชอบอะไร? หรือเก่งอะไร? การสอนหนังสือแรกๆ ก็จะเน้นความรู้ของเราที่สะสมมาจากการเรียนกับต่างประเทศโดยไม่ได้เน้นความต้องการของผู้ฟังหรือลูกศิษย์ มองแต่ตัวเองเป็นหลัก เมื่อสอนไปนานๆ ก็รู้สึกเบื่อ และขาดความสุข คือ ไม่ได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมจากลูกศิษย์ มีอีโก้สูง คิดว่า ”ฉันแน่ ฉันเก่ง” แบบที่ Peter Drucker ได้พูดไว้ก่อนเขาเสียชีวิตว่า.. การสอนหนังสือที่ดีของเขาก็คือ

  • ถามคำถามที่น่าสนใจ ไม่มีคำตอบที่ถูกอันเดียว
  • รับฟัง.. เรียนรู้จากลูกศิษย์เสมอ

ดังนั้น การปรับตัวของผมกับการทำงานในฐานะอาจารย์ ก็คือ พยายามนึกถึงลูกศิษย์หรือลูกค้าว่าเขาต้องการอะไร? และต้องชอบการหาความรู้เพิ่มเติม..ทุกวันนี้ผมหาความรู้จากการไปประชุม จากการรับฟัง การอ่านหนังสือ พยายามกระตุ้นให้เขาเหล่านั้นได้ความรู้เพื่อนำไปใช้ได้ เป็นที่มาของการคิดค้นทฤษฎี 4L’s เพื่อการเรียนรู้ตลอดเวลา :

1. Learning Methodology         วิธีการเรียนรู้

2.  Learning Environment         บรรยากาศการเรียนรู้

3.  Learning Opportunities       โอกาสการเรียนรู้และการปะทะกันทางปัญญา

4.  Learning Communities        ชุมชนแห่งการเรียนรู้

และที่สำคัญที่สุดคือการค้นหาทฤษฎี  2R’s ในการเรียนรู้ การวิเคราะห์ปัญหา คือ

v   Reality                        มองความจริง

v   Relevance                   ตรงประเด็น

ผมทำงานทุกวันนี้มีความสุขมากขึ้นและไม่ค่อยเหนื่อยนัก ทั้งที่อายุมากขึ้น เพราะผมมีความสุขที่ทำงานที่ชอบ มี Passion พร้อมจะเรียนรู้ตลอดเวลา

การทำงานก็จะวางแผนล่วงหน้า เช่น หากต้องไปสอนหนังสือหรือไปบรรยายตามที่ต่าง ๆ ใน 3 ชั่วโมง ควรจะเน้นอะไรที่ผู้ฟังได้ประโยชน์และวิธีการเรียนใช้ 4L’s เป็นหลัก

หลายคนที่เคยเห็นผมตอนอายุ 40 กว่า บอกว่าเมื่อก่อนผมดูแก่กว่านี้ เพราะช่วงนั้นผมยังค้นหาความสุขในการทำงานไม่พอ การมีความสุขในการทำงานคืออะไร?

เพราะต้องฝึกปรับตัวเอง ต้องเสียสละทั้งเวลาและการปรับตัวการเรียนรู้ และถ้าผลตอบแทนคือ ความพอใจของลูกค้าหรือเห็นความเปลี่ยนแปลงของลูกศิษย์ ผมก็ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า จึงเรียกว่า “ทุนแห่งความสุข”

ผมอยากให้ผู้อ่านได้หันมาสำรวจตัวเอง มีวิธีง่ายๆ คือ :

  1. ถ้าคะแนน 1 - 10 การทำงานของท่านมีความสุขอยู่ระดับใด?
  2. ถ้ารู้ว่าอยู่ประมาณ 6 ก็พยายามหาทางปรับปรุง เพิ่มเป็น 6.5 ผลประกอบการจะดีขึ้น คุณภาพการทำงานดีขึ้น Productivity น่าจะดีขึ้นหรือไม่?

ที่เน้นเรื่องความสุขเพราะคนในวงการการเงิน ทำงานหนักมาก หลายคนไม่ได้นึกถึงความสุขในการทำงานมากนัก แต่มุ่งไปสู่ KPIs, Bonus หรือเงินเดือนที่เพิ่มมากกว่า

ลองสำรวจตัวเองอีกครั้ง ลองให้คะแนนตัวเอง ดูว่าอยู่ประมาณเท่าไหร่ จาก1 ถึง 10 และควรจะปรับปรุงอะไร

ผมได้ลองศึกษาแนวคิดของ Dr.Timothy J.Sharp ผู้เขียนหนังสือชื่อ 100 Ways to Happiness (A guide for busy people) เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านความสุข ผมได้ปรับปรุงโดยเลือกปัจจัย 11 ข้อที่น่าจะเป็นทางเลือกของการสร้างทุนแห่งความสุขในการทำงานในสังคมไทยเปรียบเทียบกับแนวคิดของผมที่เน้นการทำงานแบบไม่เครียด (No Stress) ดังนี้

Happiness Capital

(Dr. Chira Hongladarom’s Model)

Happiness Capital

 (Sharp/Hongladarom’s Model)

  1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม

          (Healthy)

    2.   ชอบงานที่ทำ

         (Passion)

    3.   รู้เป้าหมายของงาน

         (Purpose)

    4.   รู้ความหมายของงาน

          (Meaning)

    5.   มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ

          (Capability)

    6.   เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา

          (Learning)

     7.   เตรียมตัวให้พร้อม

          (Prepare)

      8.  ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว

           (Teamwork)

      9.  ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม

           (Coaching)

    10.  ทำงานที่ท้าทาย

          (Challenge)

   11.  ทำงานที่มีคุณค่า

         (Enrichment)

    1.   ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

          (Exercise)

    2.   อย่าแบกงานที่หนักเกินไป

         (Put down your burden)

    3.   ศักยภาพการสื่อสารในองค์กร

         (Communicate Effectively)

     4.  ทำงานในจุดแข็งของตัวเอง

          (Recognize your strengths)

     5.  มุ่งมั่นในงาน

          (Keep Focus)

     6.  ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ

          (Reduce the ‘shoulds’)

     7.  ทำงานในองค์กรที่มองคุณค่าของคนและงานคล้าย ๆ กัน

          (Clarify your values)

     8.  อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล

         (Overcome worry and stress)

     9.  บริหารภาระงานให้เหมาะกับตัวเอง

          (Refine your workload)

    10.  ใช้คำว่าขอบคุณกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน

           (Choose your words)

    11.  สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุขร่วมกัน

          (Create good environment)

         การเขียนเรื่องทุนแห่งความสุขครั้งนี้คงอธิบายให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจเพียงบางส่วนเท่านั้น ผมกับ คุณม่อน ณัฐกานต์ บุญสอน และคุณณัฐปภัสร์ พงษ์ประดิษฐ์  (เขม) กับ Chira Academy จะจัดเป็น Learning Forum 1 วัน จะพูดถึงเรื่องการสร้างทุนแห่งความสุขกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพ โดยจะเชิญอาจารย์สุรวัฒน์ ชมพูพงษ์ เพื่อนที่สนใจเรื่องทุนแห่งความสุขมาเป็นวิทยากรร่วมกับผม เป็นสัมมนาที่คนในวงการการเงินหรือกลุ่มอื่น ๆ จะได้สำรวจตัวเองและเปรียบเทียบคะแนนทุนแห่งความสุขกับคนอื่น ๆ ผมเชื่อว่าถ้าค้นหาตัวเองได้ดี ทุนแห่งความสุขอาจจะค่อยๆเพิ่มขึ้น และชีวิตก็จะดีด้วย

        ความสุข เป็นได้ทั้ง Mean และ End คือเป็นทั้งวิธีการและเป้าหมาย หากมีวิธีการที่ดี ผลประกอบการก็จะดีขึ้น ไม่ใช่ต้องการโบนัสเยอะเพื่อเป็นความสุข นั่นอาจจะเป็นความสุขแบบจอมปลอมหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้ หรือบางครั้งก็อาจจะพบปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่นโรคความดัน มะเร็ง เครียด หย่าร้าง ลูกไม่รัก ขาดจิตสาธารณะ ฯลฯ

                                                                                    จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

Reference:

Sharp, Timothy J.,100 Ways to Happiness (A guide for busy people), Penguin Group (Australia), 2008.

Mardi Horowitz, M.D., A course in happiness, Penguin Group (USA.),2009.

.............................................................................

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ร่วมกับ Chira Academy และ Stock Review ขอเชิญทุกท่านเข้าสู่อาณาจักรแห่งการเรียนรู้..

พบกับ 3 หลักสูตรคุณภาพเพื่อการจุดประกายความคิด สร้างวิสัยทัศน์ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และสร้างพลังในการทำงานในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ..

ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการนำเอาความรู้ไปใช้ได้จริงตามหลักทฤษฎี 2 R’s (Reality & Relevance)  และบรรยากาศการเรียนรู้ที่ทำให้คุณเกิดไอเดียดี ๆ เพื่อความสำเร็จ

(ห้องละไม่เกิน 50 คน) ให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางความสำเร็จอย่างใกล้ชิดในฐานะโค้ช..โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

...............................................................................

หลักสูตร การสร้างทุนแห่งความสุขเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (1 วัน)

รายละเอียดหลักสูตร

-          จุดประกายความคิดด้วยการสร้างวิสัยทัศน์ของการทำงานในยุคใหม่

-          ทุนมนุษย์กับทุนแห่งความสุขและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

-          การสร้างความสุขในการทำงาน

-          จิตวิทยาและการสร้างความสุขในองค์กร

-          วิเคราะห์กรณีศึกษาของความสำเร็จ  - ความล้มเหลวและแนวทางในการสร้างความสุขในการทำงาน

-          ถาม  - ตอบ

-          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปสู่การปรับใช้

วิทยากร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อ. สุรวัฒน์ ชมพูพงษ์

วัน เวลาและสถานที่

วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน 2553

เวลา 09.00 – 16.00 น.

ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ

ค่าลงทะเบียนท่านละ 3,500 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

-          สมัคร 2 หลักสูตรขึ้นไป ลด 20%

-          ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และสมาชิก Stock Review รับส่วนลด 15 %

สำรองที่นั่งและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่..

โทรศัพท์ 0-2619 – 0512-3 , 081-493-0801, 089-200-1471

 

 

หมายเลขบันทึก: 335533เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นการสัมมนาที่น่าสนใจมากๆ จะชวนเพื่อนๆที่สนใจไปร่วมสัมมนาครับ

นาย วิรัช จินดากวี นักศึกษาปริญญาเอก นิเทศศาสตร์นวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกริก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท