โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) เทศบาลนครนคราชสีมา

ข้อคิดจากถังน้ำสองใบ ...โดยครูสุภาภรณ์


ยอมรับคนแต่ละคนในแบบที่เขาเป็น.. และมองหาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวของพวกเขา

          ชายจีนคนหนึ่งแบกถังน้ำสองใบไว้บนบ่าเพื่อไปตักน้ำที่ริมลำธาร   ถังน้ำใบหนึ่งมีรอยแตก ในขณะที่อีกใบหนึ่งไร้รอยตำหนิ   และสามารถบรรจุน้ำกลับมาได้เต็มถัง   ...แต่ด้วยระยะทางอันยาวไกล จากลำธารกลับสู่บ้าน....   จึงทำให้น้ำที่อยู่ในถังใบที่มีรอยแตกเหลืออยู่เพียงครึ่งเดียว 

        เหตุการณ์ ทั้งหมดนี้ดำเนินมาเป็นเวลา 2 ปีเต็มที่คนตักน้ำสามารถตักน้ำ กลับมาบ้านได้หนึ่งถังครึ่ง....ซึ่งแน่นอน ว่าถังน้ำใบที่ไม่มีตำหนิจะรู้สึกภาคภูมิใจ ใน ผลงานเป็นอย่างยิ่ง ...ขณะเดียวกันถังน้ำที่มีรอยแตกก็รู้สึก อับอายต่อความบกพร่องของตัวเอง มันรู้สึกโศกเศร้ากับการที่มันสามารถทำหน้าที่ได้เพียงครึ่งเดียวของจุดประสงค์ ที่มันถูกสร้างขึ้นมา
                                                                              
        หลังจากเวลา 2 ปี… ที่ถังน้ำที่มีรอยแตกมองว่าเป็นความล้มเหลวอันขมขื่น   วันหนึ่งที่ข้างลำธาร... มันได้พูดกับคนตักน้ำว่า "ข้ารู้สึกอับอายตัวเอง   เป็นเพราะรอยแตกที่ด้านข้างของตัวข้า   ที่ทำให้น้ำที่อยู่ข้างในไหลออกมาตลอดเส้นทาง   ที่กลับไปยังบ้านของท่าน" 

        คนตักน้ำตอบว่า   "เจ้าเคยสังเกตหรือไม่ว่ามีดอกไม้เบ่งบานอยู่ตลอดเส้นทางในด้านของเจ้า...   แต่กลับไม่มีดอกไม้อยู่เลยในอีกด้านหนึ่ง...      เพราะข้ารู้ว่าเจ้ามีรอยแตกอยู่....   ข้าจึงได้หว่านเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ลงข้างทางเดินด้านของเจ้าและทุกวันที่เราเดินกลับ...    เจ้าก็เป็นผู้รดน้ำให้กับเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นเป็นเวลา 2 ปี ที่ข้าสามารถที่จะเก็บดอกไม้สวย ๆ เหล่านั้น    กลับมาแต่งโต๊ะกินข้าว   ถ้าหากปราศจากเจ้าที่เป็นเจ้าแบบนี้แล้ว...   เราก็คงไม่อาจได้รับความสวยงามแบบนี้ได้"

 

                                         
        คนเราแต่ละคนย่อมมีข้อบกพร่องที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง...
        แต่รอยตำหนิและข้อบกพร่องที่เราแต่ละคนมีนั้น
        อาจช่วยทำให้การอยู่ร่วมกันของเราน่าสนใจ และกลายเป็นบำเหน็จรางวัลของชีวิตได้....

                                            

        สิ่งที่ต้องทำก็เพียงแค่ยอมรับคนแต่ละคนในแบบที่เขาเป็น..
        และมองหาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวของพวกเขาเหล่านั้นเท่านั้นเอง

 

P

ครูสุภาภรณ์

ครูสุภาภรณ์ พลเจริญชัย

โรงเรียนเทศบาล4(เพาะชำ)

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://tahwan.exteen.com/20080911/entry-1

 

หมายเลขบันทึก: 334882เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2010 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ สังคมสวยงามด้วยความแตกต่าง ประดุจแจกันที่ต้องประดับด้วยดอกไม้หลากสี หลายพันธ์ จัดให้สูงต่ำ ก่อนหลัง ผู้จัดที่มีศิลปะย่อมวางตำแหน่งแห่งที่ของดอกไม้ หรือแม้แต่กิ่งไม้ที่แห้งตายและคดงอ เมื่อวางให้ถูกที่ก็ช่วยให้แจกันดอกไม้สวยงามได้ครับ ขอบคุณที่นำเรื่องดี ๆ มาให้พวกเราชาวท.4 (เพาะชำ)ได้อ่านครับ

ผอ.ศักดิ์เดช

ขอขอบคุณ ท่าน ผอ.ศักดิ์เดช ที่เข้ามาเยี่ยมชม และให้ข้อคิดเพิ่มเติม

ภาพเคลื่อนไหว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท