แผนที่สังคมมิติ


แผนที่สังคมมิติเปรียบเหมือนเครื่องมือตรวจจับความสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการกับสภาวะแวดล้อมที่สำคัญ

 

      ถูกสั่งพักสายตาหลายวันรู้สึกดีขึ้นจึงจับหนังสือ social work case management มาอ่านออกกำลังสายตาหน่อย เลยได้เรื่องแผนที่สังคมมิติมาฝากกัน

 

                                       แผนที่สังคมมิติ 

                                  (Ecological    Mapping)

 

             แผนที่สังคมมิติถูกพัฒนาขึ้นโดย Ann  Hatman  แผนที่สังคมมิติเปรียบเหมือนเครื่องมือตรวจจับความสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการกับสภาวะแวดล้อมที่สำคัญของเขา แสดงความสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการกับองค์กรที่ช่วยเหลือยามทุกข์ยาก    เจ้านาย     โรงเรียน    เพื่อนบ้าน    ญาติ  วัด ฯลฯ  แผนที่สังคมมิติเป็นภาพที่ทำให้มองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของผู้ใช้บริการกับแหล่งทรัพยากร ณ เวลาใดเวลาหนึ่งซึ่งหากเวลาเปลี่ยนไปก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในแผนที่ยังแสดงความต่อเนื่องความสะดวกสบายหรือความสมดุลย์ของความสัมพันธ์  เช่น ถ้าเขาเจ็บป่วยเขาสามารถใช้บริการที่คลีนิคใกล้บ้านได้อย่างสะดวก    ความสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการกับงานไม่ดี เขาเกลียดที่ทำงาน เพราะ หัวหน้างานโหดร้าย  การไปทำงานทุกวันจะเป็นความเจ็บปวดในขณะที่ความสมดุลย์เป็นการแสดงให้เห็นว่ามีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม   เช่น      มีรายได้เหมาะสมกับงานที่ทำ  มีการพักผ่อนหย่อนใจหลังจากที่ทำงานมาหนัก

             แผนที่สังคมมิติสามารถแสดงความสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการกับสิ่งแวดล้อมได้ในกระดาษแผ่นเดียว เพราะ แผนที่สังคมมิติมีระบบและเป็นรูปธรรมในการติดตามความสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการกับสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของผู้ใช้บริการในระหว่างที่สัมภาษณ์ผู้จัดการสามารถให้ผู้ใช้บริการร่วมจัดทำแผนที่สังคมมิติซึ่งผู้ใช้บริการจะรู้สึกได้ว่าเรารับรู้โลกของเขาได้อย่างใกล้ชิด     เราเข้าไปมีส่วนร่วมกับชีวิตเขา       เขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่ การเขียนแนที่สังคมมิติมี  6  ขั้นตอน   ดังนี้

          1.วาดวงกลมตรงแผนที่ว่างๆ ด้วยวงกลมรอบๆ ส่วนตรงกลางเป็นผู้ใช้บริการถ้าเป็นผู้หญิงใช้ O ถ้าเป็นผู้ชายใช้สัญลักษณ์   …   แทนผู้หญิงหรือผู้ชายคนเดียว  แต่ถ้าผู้ใช้บริการเป็นกลุ่มครอบครัวใช้วงกลมหรือสี่เหลี่ยมหลายอันซ้อนกัน  (ใช้จำนวนซึ่งเท่ากับสมาชิกในครอบครัว) ลากเส้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการกับคนอื่นๆ     (เส้นจะเป็นตัวอธิบายความสัมพันธ์ ส่วนในวงกลมหรือ   สี่เหลี่ยมก็เขียนชื่อ อายุของผู้ใช้บริการหรือครอบครัว

          2. สัมภาษณ์พูดคุยกับผู้ใช้บริการถึงสิ่งแวดล้อมพื้นฐานที่สำคัญในชีวิตเขา    ถ้าผู้ใช้บริการเป็นครอบครัวสมาชิกคนอื่นก็อยากมีสิทธิมีส่วนร่วมในการระบุถึงสิ่งแวดล้อมของเขาด้วย    ผู้ใช้บริการเอ่ยถึงสิ่งแวดล้อมใดๆ   ก็จดรายชื่อไว้แล้วคิดเอาสิ่งที่สำคัญๆ    ความสำคัญๆ นั้นอาจจะป็นได้ทั้งในแง่บวกหรือลบส่วนที่ยังไม่สำคัญก็อาจไม่มีเส้นแสดงความสัมพันธ์  ซึ่งต่อไปอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

             บางครั้งถ้ากลัวว่าจะเสียเวลาในการนึกถึงสิ่งแวดล้อม   ผู้จัดการอาจจัดเตรียมแผนที่สังคมมิติได้โดยระบุ  ครอบครัว  เพื่อน    เพื่อนบ้าน     ศูนย์บริการสาธารณะสุข  วัด  สถานที่พักผ่อน  ที่ทำงาน  การศึกษา   การขนส่ง

ศูนย์เด็กเล็ก   สาธารณูปโภค   พ่อค้าแม่ค้า

          3.คุยกับผู้ใช้บริการถึงประสบการณ์ที่มีกับสิ่งแวดล้อมแต่ละอย่างโดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์ต่อเนื่องหรือขาดตอน การรู้สึกสบายใจ สะดวกหรือน่ากลัว ความมีสมดุลย์หรือไม่มีสมดุลย์ในสัมพันธภาพ อย่าถามตรงๆว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรแต่ให้ใช้วิธีเล่าประสบการณ์การติดต่อสัมพันธ์กับแหล่งบริการหรือบุคคลนั้นๆ แต่ถ้าผู้ใช้บริการเป็นกลุ่มครอบครัวให้เอามติของครอบครัวเป็นสำคัญเมื่อได้ข้อสรุปแล้วให้ลากเส้นแสดงความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเหล่านั้น   ซึ่งอาจใช้รหัสเหล่านี้แสดงความสัมพันธ์

_______________                   ความสัมพันธ์เข้มแข็งและต่อเนื่อง

_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _                ความสัมพันธ์ไม่ต่อเนื่องนานๆครั้ง  (ห่างเหิน)

/ / / / / / / / / / / / / / / /          ความสัมพันธ์บีบคั้น   กดดัน

                                           แสดงทิศทางความสัมพันธ์ว่าสมดุลย์หรือม่สมดุลย์

             หรืออาจใช้สัญลัญลักษณ์อื่นๆ เพิ่มเติมตามความต้องการที่จะอธิบายแต่ทั้งผู้ใช้บริการและผู้จัดการต้องตีความหรือเข้าใจสัญลักษณ์เหล่านั้นเหมือนกัน

           4.เมื่อสังคมมิติสำเร็จแล้วตรวจสอบความถูกต้องกับผู้ใช้บริการอีกครั้งเพื่อความถูกต้องของข้อมูลและอาจมีข้อแก้ไขตามที่พูดคุยกันต้องจำไว้เสมอว่าแผนที่สังคมมิตินี้เป็นแผนภาพที่แสดงความสัมพันธ์ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านนั้น  อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้อีกเมื่อเวลาผ่านไป

          5. ประเมินผลและถามความประทับใจของผู้ใช้บริการในภาพกว้างคุณค่าของแผนที่สังคมมิติ คือ การให้ภาพกว้างๆ ของความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่มีตัวผู้ใช้บริการได้ภายในแผนภูมิเดียว พึงระลึกไว้สเมอว่าภาพกงล้อและซี่ล้อที่เกิดขึ้นนั้นเป็นตัวแทนของเครือข่าย  สังคมมิติทำให้เราเห็นภาพความสัมพันธ์ของแต่ละซี่กับศูนย์กลางแต่ไม่ได้ให้รายละเอียด  คุณลักษณะที่จะตรวจสอบแต่ละซี่

             ถามผู้ใช้บริการว่าเขาเห็นอะไรจากแผนที่อันนี้ ให้เขาอธิบายเพิ่มเติมแล้วผู้จัดบริการคอยสังเกตและสรุปความเห็นเหล่านั้นในการประเมินภาพรวมต้องดูว่ามีความสมดุลย์ระหว่างความสัมพันธ์หรือไม่ มีความพึงพอใจอะไร   มีการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์อย่างไร

              ข้อที่ 6 ยังตามมาไม่ทัน และตัวอย่างที่จะเขียนให้ดูยังทำด้วย computer ไม่เป็นขอแขวนเอาไว้ก่อนนะ

ตัวอย่างแผนภูมิมิติ

ตัวอย่าง genogram

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 334407เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2010 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เข้ามาเยี่ยมค่ะ ...น่าจะลองเขียนแผนผังให้ดูนะค่ะ...จะได้นำไปใช้บ้าง

ขอบคุณค่ะคุณปริมปราง

ยังใช้computer ไม่เก่ง ทำเส้นแสดงความสัมพันธ์ตามแผนผังยังไม่ได้ต้อง

ขอเวลาปรึกษาผู้รู้ก่อนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท