หนังสือพิมพ์ กศน.ตำบล ไม่ได้ให้ซื้อทุกวัน, การทำแผน กศน.ตำบล


แผนปฏิบัติการ กศน.ตำบล ควรทำอย่างไร, ค่าหนังสือพิมพ์ กศน.ตำบล ม.ค.- ก.ย.2553 แต่มี งปม.ให้เพียง 195 วัน เพราะคำนวณโดยหักวันเสาร์อาทิตย์

1 - 5  กุมภาพันธ์  2553

 

         - 1-2 ก.พ.53  ช่วย Search หาเนื้อหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้สูงอายุ 9 เรื่อง ให้ ผอ.กศน.อ.บางซ้าย และทำตารางวิเคราะห์หลักสูตรพร้อมออกข้อสอบ Pre-Post test 45 ข้อ ( ทำมาตั้งแต่วันเสาร์ เพิ่งเสร็จ )


         - 2 ก.พ.53  ผอ.กศน.อ.นครหลวง โทร.มาคุยเรื่อง
              1)  นักศึกษาเก่าตั้งแต่หลักสูตร 2530 มาขอระเบียนแสดงผลการเรียน  ตรวจสอบพบว่ามีการเทียบโอนการประกอบอาชีพในภาคเรียนที่ 4 แต่ไม่มีการขอเทียบโอน และไม่มีประกาศผลการเทียบโอน ( ประกาศผลการเทียบโอนจะมีเฉพาะชื่อนักศึกษาที่เรียนภาคเรียนแรก )  สงสัยว่า จะเทียบโอนในภาคเรียนที่ 4 ได้หรือไม่  และไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ จะยังไม่ให้จบหลักสูตรได้หรือไม่   ตอบว่า ปกติจะให้เทียบโอนในภาคเรียนแรกเพื่อไม่ต้องเสียเวลาเรียนในวิชาที่จะเทียบโอนได้ แต่จะให้เทียบโอนในภาคเรียนอื่น ๆ ก็ได้   แต่เนื่องจากไม่มีหลักฐานและประกาศผลการเทียบโอน ถ้าจะยังไม่ให้เขาจบหลักสูตร ก็เสนอแนะว่าให้อธิบายให้เขาเข้าใจ
              2)  ผอ. ไม่สบายใจที่ให้แต่ละอำเภอกำหนดตารางสอบปลายภาครายวิชาเลือกเอง ทั้งที่เป็นข้อสอบฉบับเดียวกันทุกอำเภอ ถ้าสอบไม่พร้อมกันอาจมีข้อสอบรั่ว   ได้เสนอแนะให้ปรึกษาเรื่องนี้กับ อ.ดุษฎี สนง.กศน.จ.อย.


         - 3 ก.พ.53  ไปตรวจสุขภาพประจำปีที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรุงเทพฯ


         ผอ.กศน.อ.วังน้อย โทร. มาชวนให้ไปพาบุคลากร กศน.อ.วังน้อย ทำแผน กศน.ตำบล  โดยกำหนดเบื้องต้นว่าจะไปทำนอกสถานที่ในวันที่ 10 ก.พ.53 ค้าง 1 คืน  แต่ก็ยังไม่แน่นอนอาจจะเลื่อนหรืออาจจะงด   อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าก็คิดเตรียมข้อมูลต่าง ๆ
         การทำแผน กศน.ตำบล นี้ หลายจังหวัดหลายอำเภอทำกันไปแล้ว  ส่วนสำคัญของแผนปฏิบัติการ กศน.ตำบล มี 2 ส่วน คือ แผนงาน กับ โครงการ   ในส่วนของแผนงาน คิดว่าจะใช้ฟอร์มแผนปฏิบัติการฯ ( กศน-กผ-01 ) แบบเดียวเท่านั้น   ส่วนโครงการจะใช้แบบเขียนโครงการของสำนักงาน กศน. มาปรับเพิ่มว่าตอบสนองมาตรฐาน/ตัวบ่งชี้ใด   และควรจัดทำเป็นรูปเล่มโดยเพิ่มองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น นโยบาย/จุดเน้น  ปรัชญา/วิสัยทัศน์/พันธกิจ สรุปงบประมาณ เพื่อให้สะดวกในการเก็บรวบรวมและเปิดใช้งาน  และอาจให้ประธานกรรมการ กศน.ตำบล ลงนามให้ความเห็นชอบเฉพาะในหน้าแรก ๆ ของเล่ม  
         ( อยากได้ความเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่สนใจครับ )


         ในการศึกษาเอกสารเพื่อคิดเตรียมทำแผน กศน.ตำบล นี้ ทำให้พบว่า ได้รับจัดสรรงบประมาณค่าจัดซื้อหนังสือพิมพ์สำหรับ กศน.ตำบล ทุกตำบล จำนวน 1 ฉบับ ๆ ละ 10 บาทต่อวัน เริ่มวันที่ 1 มกราคม ถึง 30 กันยายน 2553 จำนวน 195 วัน   เกิดความสงสัยว่าทำไม 9 เดือนมีเพียง 195 วัน จึงได้โทรศัพท์ไปถามกลุ่มแผนงาน กศน. ได้รับคำตอบว่า 195 วัน เพราะหักเสาร์อาทิตย์เนื่องจากงบประมาณมีจำกัด


หมายเลขบันทึก: 334168เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2010 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เข้ามาอ่านความรู้เรื่องแผนด้วยครับ

พอดีต้องมารับงานแผนของศูนย์หลังประเมินภายนอก  แทนเจ้าหน้าที่ท่านเดิม

ส่วนตัวไม่มีความรู้เลย  แต่อยากแสดงความคิดเห็นหน่อยครับว่า

น่าจะใช้ ฟอร์ม กศน.กผ 02 ผมว่ารายละเอียดชัดเจนดี

และรบกวนอาจารย์ หน่อยครับ 

ถ้าอยากศึกษาเรื่องการเขียนแผนของศูนย์ ควรศึกษาจากที่ไหนครับ

ขอบคุณครับ 

ถ้าเป็นแผนอำเภอ ต้องมีทั้ง กศน-กผ-01 และ กศน-กผ-02
แต่ถ้าเป็นแผน กศน.ตำบล ไม่อยากให้เขาทำยากมากนัก เลยอยากเลือกอย่างเดียว
กศน-กผ-01 เป็นแบสรุปภาพรวมแผน ส่วน กศน-กผ-02 เป็นแบบสรุปจากแต่ละโครงการ แผ่นละ 1 โครงการ ซึ่งข้อมูลที่อยู่ในแบบ กศน-กผ-02 นั้น ก็มีอยู่ในโครงการแล้ว จึงคิดว่าถ้ามีโครงการก็ไม่จำเป็นต้องมีแบบ กศน-กผ-02 อย่างไรก็ตามก็จะฟังหลาย ๆ เสียงก่อน

         สำหรับเรื่องการเขียนแผนของศูนย์นั้น ที่จริงปีนี้กลุ่มแผนฯส่วนกลางเขาให้ข้อมูลค่อนข้างมาก โดยให้ดาวน์โหลดจากหน้าเว็บ กศน. เป็นระยะ ๆ แต่พอเวลาผ่านไปแล้วเขาก็เอาลิ้งค์ออกไปแล้ว ต้องไปหาดาวน์โหลดต่อจากเว็บ กศน.จังหวัดอื่น เช่น กศน.จ.สงขลา
         - ตัวอย่างการเขียนโครงการ
http://sk.nfe.go.th/loads/01-02-2553/Somjit/Somjit.rar
         - การจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2553 http://sk.nfe.go.th/loads/13-01-2553/somjit/somjit.rar และ http://sk.nfe.go.th/loads/17-11-52/somjit/somjit.rar ( ไฟล์ชื่อเดียวกัน โหลดมาแล้วระวังทับกัน ต้องเปลี่ยนชื่อ )

ขอบคุณอาจารย์เอกชัยมากครับ

เรียนอ.เอกชัย เห็นด้วยกับการใช้แบบกผ-01 ทำแผนกศน.ตำบล แต่ขอแลกเปลี่ยนเรื่องการจะให้ประธานกรรมการ กศน.ตำบล ลงนาม บางแห่งอาจยุ่งยากถ้าคณะกรรมการกศน.ตำบลไม่เห็นความสำคัญของการจัดการศึกษา กศน. และไม่เสียสละ เพราะจะทำอย่างนั้นได้ ต้องมีการประชุมคณะกรรมการ สม่ำเสมอเพื่อให้เขามีความรู้ความเข้าใจในการทำงานของกศน.ตำบล อาจต้องมีเลี้ยงน้ำชา กาแฟ (งปม.น้อย) เนื่องจากบริบทแต่ละพื้นที่ตำบลไม่พร้อมเหมือนกันทุกแห่ง บางแห่งอาจบริหารจัดการหารายได้จากการให้บริการถ่ายเอกสารหรือสอนคอม ถ้ารวมอยู่กับ ไอซีที อีกอย่างหัวหน้า กศน.ตำบล ที่ประสบการณ์การทำงานน้อย ลูกล่อลูกอ้อนยังไม่มี ก็ประสานความมือจากเครือข่ายยากหน่อย ก็ขอเห็นใจหัวหน้ากศน.ตำบลที่ยังทำงานไม่เก่งค่ะ (ไม่รู้ว่า กศน.ตำบลในจังหวัดยังมีคนไม่เก่งบ้างหรือเปล่า) เลยเสนอว่า แผนควรเสนอผอ.กศน.เพื่อวางแผน/และมอบหมายผู้นิเทศติดตามผล สำหรับโครงการของ กศน.ตำบล ต้องเป็นโครงการย่อยทีผ่านการเห็นชอบหัวหน้ากลุ่มงานและอยู่ ในโครงการใหญ่ในแผนปฏิบัติการอำเภอ ในส่วนย่อย ๆ ประกอบที่อ.เอกกล่าวนั้น ก็เห็นด้วยทั้งหมดค่ะ เต่อยากให้หัวหน้า กศน.ตำบล ทำแบบรายงานผลการปฏิบัติงาน เช่นบันทึกหลังสอนให้ละเอียดที่ตอบตัวบ่งชี้ได้ ส่วนโครงการก็สรุปให้ละเอียดตอบตัวชี้วัดผลิตและผลลัพธ์ ที่พร้อมรับการประเมินภายนอกเลย พอสักระยะก็ติดตามความก้าวหน้าการนำไปใช้ของผู้เรียนอีกครั้ง คราวนี้นะ กศน.ตำบลทำงานในพื้นที่สนุกทั้งปีเลย ขอบคุณค่ะ

ศูนย์วิทย์ขอร่วมวงคนทำแผนด้วยคนนะคะ

อยากเรียนรู้แผนของ กศน.อำเภอ เผื่อจะได้ประสานแผนจัดกิจกรรมร่วมกันค่ะ

ตอบ น้อง neeladbualuang และ อ.ศรีเสาวลักษณ์ เกียรติพิริยะ ศว.พระนครศรีอยุธยา
         ผมไปทำแผน กศน.ตำบล กันมาแล้วครับ ไปทำที่วังน้ำเขียวรีสอร์ท (ลุงไกร) จ.นครราชสีมา เพิ่งกลับมาถึงบ้านวันนี้ตอน 18:00 น.
         ตกลงผมให้ทำแบบ กศน-กผ-02 ตามที่พรณรงค์เสนอ แบบเดียว แล้วก็เขียนโครงการ ( ที่จริงไม่ว่า กศน-กผ-01 หรือ กศน-กผ-02 ก็นำข้อมูลมาจากโครงการนั่นแหละ )
         เห็นด้วยกับน้องนีลาดบัวหลวงในส่วนต่าง ๆ แต่ในส่วนของการนำแผนเข้าที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนนั้น ผมเห็นว่า สามารถนำเข้าที่ประชุมปีละครั้งเดียว ถ้ามีคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนไว้แล้ว ก็น่าจะประชุมปีละครั้งได้ และการประชุมก็น่าจะประชุมเรื่องแผนนี้ด้วย
         อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อกำหนดบังคับเรื่องนี้ จึงยังเป็นอิสระตามบริบทของแต่ละอำเภอครับ

ขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมค่ะ ถ้ามีการประชุม ก็คงต้องมีการติดตามและรายงานให้คณะกรรมการ ศรช.ทราบและก็ต้องมีการปรับปรุงแผนและปรับปรุงการทำงาน ตามกระบวนการ P D C A ซึ่งหมายถึงกลุ่มงานจัดการศึกษาก็ต้องทำงานเป็นระบบ ครูทำงานเป็นระบบ ผู้เรียนก็ต้องมีระบบ ทุกส่วนเป็นระบบ P D C A ด้วย (ตามความเข้าใจของน้อง neeladbualuang)

ถูกต้องแล้วครับน้องนี ทุก เรื่องทุกขั้นตอน ควรดำเนินการตามวงจร P D C A ซึ่งความหมายก็ไม่ซับซ้อนอะไร พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ P = วางแผน, D = ทำตามแผน, C = ตรวจสอบประเมินผล, A = ปรับปรุงพัฒนา  โดยวงจรนี้จะนำมาใช้ได้ในหลายมิติ เช่น ใน 1 ปี ก็มีวงจรนี้ 1 วง โดยเริ่มทำแผนปฏิบัติการตั้งแต่ต้นปี แล้วดำเนินการ - ประเมินผล พอสิ้นปีก็สรุปผล-สรุปปัญหาอุปสรรค-ข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนาในปีต่อไป
         ในระหว่างปี ก็มีวงจร PDCA อยู่ในแต่ละเรื่องแต่ละขั้นตอนอีก แม้แต่การวางแผนซึ่งเป็น P ของวงจรใหญ่ ก็สามารถมีวงจร PDCA ย่อย ของเรื่องการวางแผนด้วย
         คือทุกเรื่องควรมีการตรวจสอบประเมินผล และนำผลไปปรับปรุงพัฒนา สิ่งสำคัญของวงจร PDCA คือการปรับปรุงพัฒนา ( โดยเริ่ม P ใหม่ หมุนวนเป็นวงจรไม่สิ้นสุด ) ไม่ใช่แค่ทำเสร็จ สรุปผลเป็นเล่มสวยงามแล้วจบ บางครั้งไม่มีแม้แต่การประเมินผล แต่คิดเอาเองว่าทำได้ดีมากแล้ว

         การให้คะแนนประเมินภายนอกของ สมศ. เขาก็ให้คะแนนโดยอิง PDCA นี่แหละ ถ้ามีแค่แผนงาน/โครงการ/คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน ก็ได้แค่ 1 คะแนน, ถ้ามีหลักฐานการลงมือทำจริงเช่นมีภาพถ่าย ก็ได้เป็น 2 คะแนน คือได้ครึ่งเดียวจากคะแนนเต็ม 4 ทั้งๆที่ลงมือทำจริง ๆ จนเหนื่อย, แต่ถ้ามีการประเมินผลการสรุปผล จะได้เป็น 3 คะแนน และถ้่ามีหลักฐานการนำผลการประเมิน-ข้อเสนอแนะ ไปปรับปรุงพัฒนา จึงจะได้คะแนนเต็ม 4 ในรายการนั้น ๆ

คิดว่าตนเองเข้าใจค่ะ ขอบคุณนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท