CoP เคมีบำบัดนำเสนอผลงาน..การป้องกันช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด


วันที่  4-5 กุมภาพันธ์  2553  เราส่งนางสาวสุกัญญา จันหีบ ไปนำเสนอผลงานในการประชุม

การนำเสนอผลงานวิจัย/ผลงานพัฒนาคุณภาพ  การประชุมวิชาการ  ICN  Forum  ครั้งที่  5  เรื่อง  กะเทาะเปลือกงาน IC เพื่อชีวีปลอดภัย  (Safe all life by IC)  ณ  โรงแรมริชมอนด์  จังหวัดนนทบุรี

เราส่งผลงานเรื่อง แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการป้องกันและบรรเทาการเกิดช่องปากอักเสบ ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

Clinical Nursing Practice Guideline to Prevent and Relieve Oral   Mucositis in Cancer Patients  Receiving Chemotherapy

บทคัดย่อผลงานวิจัย / ผลงานพัฒนาคุณภาพ

  1. ชื่อเรื่อง   แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการป้องกันและบรรเทาการเกิดช่องปากอักเสบ ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด 
  2. ชื่อผู้วิจัย /นำเสนอ   สุกัญญา จันหีบ* ฌัฐยา จันทร์สมคอย และพยาบาลประจำการ หอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ
  3. สถานที่ปฏิบัติงาน   หอผู้ป่วยเคมีบำบัด แผนกการพยาบาลบำบัดพิเศษ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  4. ความเป็นมา   ยาเคมีบำบัดมีผลทำให้เยื่อบุในช่องปากอักเสบภายใน 3-7 วัน อาการจะคงอยู่นาน 2-3 สัปดาห์  จะมีผลทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อง่ายและทุกข์ทรมานจากการเจ็บปวด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จึงได้พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการลดช่องปากอักเสบสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด  ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้ป่วยลดความทุกข์ทรมานจากการเกิดช่องปากอักเสบได้
  5. วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการเกิดช่องปากอักเสบหลังการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาล เรื่อง การลดช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
  6. วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการสังเคราะห์ความรู้ โดยมีขั้นตอนคือ การสืบค้นแหล่งข้อมูล การวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยให้ได้องค์ความรู้ คัดเลือกงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้ 5 เรื่อง แล้วนำมาสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาล และให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำมาใช้  เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินช่องปาก ตาม WHO และแนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดไม่มีภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ   กระบวนการนำไปใช้กับผู้ป่วย   ระยะแรก สร้างสัมพันธภาพ  ระยะดำเนินการ ประเมินช่องปากผู้ป่วยตามแบบประเมินและให้การพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาล  ระยะสิ้นสุด  บันทึกการประเมินช่องปากและวิธีการพยาบาลรวมทั้งผลลัพธ์การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาล
  7. ผลการศึกษา      ศึกษา ระหว่าง 1 มิถุนายน –ธันวาคม 2552 ในหอผู้ป่วยเคมีบำบัด  โรงพยาบาลศรีนครินทร์  โดยให้พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างขึ้น
  8. ผลการทดลอง พบว่า  มีผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 55  คน เป็นผู้ป่วยชายร้อยละ64.8  ผู้ป่วยหญิง ร้อยละ 35.2  อายุ  17-70  ปี ค่าเฉลี่ย 46 ปี   SD 37.47 ป่วยเป็นมะเร็งศีรษะและลำคอ  ร้อยละ 70.91 รองลงมาเป็นผู้ป่วยมะเร็งกระดูก ร้อยละ 16.36 ที่เหลือเป็นมะเร็งชนิดอื่นๆ ร้อยละ 12.73 เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว  มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น  ผู้ป่วยเป็นมะเร็งที่ยังไม่แพร่กระจาย ร้อยละ 41.16 เป็นระยะแพร่กระจายร้อยละ 58.84 โดยแพร่กระจายไปที่ปอด ร้อยละ 29.44 ที่กระดูก ร้อยละ 13.23 ที่ต่อมน้ำเหลืองร้อยละ11.76 และที่ตับ ร้อยละ 4.41 ในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดครั้งนี้ ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำแบบหยดต่อเนื่องกัน ซึ่งยาเคมีบำบัดที่ได้รับคือ cisplatin หยดทางหลอดเลือดดำติดต่อกัน 2 ชั่วโมงและ 5-fluouracil  ผสมในสารน้ำหยดทางหลอดเลือดดำติดต่อกัน 24 ชั่วโมง ต่อเนื่องกัน 4-5 วัน จากการนำแนวปฏิบัติเรื่อง การลดช่องปากอักเสบผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดมาใช้  ผลการประเมิน ในกลุ่มที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่มีผลต่อการเกิดช่องปากอักเสบ  พบว่า ผู้ป่วยไม่เกิดช่องปากอักเสบ เกรด 0  ร้อยละ 54.55  เกรด 1 ร้อยละ 34.55  เกรด 2 ร้อยละ 7.27 เกรด 3 ร้อยละ 3.63  เกรด 4 ไม่พบ  
  9. สรุปผล อัตราการเกิดภาวะช่องปากอักเสบภายหลังการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ พบร้อยละ 45.45 แต่ไม่พบภาวะช่องปากอักเสบเกรด 4 เลย จะเห็นว่าอัตราการเกิดช่องปากอักเสบลดลงเมื่อเทียบกับข้อมูลการเกิดช่องปากอักเสบของหอผู้ป่วยในขณะที่ยังไม่ได้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พบร้อยละ 60  ผลลัพธ์การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ปฏิบัติได้ร้อยละ 95.78  ส่วนที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ร้อยละ 4.22 เรื่องการแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในเรื่องต่างๆ  สำหรับยาบรรเทาปวดในช่องปากที่ใช้  คือ  Xylocain viscious ร้อยละ 30.9 ใช้ยาบรรเทาปวด  ร้อยละ 1.82  และกลุ่มไม่ได้ใช้ยาบรรเทาปวดเลย พบร้อยละ 81.82
  10. สรุป   แนวปฏิบัติการพยาบาล เรื่อง การลดช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด สามารถลดอัตราการเกิดช่องปากอักเสบได้ในผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงจากการได้รับยา  ดังนั้นแนวปฏิบัตินี้สามารถนำมาใช้ในการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดช่องปากอักเสบได้
  11. บทเรียนที่ได้รับ การดูแลผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติการพยาบาล โดยเฉพาะการอมน้ำแข็ง (ice chips) สามารถป้องกันการเกิดช่องปากอักเสบได้และนำมาใช้เพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดในช่องปากได้ด้วย ดังนั้นแนวปฏิบัติการพยาบาลจะสามารถนำไปใช้ได้ในหอผู้ป่วยอื่นๆที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้   

 

.......................

 

แก้ว อุบล จ๋วงพานิช บันทึก

7 กุมภาพันธ์ 2553

6.41 น. 

หมายเลขบันทึก: 334487เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2010 06:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรากำลังเขียนเพื่อไปนำเสนอผลงานที่ Texas

Using Evidence-Based for Developing of Clinical Nursing Practice Guideline to Prevent and Relieve Oral   Mucositis in Cancer Patients  Receiving Chemotherapy.

Dead line March 8, 2010.

ประชุม July 8-10, 2010 -  San Antonio, Texas, USA
Summer Institute on Evidence-Based Practice, "Frontline Improvement - How to do it, how to lead it, how to inform it!" E-mail: [email protected]; Web: http://www.acestar.uthscsa.edu/institute/su10.html

หัวข้อน่าสนใจมากเลยค่ะ โดยเฉพาะเมื่อเรามีคนใกล้ชิดที่กำลังต้องเผชิญกับสภาพที่ว่านี้ ทางทีมมีรายละเอียดของแนวปฏิบัตินี้มาเผื่อแผ่ทางบันทึกบ้างหรือยังคะ จะได้นำไปบอกเล่าให้ปฏิบัติกันได้น่ะค่ะ น่าจะเป็นประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางทีเดียว

พอดีอ่านพบคำตกหล่นและเกินในบันทึกนิดหน่อยค่ะ ตามรายละเอียดข้างล่างนี้นะคะ

ในหัวข้อ 4 วรรคสุดท้าย คำว่า"ปาก"ตกไปค่ะ กับวรรคท้ายของหัวข้อ 9 มีอะไรเกินมาไหมคะตรงที่ต่อจากร้อยละ 81.82 น่ะค่ะ

ขอบคุณทางทีมงานที่นำมาเผยแพร่นะคะ

 

P

ขอบคุณ อาจารย์โอ๋ค่ะ ที่แจ้งคำผิด

แนวปฏิบัติกำลังปรับอีกเล็กน้อยค่ะ

ช่วงนี้ก็บ้วนปากด้วยน้ำเกลือหรือบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดก็ได้

พี่แก้ว ตอบคำถาม

เราส่งงานไป 1 มีนาคม 2553

Abstract

Using Evidence-Based for Developing of Clinical Nursing Practice Guideline to Prevent and Relieve Oral   Mucositis in Cancer Patients  Receiving Chemotherapy

  Ubol Juangpanich

Chemotherapy ward (5E)  Nursing Department,  Srinagarind  Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen   University    40002  Thailand

Fax 66-43202471

 

ได้ตอบรับ 6 มีนาคม 2553

Dear Ubol Juangpanich,

 

This is to confirm that I have received your abstract packet with your Summer Institute abstract “Using Evidence-Based for Developing of Clinical Nursing Practice Guideline to Prevent and Relieve Oral Mucositis in Cancer Patients Receiving Chemotherapy”.  Your paperwork is currently being processed.

 

Presenters will be notified of acceptance by Monday, April 12, 2010.

 

Thank you for your submission.

Joan Feller

Administrative Assistant I

Academic Center for Evidence-Based Practice (ACE)

UT Health Science Center San Antonio

7703 Floyd Curl Drive, MC 7949

San Antonio, TX 78229-3900

Phone: (210) 567-1480

Fax: (210) 567-5822

 

สวัสดีค่ะอยากสอบถามว่าการประเมินช่องปากตาม WHO น่ะค่ะในแต่ละเกรดมีรูปภาพประกอบหรือเปล่าค่ะ อยากได้น่ะค่ะอาจารย์ ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท