ถ้าพูดถึงเมืองที่เป็นที่นิยมในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในแถบประเทศตะวันตกในแถบทวีปเอเชีย หนึ่งในนั้นก็ต้องมีประเทศไทย ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องของรอยยิ้มสยาม และแหล่งวัฒนธรรม รวมถึงเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของเมืองไทย ไม่ใช่เรืองแปลกที่ชื่อเสียงเหล่านี้จะดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกให้หลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวเมืองไทยอย่างไม่ขาดสาย และเมื่อมาเที่ยวเมืองไทยแล้ว สิ่งที่ฝรั่งมังค่าทั้งหลายส่วนมากจะพลาดไม่ได้ที่จะต้องมาเยี่ยมชมนั่นก็คือ วัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง และ สนามหลวง สถานที่ทั้งหลายที่พูดถึง จะถูกมองในมุมที่สวยงาม เป็นหน้าเป็นตาของประเทศชาติ ทั้งในเรื่องของประวัติศาสตร์ ความสวยงามของสถานที่ แต่จะมีนักท่องเที่ยวคนไหน หรือบางทีอาจจะไม่ใช่นักท่องเที่ยว แต่อาจจะเป็นเราๆท่านๆที่เรียกตัวเองว่าเป็นคนไทย คนกรุงเทพ เองด้วยซ้ำ ที่มองมากไปกว่ามุมที่คนอื่นๆมองเห็น สถานที่ที่เอ่ยถึงมานั้น สองที่แรก ผมมิอาจเอื้อมที่จะไปแตะต้องเนื่องจากเป็นสถานที่ที่ถูกบำรุงรักษาอย่างค่อนข้างจะสมบูรณ์ ทำให้ไม่มีอะไรสามารถไปทำให้แปดเปื้อนมีมลทิลได้ แต่สถานที่สุดท้าย เป็นที่สาธารณะ ที่ใครๆก็สามรถเข้าออกได้ โดยไม่ต้องมีกฎกติกา อีกทั้งยังเปรียบเสมือนจุดศูนย์กลางในการเดินทางของคนกรุง สถานที่นี้ก็คือสนามหลวง ด้วยความเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยว ที่พักผ่อน จุดศูนย์กลางในการเดินทางของสนามหลวง ทำให้ต่อวันจะมีผู้คนต่างถิ่นเดินทางเข้าออกผ่านสนามหลวงกันแบบนับไม่ถ้วน บางคนก็ตั้งใจที่จะมาท่องเที่ยว แล้วก็กลับ คนที่ผ่านไปผ่านมาบางคนก็มาแบบเป็นที่พักเพื่อคิดว่าจะไปที่ไหนต่อ บ่อยครั้งคิดต่อไม่ออกบางรายก็ต้องใช้ที่นี่เป็นที่พักชั่วคราว ตามประสาของคนยากจน หรือที่นักวิชาการบางคนเรียกว่า คนรากหญ้า จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บ่อยครั้งเวลาที่เราเดินผ่านสนามหลวงจะได้พบเห็นผู้คนที่นอนหนุนกระเป๋าเสื้อผ้าหนวดเครารุงรังนอนอยู่ตามเก้าอี้ที่เอาไว้ใช้นั่งเพื่อพักผ่อนหย่อยใจ หรือบางครั้งอาจจะเห็นมีการตากเสื้อผ้า รวมถึงผ้าอ้อมเด็กกับพื้นหญ้ากลางสนามหลวง และด้วยการที่จุดยุทธศาสตร์เป็นทางผ่านไปมานั่น ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกนั่นแหละ ที่เราจะเห็นพ่อค้า แม่ค้า หรือคนทำมาหากินอาชีพต่างๆ ทั้งแปลกและไม่แปลก ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ปะปนกันอยู่มากมายมาย สรุปแล้ว สนามหลวง จะประกอบไปด้วยผู้คนทุกชนชั้น ตั้งแต่ ระดับเจ้า ระดับนาย ที่จะใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีและเป็นทางผ่าน ชนชั้นกลาง ที่ใช้เป็นที่พักผ่อนหรือต่อรถ และคนจนที่จะใช้ที่นี่เป็นที่ประกอบอาชีพ ทำมาหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ที่หนักไปกว่านั้น ที่นี่ยังประกอบไปด้วยคนที่ไม่ค่อยมีเงิน(มากกว่าคำว่า
“
จน
”
)ที่จะใช้ที่นี่เป็นที่พักพิงเพื่อรอเวลาที่จะไปหาญาติ หรือรอเวลาที่ว่าเมื่อไหร่จะคิดออกว่าจะไปที่ไหน ยังไม่หมดครับ ที่นี่ยังประกอบไปด้วยคนที่หมดหวังกับชีวิต คนวิกลจริต ฯลฯ หลากหลาย ผมใช้เวลาเดินท้องสนามหลวง
4
ปี(ในชีวิตการเร่ร่อนจริงๆ) กับ
4
เดือนที่ลงคบหาพูดคุยกับเพื่อนๆที่เดินประจำอยู่ที่ สนามหลวง ทำให้ผมสามารถแบ่งและวิเคราะห์คนที่เดินทำประจำอยู่ที่สนามหลวง(
4
ปีที่เร่ร่อนไม่ได้คิดวิเคราะห์
4
เดือนพูดคุยวิเคราะห์จากประสบการณ์) ได้ดังนี้โซนตรงสนามหลวง(หมายถึงตรงที่มีต้นมะขามและตรงสนามหญ้าที่ใช้จัดงานทั้งราชพิธี)คนที่เดินประจำอยู่ตรงนั้น จะเป็นพ่อค้าแม่ค้า ที่ทำมาหากินไปวันๆ หญิงหรือชายที่ใช้เรือนร่างประกอบอาชีพซึ่งจะมีอายุค่อนข้างน้อย หรือที่เราเรียกกันว่า วัยรุ่น ซึ่งคนที่เดินประจำอยู่ตรงนี้จะค่อนข้างดูดีสะอาดสะอ้าน และมีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่งหน่อย แต่เราก็ไม่สามารถเรียกคนกลุ่มนี้ว่า คนมีอันจะกินได้ ถ้าเดินข้ามถนนออกจากตรงกลางสนามหลวงมาฝั่งศาลฎีกา และถัดไปยังบริเวณพระแม่ธรณีบีบมวยผม(สัญลักษณ์พรรคการเมืองพรรคหนึ่ง) และเลยถึงหลังศาลทั้งสองฟากของริมคลองหลอด ลักษณะของคนที่เดินประจำ หรือคนทำมาหากินอยู่ตรงนี้ จะแตกต่างจากโซนแรกอย่างเห็นได้ชัด ที่ว่าแตกต่างนั้น ไม่ได้หมายถึงการทำมาหากินที่แตกต่าง อาชีพทุกอย่างเหมือนกันแทบไม่มีผิดเพี้ยน แต่สิ่งที่แตกต่างคือสภาพของคนนั่นเอง โซนที่สองนี้ คนที่เดินประจำหรือคนที่ทำมาหากินอยู่ตรงนี้จะดูขมุกขมัว ถ้าเป็นแม่ค้าพ่อค้า บ่อยครั้งเราจะเห็นว่าใช้สถานที่ที่ตัวเองขายของ เป็นที่หลับ ที่นอน เสื้อผาไม่ได้เปลี่ยน น้าท่า ไม่ได้อาบ ถ้าเป็นหญิงหรือชายที่ใช้เรือนร่างของตัวเองประกอบอาชีพ ก็จะดูมีอายุ ตั้งแต่
25
ไปจนถึง มากที่สุดที่ผมเคยพูดคุยด้วยคือ
74
บางคนก็อยู่ในอาการเจ็บป่วย บางคนก็มีลูกเล็กๆ นอนอยู่ข้างๆบนเสื่อผื่นเก่าๆ สภาพร้านค้าก็มืดๆ ไฟส่องไม่ถึงสินค้า ซึ่งคนที่เดินประจำ และทำมาหากินอยู่ตรงนี้ ก็จะเรียกตัวเองว่า
“
คนสนามหลวง
”
เช่นกัน เป็นที่น่าแปลกใจว่า เพราะอะไรในเมื่อเรียกตัวเองว่าเป็นคนสนามหลวงเหมือนกัน อาชีพก็ไม่แตกต่างกัน อีกทั้งสถานที่ก็ไม่ได้ไกลกัน ผู้คนถึงมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด การลงเดินสนามหลวง(แบบประจำ)ครั้งที่สองในชีวิตผม ทำให้ผมได้พบกับมุมมองที่แตกต่างจากคนทั่วๆไปที่มองว่าสนามหลวงเป็นแค่พื้รที่ประวัติศาสตร์ เป็นหน้าเป็นตาของประเทศเพียงเท่านั้นเหมือนกับที่ทุกๆคนมอง
คนแรกที่ผมได้พูดคุยด้วย เธอเป็นผู้หญิงวัยกลางคน ผมยาว สะอาดสะอ้าน เธอขายของเล็กๆน้อยๆให้แก่คนที่ผ่านไปผ่านมาที่ท้องสนามหลวง บริเวณต้นมะขามตรงกันข้ามศาลฎีกา เธอชื่อ พัด ผมได้คุยกับเธอบ่อยครั้ง เธอบอกว่าปัญหาของเธอคือ เธอไม่มีเงินที่จะไปทำมาหากินอย่างอื่น ทางดิ้นรนทางเดียวของเธอคือการมาขายของเล็กๆน้อยๆให้แก่คนที่ผ่านมาตรงนี้(บุหรี่แบ่งขายสามมวนห้าบาท น้ำอัดลม ลูกอมฯลฯ) บางวันดีหน่อยก็ได้กำไร สี่ห้าร้อย บางวันก็ได้กำไรร้อยกว่าบาท บางวันแย่ๆ นั่งตั้งแต่สามโมงเย็นถึงสามทุ่มขายน้ำอัดลมได้สามขวด บางวันฝนตกก็ออกมาขานไม่ได้แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เธอก็มีบ้านเช่าเป็นที่อยู่แบบเป็นหลักแหล่งมีโทรศัพท์มืถือที่ติดต่อได้ คนต่อมาเป็นหมอดู ที่ค่อนข้างพูดเก่ง(ตามคุณสมบัติเฉพาะของหมอดูทั่วไป)ก็ไม่ต่างจากพี่พัด คือปัญหาในการทำมาหากินเหมือนกัน แต่ถึงอย่างไรก็มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งมีโทรศัพท์มือถือที่จะติดต่อได้ และอีกหลายคนที่เหมือนกันอยู่โซนเดียวกัน เวลาผ่านมาผมก็ได้รู้จักกับเพื่อนโซนคลองหลอด เพื่อนคนนี้ชื่อ ป
.
เพื่อนคนนี้มีอาชีพจับของเก่ามาขาย(จากปากคำที่ได้พูดคุยกันการจับของเก่าของเขาหมายถึงการซื้อมาขายไป การขู่เพื่อให้ได้มา รวมไปถึงการยกเค้าเพื่อให้ได้มา)เพื่อนคนนี้เช่าบ้านเป็นรายวัน วันละร้อย มีคู่ชีวิตที่ใช้ร่างกายประกอบอาชีพ มีแมวเป็นเหมือนลูก เบอร์โทรศัพท์มือถือที่เขาให้ผมมาในช่วงหนึ่งอาทิตย์กว่าสามเบอร์ ซึ่งไม่มีเบอร์ไหนที่โทรกลับแล้วเจอเพื่อน ป
.
เลยสักครั้ง บางวันขายของได้ก็หมดเงินไปกับเบียร์ หรือ ยาเสพติด มีเงินก็ได้กลับไปนอนที่ห้องเช่ารายวัน ไม่มีเงินก็ไม่ได้กลับ นอนอยู่ริมคลองไม่ได้อาบน้ำ ไม่ได้เปลี่ยนเสื้อผ้า เช่นเดียวกับเพื่อน ดำ(นามสมมติ) เพื่อนเสริท และอีกหลายๆคน สิ่งที่ผมสงสัยก็คือ ทำไมเพื่อนๆที่ผมรู้จัก อาชีพไม่แตกต่างกัน เรียกตัวเองว่าคนสนามหลวงเหมือนกัน แต่ทำไมมีสภาพการเป็นอยู่ที่แตกต่างกันสิ้นเชิง หรืออาจจะเป็นที่โซนแรกเป็นโซนที่เปิด หรือโซนรับแขก คนที่ทำมาหากินอยู่ที่นั่นถึงแม้ว่าจะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นคนจนแต่ก็ยังดูดีหน่อยยังสามารถเดินทำวาหากินอยู่ตรงนั้นได้(กลางสนามหลวงที่มีคำสั่งปิดตั้งแต่ห้าทุ่มถึงตีห้า)ถึงแม้จะถูกไล่บ้างเป็นบางครั้ง ส่วนโซนที่สองเป็นมุมอับ ถึงแม้จะเป็นคนที่ประกอบอาชีพทำมาหากินเหมือนกัน แต่อาจจะจนกว่าจึงถูกกวาดต้อนออกจากโซนแรกอย่างเข้มงวด
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณประโยชน์) ใน เสียงสะท้อนจากฅนด้อยโอกาส
ดีค่ะ