Talent management 55 การประชุมคณะทำงานTM53 ครั้งที่3/2553


10-2-53

เมื่อวาน วันที่9-2-53เรามีการประชุมคณะทำงานTMค่ะ   การประชุมครั้งนี้เป็นครั้งที่3 ของงบปี53ค่ะ  

คุณหมอวิชัย   ผู้อำนวยการสำนักแมลงมาก่อนใคร

 

 

คุณปาจารีย์และคุณบงกชจากฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลกองการเจ้าหน้าที่ซึ่งช่วยดูแลโครงการให้

 

 หมอนุ้ย พญ. ปิยะวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ จากบำราศและดิฉัน

 

คุณพุทธชาดจากกองการเจ้าหน้าที่.และใบเตยผู้ช่วยดิฉัน

 

ท่านรอง นพ.ศิริศักดิ์    มาเป็นประธาน

 

คุณสุรพลผอ.กองการเจ้าหน้าที่ประกาศผลการคัดเลือกข้าราชการดีเด่นของกรม

 

หมอนุ้ยยิ้มเพราะได้เป็นข้าราชการดีเด่น

 

หมอโสภณ เจ้าของโครงการพี่เลี้ยง

อาจารย์วันทนีย์ จากสำนักระบาดอธิบายโครงการพี่เลี้ยง

 

คุณหมอ  ศุภมิตร    ผู้ทรงคุณวุฒิกรมให้ความเห็นที่ประทับใจโดยให้เอาagendaของWHA มาให้ เจ้าของprograme  exercise

ท่านรอง นพ. สมศักดิ์ ที่สัญญาจะมาแต่เลื่อนไปประชุมคณะอื่นและรีบกลับมาประชุมต่อ

 

คุณหมอสมเกียรติจาก EN- OCT จากโรคจากการประกอบอาชีพ มาให้ข้อมูลและดูมีความหวังเรื่องการเพิ่มนักวิชาการกรมในกรมควบคุมโรคตามเป้าหมายที่จะมีแพทย์50 นักวิชาการ 100คนค่ะ

รายงานการประชุม (   ร่าง )คณะกรรมการบริหารจัดการผู้มีสมรรถนะสูง (Talent Managementวันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 14.00 -16.30 น.

ณ ห้องประชุมกองการเจ้าหน้าที่ อาคาร 3 ชั้น 4

---------------------------------------------------

ผู้มาประชุม

1. นายแพทย์ศิริศักดิ์        วรินทราวาท        รองอธิบดีกรมควบคุมโรค 

2. นายแพทย์สมศักดิ์           อรรฆศิลป์          รองอธิบดีกรมควบคุมโรค

3. นางสาวกิ่งแก้ว                วิวัฒน์วิทยา         แทนผู้อำนวยการสำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

4. นายแพทย์สมเกียรติ  ศิริรัตนพฤกษ์             รักษาการผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพ

และสิ่งแวดล้อม

5.นางสาวฉันทนา               เจนศุภเสรี             แทนผู้อำนวยการกองแผนงาน

6. นายสุรพล                         สงวนโภคัย           ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่

9.นายศิริชัย                           เลี้ยงอักษร             รองผู้อำนวยการสถาบันฝ่ายอำนวยการสถาบันบำราศนราดูร

10.แพทย์หญิงปิยวรรณ      ลิ้มปัญญาเลิศ        นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ   สถาบันบำราศนราดูร

11.นางปาจารีย์                 อัศวเสนา                  นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ  กองการเจ้าหน้าที่

12.นายธีรวิทย์                  ตั้งจิตไพศาล       นักวิเคราะห์นโยบายและแผน             กองการเจ้าหน้าที่             

นายแพทย์วิชัย                     สติมัย                  ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง

นายแพทย์ปรีชา                  ตันธนาธิป            ผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร

นายแพทย์โสภณ                 เอี่ยมศิริถาวร         นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ   สำนักระบาดวิทยา

นางบงกช                             กำพลนุรักษ์         นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ  กองการเจ้าหน้าที่ ผู้ไม่ 

2. นางสาววันทนีย์              วัฒนาสุรกิตต์       นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยา

มาประชุม  (ติดราชการ)      

1. นายแพทย์โอภาส         การย์กวินพงศ์     ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป

2. นายแพทย์ยุทธิชัย           เกษตรเจริญ          ผู้อำนวยการสำนักวัณโรค

3 .สัตวแพทย์หญิงดาริกา  กิ่งเนตร                   ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่

4. นายแพทย์ภาสกร            อัครเสวี                  ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา

5. นายแพทย์ภาณุมาศ         ญาณเวทย์สกุล     ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช

6. นางมณี                              สุขประเสริฐ         นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ  สำนักจัดการความรู้

               

 

ผู้เข้าร่วมประชุม

1. แพทย์หญิงอัจฉรา           เชาวะวณิช          ผู้จัดการโครงการ Talent Management

3.นางสาวสิริกุล              วงษ์สิริโสภาคย์    นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กรมควบคุมโรค

4. นายภิภพ                           กัณฑ์ฉาย               เจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์ กองการเจ้าหน้าที่ 

5. นางสาวดวงภาณิชา        สุขพัฒนนิกูล       ผู้ประสานงานโครงการ Talent Management

6. นางสาวฐานีย์                  อุทัศน์                    เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป โครงการ Talent Management

เริ่มประชุม   14.00  น. 

 วาระที่ 1  เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

                นายแพทย์ศิริศักดิ์ วรินทราวาท รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ประธานการประชุม ได้กล่าวเปิดการประชุมและแจ้ง คำสั่งกรมควบคุมโรคที่ 63/2553 สั่ง ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการผู้มีสมรรถนะสูง (Talent Management) เพิ่มเติม (นางสาว วันทนีย์         วัฒนาสุรกิตต์) จากนั้นนายสุรพล สงวนโภคัย ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ ได้แจ้งว่า แพทย์หญิงปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ คณะกรรมการบริหารจัดการผู้มีสมรรถนะสูง ได้รับคัดเลือกเป็นข้าราชการดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2552

มติที่ประชุม รับทราบ

 

วาระที่ 2  รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 2/2553 วันพุธที่ 16 ธันวาคม 2552

 

มติที่ประชุม  รับรองรายงานการประชุม 

 

วาระที่ 3

3.1 การดำเนินงานโครงการ Talent Management ตามแผนปี 2553

3.1.1       โครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและป้องกันควบคุมโรคโดยระบบพี่เลี้ยง 

 ปี 2553 รุ่นที่ 1

              นพ.ศิริศักดิ์ ได้กล่าวว่าโครงการนี้มีผู้สนใจเข้ามาเยอะ จึงต้องระวังในบางจุด เช่น ผู้อำนวยการบางท่าน ไม่ได้รับทราบข้อมูลครบเช่น ไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนว่าโครงการนี้ทำประโยชน์แก่หน่วยงานอย่างไร    หรือการดำเนินงานในโครงการอาจมีผลกระทบต่อระบบการทำงานของหน่วยงานนั้นๆ

จากนั้น   แพทย์หญิง อัจฉรา เชาวะวณิช ผู้จัดการโครงการ ได้นำเสนอว่าจะมีการจัดประชุมขึ้นในระหว่างวันที่ 4-5 มีนาคม พ.ศ. 2553     ขณะนี้มีการทำโครงการย่อยโดยน้องเลี้ยง ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการเขียนโครงการและ ขออนุมัติโครงการ คนละ 1 โครงการ รวมทั้งสิ้น 10 โครงการ มีผู้ส่งโครงการได้แก่ นางสาวจีรวรรณ ชงจังหรีด ทำโครงการเรื่อง  นายสีใส ยี่สุ่นแสง  แพทย์หญิงปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ จัดทำโครงการเรื่อง การวางแผนครอบครัวและปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนครอบครัวในกลุ่มสตรีที่ติดเชื้อเอชไอวี ในสถาบันบำราศนราดูร”  นางสาวพนมพร ปิยะกุล จัดทำโครงการเรื่อง “การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออำนาจการต่อรองให้คู่นอนใช้ถุงยางอนามัยและพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของสตรีที่สมรสแล้วในโรงงานอุตสาหกรรมเขตกรุงเทพมหานคร 

ผู้ที่ยังไม่ได้ส่งโครงการได้แก่ นางดารณี นายนัพวุฒิ พญ.อรรถยา และ นพ.สุวัฒน์  

มีโครงการที่ไม่ได้ใช้งบประมาณของTalent ได้แก่ นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ได้ร่วมทำโครงการเรื่อง  “สถานการณ์วัณโรคดื้อยาหลายขนานในประเทศไทยระหว่างปีงบประมาณ 2550-2552” โดยใช้งบประมาณของสำนักจัดการความรู้ ทีมงานTalentจึงได้ประสานสอบถาม   นพ.ไพโรจน์ แจ้งว่าเป็นไปได้หรือไม่ถ้าจะนำเงินสำหรับทำโครงการฯ จำนวน 100,000 บาท ไปใช้ในการติดตามผอ.สำนักหรือพี่เลี้ยงไปประชุม 

 ปัญหาหลักในโครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาฯคือมีคนไม่ได้ใช้เงินประมาณ2โครงการจึงต้องมีการปรับงบประมาณในโครงการเพื่อนำเงินไปใช้ในทางอื่น

การนำโครงการเรื่อง  “สถานการณ์วัณโรคดื้อยาหลายขนานในประเทศไทยระหว่างปีงบประมาณ 2550-2552” ที่  นพ.ไพโรจน์ ส่งมาให้ มีผลผลิตอะไร        เข้าใจว่า นพ.ไพโรจน์ จะIntegrate ผลผลิตบางอย่าง มาใช้กับโครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาฯ                

ส่วนในเรื่องระบบการใช้เงิน ทางทีมงาน   Talentได้วางแผนว่าจะตัดเงินไปให้กับสำนักของน้องเลี้ยง      ส่วนผลผลิตของโครงการขณะนี้ยังไม่มีอะไร       ความสัมพันธ์ระหว่างพี่เลี้ยงน้องเลี้ยง ก็ไม่ได้ตามผล

                  นพโสภณ แจ้งว่า ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมามีการคัดเลือก การประชุมไป 2ครั้ง ระยะเวลาปะมาณ 3เดือน             ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการพัฒนาโครงการของน้องเลี้ยง     บางโครงการต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยะธรรม  ?? สำหรับโครงการวิจัย       ช่วงนี้ก็ยังไม่สามารถหาผลงานที่ชัดเจนได้จึงได้มีการจัดหาWork shop ร่วมกันระหว่างพี่เลี้ยงและน้องเลี้ยง ทุกๆ 3 เดือนเพื่อ ให้มีโอกาสได้พบปะกัน และพัฒนาทักษะด้านการคิดเชิงระบบ และการวิเคราะห์บุคคลิกภาพของทีมงาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จับต้องได้ในช่วงแรกๆ เนื่องจากเราจะเห็นผลของโครงการในช่วงท้าย เพราะโครงการของน้องเลี้ยงมีระยะเวลาในการวิจัยพอสมควร       ส่วนใหญ่จะกึ่งงานวิจัย กึ่งงานประจำที่ต้องการให้มีคุณภาพมากขึ้น เลยต้องใช้เวลาพอสมควร            กิจกรรมเสริมหลายอย่าง เช่นของหมอไพโรจน์ที่จะติดตามผู้บังคับบัญชาหรือผู้เชี่ยวชาญเคยบอกไปว่ากิจกรรมนั้นจะทำได้ตามความเหมาะสม เนื่องจากในการผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านกัน ต้องมีลักษณะเหมือนtailor-made คือต้องมีความหลากหลายและยืดหยุ่น     ซึ่งตรงนี้ก็พยายามมองหาแหล่งเงินภายนอก เพราะต้องการให้น้องเลี้ยงมีประสบการณ์ทำงานระหว่างประเทศ           แต่ถ้าไม่ได้ใช้เงินตามแผนงาน เช่นนำเงินไปต่างประเทศ ซึ่งเข้าใจว่าทำไม่ได้

                    นางสาววันทนีย์ ได้กล่าวว่า โครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาฯ ได้มีการจัดทำ 3แบบ คือ           1.  แบ่งกลุ่มเฉพาะทาง ??    2.Basic data base  ??    3.การติดตามผลและพัฒนาความรู้ทางวิชาการ และการศึกษาโครงการปัญหาทางสาธารณสุขคนละ 1 โครงการ

 พญ.อัจฉรากล่าวว่าโครงการของนพไพโรจน์ ที่กล่าวถึงนั้นเป็นโครงการ ของนพมงคล โดยมีนพไพโรจน์มีส่วนร่วมในนั้น      จึงได้สอบถามมาว่าเป็นไปได้มั้ยที่จะนำเงินในโครงการฯไปใช้ติดตามพี่เลี้ยง

                    นพศิริศักดิ์ กล่าวว่า เราต้องแจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานรู้ว่าน้องเลี้ยงไปทำอะไรบ้าง เพื่อความโปร่งใส เช่น มีประชุมกี่ครั้ง เวลาเท่าไร ประมาณวันที่เท่าไร ในการพิจารณาโครงการprocess เป็นอย่างไร

                      นพ.วิชัย กล่าวว่า บางครั้งน้องเลี้ยงสมัครมาในกลุ่มโรคที่ตนสนใจ แต่ในที่ทำงานทำอีกกลุ่มโรคนึง เช่น สคร3 อยู่กลุ่มสว แต่สนใจncd ถ้าผอไม่เห็นชอบ ก็ต้องมาคุยกัน

                       จึงได้มีการตั้ง co mentorขึ้นมา คือกลุ่มผอสครของน้องเลี้ยงแต่ละสำนัก

                        พญอัจฉรากล่าวว่าในการประชุมวันที่ 4-5 มีนาคม น่าจะมีความก้าวหน้าของโครงการในทางที่ดีขึ้น   

                        นพศิริศักดิ์ถามเรื่องการใช้งบประมาณ ซึ่งนโยบายของอธิบดีไม่ให้ใช้เงินเกินเดือนสิงหาคม       นพโสภณได้ตอบว่าในการใช้เงินของน้องเลี้ยง จะมีการใช้เงินในระยะเวลาอย่างต่อเนื่อง จึงสามารถใช้เงินได้ทัน

                          น.พ.วิชัยแจ้งว่าปีนี้อาจจะใช้เป็นฐานในการปรับปรุงการนำดำเนินโครงการในปีถัดไป ซึ่งปีนี้หมอสมัครไม่เยอะเท่าทีควร แหละการนำเงินดำเนินโครงการน้องเลี้ยงไปใช้อย่างอื่นนั้น ไม่เห็นด้วยเพราะต้องทำให้เป็นมาตรฐาน

                              นายสุรพลแจ้งว่าช่วงนี้อยู่ในการทำแผนปี54 ปีหน้าจะต้องมีเรื่องนี้เราจะทำอย่างไร

หมออัจฉราแจ้งว่า ได้สอบถามหมอโสภณ ว่าจะทำอย่างไร นพโสภณตอบว่าจะตั้งเป้าเดิมไว้ก่อนคือ 10 คน แต่อาจจะไม่ระบุว่าต้องเป็นแพทย์ หรือนักวิชาการเท่านั้น ซึ่งในแผนปี54ได้เขียนงบให้น้องเลี้ยงคนละ 40,000 บาท สำหรับน้องเลี้ยงที่จะอยู่ในโครงการต่อ ซึ่งน้องเลี้ยงจะอยู่ในโครงการ 5 ปี โดยจะลดงบประมาณลงทุกๆปี เพราะน้องเลี้ยงจะสามารถต่อยอดจากตรงนี้ได้

 

มติที่ประชุม

                1. มอบหมายในทีมงานTalent ประสานงานกับผู้อำนวยการสำนักที่น้องเลี้ยงประจำอยู่ ในทราบถึงการดำเนินงานในโครงการฯและ แจ้งรายละเอียดของน้องเลี้ยงแต่ละท่านให้ผู้อำนวยการสำนักทราบว่าจะต้องมีกิจกรรมในโครงการอะไรบ้าง และต้องเห็นชอบ

                2. มอบหมายให้นพ.ไพโรจน์ทำสรุปว่าได้ทำอะไรบ้างในโครงการเรื่องสถานการณ์วัณโรคดื้อยาหลายขนานในประเทศไทยระหว่างปีงบประมาณ 2550-2552

               

3.1.2       โครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานนโยบายระหว่างประเทศเพื่อการควบคุมโรค (WHA)    

 

พญอัจฉรากล่าวว่าอยู่ในระหว่างประสานทาง email          มีการกำหนดการประชุมwha ประมาณ 17-21 พค 2553 และจะมีการประชุมก่อนที่จะไปในเดือนมีนาคม   โดยและเชิญคนที่เกีย่วข้องในagendaมาประชุม      ซึ่งปีนี้คุณหมอนครจะเป็นคนกำหนดว่าจะเชิญใครมาประชุม อาจจะประชุมผ่านโปรแกรมSkype

นพ.ศุภมิตรนำเสนอให้ใช้การประชุมWHAเป้นตัวdriveหน่วยงานโดยเอาเนื้อหามาexercise  คนทีเป็นตัวแทนประชุมต้องศึกษาทำให้ไม่มีเวลาที่จะdrive  programeได้   ถ้าเราทำได้ดีจะเป็นการเคลื่อนไหวที่ดี   ยกตัวอย่างที่ผ่านมาเช่นการทำลายเชื้อsmall pox   เราเอาหัวข้อให้สำนักและถามสำนักว่าคิดอย่างไร    ปรึกษาrxpert group แล้วท่านว่าอย่างไร   กระทรวงว่าอย่างไร   ทำเช่นนี้จะเกิดความยุ่งยากแต่จะเกิดการผลักดันในวงกว้าง    เราอาจจะไม่ต้องทำทุกๆโปรแกรม

รองศิริศักดิ์เห็นด้วยเพราะทำแล้วทีมได้ประโยชน์   แต่กลไกจะทำอย่างไร  

นพโสภณกล่าวว่า ประสบการณ์ที่ผ่านมา2ปีได้สร้างทีมมือใหม่2ปี      คนเตรียมไม่ค่อยมีเวลาตอนนี้ยังไม่รุ้ว่าหัวข้ออะไรที่จะต้องพุดบ้าง เพราะบางเรื่องไม่ได้เกี่ยวกลับเฉพาะกรมฯเราอย่างเดียวในเชิงระบบควรจัดในกรมเดือนมีค.เพราะกระทรวงจะเริ่มเดือนเมษา     ใช้เวลาคุยกัน2วันน่าจะพอ

 นพวิชัยกล่าวว่า คือมี 2 เรื่องคือเรื่องเพื่อพิจารณา และหัวข้อเพื่อทราบ เช่นปรับวันมาลาเรียโลกเป็นต้นจำเป็นต้องมาพุดคุยกันให้ตัวแทนได้ข้อมูลมานำเสนอ expert พร้อมกับได้มีการพิจารณากลั่นกลอง อีกประเด็นคือนอกจากที่ WHA จะมีเวที SEARO ถ้าใครได้บัตรสำรองตรงนี้เราน่าจะส่งคนไปประกบเพราะจะได้ช่วยผู้บริหารในระดับsenior ของSEARO ก็จะเกิดการกระเพื่อมของความคิด ซึ่งเราจะต้องร่วมพลังกันก่อนที่จะไปต่อรอง

 

 รองสมศักดิ์กล่าวว่าเราต้องจับประเด็นก่อนว่าWHAเค้าจะประชุมเรื่องอะไร ซึ่งเป็นเรื่องของProgram ตอนนี้อยู่ในขั้นรู้หัวข้อจากการประชุมEBในช่วงเดือนมกราคมและก็จะร่าง ถามว่าขณะนี้ มีร่างอะไรบ้างหรือยัง ถ้ารู้หัวข้อก็เอาเข้ากรมฯเลยและกระจายหัวข้อให้แต่ละสำนักที่เกี่ยวข้อง จะทำให้สำนักต่างๆเป็นเจ้าของagenda ด้วย จะต้องมีคนประสานแต่ละสำนัก ซึ่งประเด็นที่เป็นtechnical ก็ไม่มีปัญหาอะไร ถ้าเป็นประเด็นในเชิงนโยบายก็ต้องหาเวลาศึกษานโยบาย อาจจะต้องมีขบวนการศึกษานโยบาย

นพศุภมิตรกล่าวระหว่างนี้ 2 อาทิตย์ ต้องส่งประเด็นแต่ละหัวข้อให้สำนักที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และอีก 1 เดือนจะต้องเตรียมอะไร นพโสภณเสนอว่า หมอนครไปประชุมEB ต้นเดือนเมษาก.ส.ต. จะเรียกเข้าประชุมก็พอดี แต่ไม่ควรให้หมอนครทำคนเดียวควรจะให้คนในทีมช่วยทำด้วย

รองสมศักด์กล่าว ว่าบางเรื่องเสนอรายละเอียดเยอะมากมันจะวิชาการมากไป ประเด็นของกรมฯ  7ใน10 ประเด็นอาจจะตีกรอบว่ามีประเด็นอะไรบ้าง และเกี่ยวกับสำนักไหนบ้าง อาจจะต้องneeds เป็น internal consultation และ mostly เป็น  informal  consultation ถ้าถึงเวลาแล้วเป็น informal อาจจะต้องให้แต่ละสำนักที่มี issue เข้ามา และก็ต้องรีบเตรียมการบ้านเอาไว้ และเราต้องคอยดูว่ามี sensitive issue มั้ย ที่ต้องneeds เรื่องการตัดสินใจเชิงบริหาร ขึ้นมา เดือนหน้าเราจะได้คำตอบ ว่ามีประเด็นอะไรบ้าง หมอศุภมิตรถามว่าจะมีโควต้าให้น้องไปอีก 2 คนมั้ย

หมออัจราก็แจ้งว่าประสานกับอาจารย์โสภิดาแล้วได้ความว่าอย่าคาดหวังเลย เพราะคนในกระทรวงก้แทบจะไม่พออยู่แล้ว อาจจะให้หมอนครถามอาจารย์โสภิดาไปอีกครั้งนึง 

มติที่ประชุม

                มอบให้ นพนครแจ้งประเด็นที่จะเป็นหัวข้อในการประชุมWHA ในการประชุมกรมโดยพศุภมิตรจะประสานพนครโดยมีรองอธิบดีเป็นเจ้าของเรื่อง

3.1.3       การติดตามผลการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูและพัฒนาแพทย์ใช้ทุนปี 2552 – 2553

นพโสภณแจ้งว่าจัด workshop ขึ้นในวันที่ 22-26 กพ 2553 เดิมกลุ่มเป้าหมายคือกุมารแพทย์โรคติดเชื้อที่มีความสนใจในเรื่องระบาดวิทยาในเรื่องเฝ้าระวังและสอบสวนโรค ซึ่งเหมาะกับวัตถุประสงค์ของแพทย์ใช้ทุน และเปิดโอกาสให้มีน้องเลี้ยง โครงการพี่เลี้ยงเข้าร่วมได้ด้วย (เข้าร่วม 1 คน)

Marketing กรมฯ นายสุรพล ได้แจ้งว่าจัดทำโปสเตอร์และแผ่นพับเพื่อนำไปประชาสัมพันธ์โดยจะส่งไปให้คณะแพทย์ 19 แห่ง เพื่อประชาสัมพันธ์ว่ากรมฯมีตำแหน่งแพทย์ใช้ทุนอยู่ กี่ตำแหน่ง พญอัจฉราแจ้งว่าเอกสารควรถึงก่อนเดือนสิงหาคม

นางปาจารีย์ได้กล่าวว่าในการทำโปสเตอร์ได้รับความร่วมมือจากสำนักจัดการความรู้

พญอัจฉรากล่าวว่าจากการอบรมที่ สถาบันบำราศนราดูร เมื่อช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมาก็ได้รับแบบประเมินมาสรุปดังนี้ ทุกคนก็พอใจที่เรียน และอยากจะเพิ่มเติมเรื่อง calls ling การบอกผู้ป่วยก่อน-หลังตรวจและเทคนิคในการแจ้งผลเลือด และนพ.พิสุทธิ์นำเสนอว่าอยากเรียนรู้เรื่องการบริหารโรคในระดับเขต บริหารอย่างไร อยากให้มีการไปดูงานนอกสถานที่บ้าง ขณะนี้ก็เหลือกามโรค โรคเรื้อน และระบาด ที่จะจัดขึ้นอีก และได้ให้เตยกับพลอยเก็บรวบรวมหลักสูตรไว้เป็นมาตรฐานของการดูแลผู้เข้าร่วมหลักสูตร

นพสมศักดิ์กล่าวว่า กรมฯเราจะมีคนทำงานเช่น แพทย์ปี 3 คือ พญ.มนัสนันท์และหมอหว๋า แพทย์ปี2 นพ.พิสุทธิ์ ถ้ามีแบบนี้ปีละ 2 คน เราอาจจะได้แพทย์ที่พัฒนาแล้วตามโครงการครบเป้าหมาย คือ 50 คน

มติที่ประชุม รับทราบ

3.1.4โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการพัฒนาศักยภาพข้าราชการผู้มีสมรรถนะสูง (Talent) ของกรมควบคุมโรค

- พญอัจฉรา นำเสนอโครงการว่าได้เพิ่มตัวชี้วัดให้มีผลผลิตที่ชัดเจนขึ้นตามคำแนะนำของนพ.ยุทธิชัย โดยกำหนดให้ร้อยละ40ของหน่วยงานมีแผนHRDและแผนระบบTalent Management โดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้ผู้อำนวยการของแต่ละหน่วยงานสามารถคิดเชื่อมโยงเข้ากับระบบคุณภาพที่มีอยู่แล้ว

นพ.สมเกียรติถามเกี่ยวกับการดูงานที่บริษัทโตโยต้าและการดูงานที่ภาครัฐอื่นๆที่ทำTMได้ดีมีที่ใหนบ้าง

พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ  สรุปกิจกรรมโครงการว่ามีการเชิญนพ.ประสิทธิ บรรยายเพื่อให้ผู้ฟังกลับไปทำโดยมีการทำ talent blog  การเล่าเรื่องจากคนที่ทำดีๆ  มีการประชุมกลุ่มเพื่อทำretention of talent   หลังจากนั้นมีการดูงานและจะจัดให้มีการนำเสนออีกครั้ง

นพ.ปรีชา  กล่าวว่าที่บำราศ เราจะสนับสนุนคนเก่ง คนดี คนเสียสละ โดยเราส่งเรียนที่รามาธิบดีทั้งแพทย์ พยาบาล   และจะส่งทุกๆปี

รองฮธิบดี นพ.สมศักดิ์เห็นด้วยที่ใช้ ร้อยละ40 ของหน่วยงานมีแผนHRDและแผน TM   แต่ถ้าผลผลิตคือแผน   Talent ทีมาประชุมอาจจะไม่ได้ทำ HRD    คนเข้าประชุมอาจเป้นนักทรัพยากรมนุษย์

พญ.ปิยวรรณและพญ.อัจฉรา เพิ่มเติมว่า     ผู้ที่มาเข้าประชุมพร้อมผู้บริหารจะกำหนด คุณสมบัติโดยไม่กำหนดตำแหน่ง    ขึ้นกับผู้บริหารจะเลือกคนเก่าหรือคนใหม่

นพ. ศุภมิตร  ชุณหสวัสดิ์กุล  แนะนำให้ข้อมูลอาจารย์ที่เป็นวิทยากรทราบว่าทางกรมควบคุมโรคทำTM ถึงใหนบ้างเพื่ออาจารย์จะได้ใช้เวลาให้เหมาะกับความต้องการ

มติที่ประชุม

                 1กำหนดวันประชุม เป้นวันพฤหัส ศุกร์ ที่ ……..

                  2 โครงการTM สรุปโครงการและส่งเอกสารกิจกรรมที่ดำเนินการที่ผ่านมาให้วิทยากรทราบ

                  

 

มติที่ประชุม รับทราบ

 

ปิดประชุม   เวลา    16.10 น.

                                                                        ผู้สรุปรายงานการประชุม นส.ดวงภาณิชา สุขพัฒนนิกูล

                                                                        ผู้สรุปรายงานการประชุม นายธีรวิทย์        ตั้งจิตไพศาล

                                                                                    ผู้ตรวจรายงานการประชุม พญ.อัจฉรา          เชาวะวณิช และ นางปาจารีย์  อัสวเสนา

หมายเลขบันทึก: 335320เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2010 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท