เคล็ดวิชากระบวนกร (1) : ต้องก้าวข้ามกระบวนทัศน์การเรียนรู้เดิม


กระบวนกรต้องนำพาผู้เรียนเข้าสู่สภาะ "สัมปะชัญญะ" ให้ได้ก่อนที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ (หมายเหตุ สภาวะนี้อธิบายด้วยคำพูดได้ยาก อ่านหนังสือเองก็จะไม่เข้าใจ ต้องสัมผัสด้วยตนเองแล้วจะเห็นเอง) การเข้าสู่สภาวะ "สัมปะชัญญะ" ของผู้เรียนได้นั้น คือ การเริ่มต้นของการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา ไม่เช่นนั้นผู้เรียนจะไม่สามารถก้าวข้ามจากการเรียนรู้กระบวนทัศน์เก่าที่เรียนด้วยสมอง ก้าวไปสู่การเรียนรู้ในกระบวนทัศน์ใหม่ที่เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญได้

 

กระบวนกรฝึกหัดจำนวนไม่น้อยเมื่อไปทดลองเป็นกระบวนกรจริง ๆ นั้น จะพบว่า บางครั้งก็ work และบางครั้งก็ไม่ work ท่านคิดว่า เป็นเพราะเหตุใด ? ...

 

 

 

 

Jitta01

 

  • ที่เป็นเช่นนั้น คงมีเหตุปัจจัยแตกต่างกันไป

 

 

  • ส่วนตัวผมแล้ว หลังจากที่ได้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกระบวนกรจิตตปัญญาศึกษา ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฏาคม 2551 ก็ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและนำมาบูรณาการตามบุญวาสนาและวิถีแห่งตน โดยทำการปรับปรุงให้ดีขึ้นตลอดเวลา  แต่ก็ยังดูเหมือนว่า ติดขัดอะไรบางอย่างที่ทำให้บางครั้งผมไม่สามารถนำพาผู้เรียนไปถึงฝั่งที่ควรจะเป็นได้
  • เมื่อได้รับการฝึกอบรม 4 วันในครั้งนี้ ทำให้ผมทราบเหตุปัจจัยหลักของปัญหาการเป็นกระบวนกรของผม นั่นคือ ผมไม่เข้าใจเคล็ดวิชาบางอย่างที่เป็นหัวใจสำคัญของการเป็นกระบวนกร นั่นเอง

 

 

 

Jitta02

 

 

  • เคล็ดวิชาที่ว่านั่นคือ  ...กระบวนกรต้องนำพาผู้เรียนเข้าสู่สภาะ "สัมปะชัญญะ" ให้ได้ก่อนที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ (หมายเหตุ สภาวะนี้อธิบายด้วยคำพูดได้ยาก อ่านหนังสือเองก็จะไม่เข้าใจ ต้องสัมผัสด้วยตนเองแล้วจะเห็นเอง) การเข้าสู่สภาวะ "สัมปะชัญญะ" ของผู้เรียนได้นั้น คือ การเริ่มต้นของการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา ไม่เช่นนั้นผู้เรียนจะไม่สามารถก้าวข้ามจากการเรียนรู้กระบวนทัศน์เก่าที่เรียนด้วยสมอง ก้าวไปสู่การเรียนรู้ในกระบวนทัศน์ใหม่ที่เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญได้
  • จริง ๆ แล้วง่ายกว่าที่คิดเยอะ นั่นคือ ไม่ต้องคิดนั่นเอง สัมผัสตรง ๆ ด้วยกับใจที่เปราะบางของผู้เริ่มต้นใหม่สดเสมอนั่นเอง

 

  • ในบันทึกต่อ ๆ ไปเราจะมาดูกันว่า เราจะนำพาผู้เรียนเข้าสู่ "สัมปะชัญญะ" ได้อย่างไร ? เมื่อเข้าสู่สัมปะชัญญะได้แล้ว จะทำอย่างไรต่อไป เป้าหมายคืออะไรกันแน่ ? ...

 

หมายเลขบันทึก: 334640เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2010 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมไม่ค่อยมีความรู้ที่แตกฉาน เรื่อง กระบวนกร จิตตปัญญาการศึกษาเท่าไหร่นัก...แต่ก็เห็นด้วยที่ว่าผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ องค์ประกอบที่สำคัญก็คือ ตัวผู้เรียนเองจะต้องมีความพร้อม และความรู้สึกตัว ในการเรียนรู้นั่นเอง...ขอบคุณท่านอาจารย์ที่มีวิทยาทานใหม่ ๆ ผมจะติดตามตอนต่อไปครับ...

 

สวัสดีครับ

  • เมื่อวานตอนเช้าได้ถามอาจารย์ใหญ่เกี่ยวกับสภาวะดังกล่าว อาจารย์ใหญ่ท่านบอกว่าเป็น "มณฑลแห่งพลัง"
  • เมื่อเช้านี้ได้อ่านหนังสือของ "มณฑลแห่งพลัง" ของท่าน ถึงได้เข้าใจ มณฑลแห่งพลังมากขึ้น ณ ตอนนี้ผมเข้าใจว่า มณฑลแห่งพลัง กับ สัมปะชัญญะ น่าจะเป็นสิ่งเดียวกันนะครับ
  • บางทีเราก็อธิบายสภาวะต่าง ๆ ด้วยตัวหนังสือได้ยากกว่า การสัมผัสเห็นด้วยตนเอง

สวัสดีค่ะ

วันนี้ตั้งใจปรับเวลานอนของตัวเองเพื่อให้ร่างกายสบายขึ้น

แต่เจอบทความของท่านจากเน็ต แล้วพาใจเลื้อยตามมาเรียนรู้

คืนนี้ถ้าไม่ได้อะไรเลยนอนไม่หลับอีกเช่นเคย

ขอบคุณที่พยายามอธิบายให้ชัดเจนค่ะ

 

สวัสดีครับ krutoiting

  • ขอบพระคุณที่ให้ความสนใจครับ
  • ผมตามอ่านบันทึกของผมเอง ถึงได้ทราบว่าเขียนแล้วอ่านเข้าใจค่อนข้างยาก ข้ามไปข้ามมา ไม่ปะติดปะต่อ ทั้งนี้สาเหตุหลักน่าจะเกิดจากการเขียนส่วนใหญ่ผมจะเขียนตอนที่ ปิ๊งแว็บ! เขียนโดยไม่อ่านทบทวน และไม่กลับมาแก้ไขครับ แต่ก็พยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ในโอกาสต่อไปครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท