บุนนาค
ดร. วรนันท์ มุฮัมมัด รอมฎอน บุนนาค

ประชาธิปไตย ประชาชน


การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนับแต่ มิถุนายน 2475 มีพัฒนาการอย่างลุ่มๆดอนๆ มาตลอด เราไม่สามรถจะปกป้องระบอบประชาธิปไตยไว้ได้เลย หากประชาชนคนธรรมดาสามัญไม่เห็นความสำคัญของประชาธิปไตย ด้วยเหตุที่เข้าใจว่าระบอบการเมืองการปกครองไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของพวกเขา อีกทั้งไม่เข้าใจว่าอะไรคือประชาธิปไตย การเรียนรู้ การส่งเสริมเกี่ยวกับประชาธิปไตย ประชาชน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นที่สุด ซึ่งการส่งเสริมตรงนี้ต้องไม่วนเวียนอยู่เฉพาะการเลือกตั้ง

       ในฐานะที่เป็นวิทยากรเผยแพร่ประชาธิปไตย ของสถาบันพระปกเกล้า เห็นว่าประชาธิปไตยควรเริ่มต้นที่ชุมชน ท้องถิ่น ควรสร้างประชาธิปไตยให้ชุมชน/ท้องถิ่น เป็นรากฐานของประชาธิปไตยระดับชาติ ดังที่ Robert Dahl นักรัฐศาสตร์อเมริกา กล่าวว่า" เมืองซึ่งเป็นท้องถิ่นชนิดหนึ่งนั้น คือ หน่วยการปกครองขนาดพอเหมาะ พอดี ที่จะอำนวยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของบ้านเมืองได้มากที่สุดโดยไม่จำเป็นต้องผ่านผู้แทน หรือผู้นำเพียงเท่านั้น "ในขณะที่ John Stuart Mill ปราชญ์ชาวอังกฤษ เสนอความคิดว่า "การปกครองส่วนท้องถิ่จะฝึกฝนประชาชนให้มีความรู้ ความเข้าใจในกิจกรรมของบ้านเมืองได้ดีเป็นพิเศษ และเมื่อเทียบกับรัฐบาล ๆ จะให้โอกาสแก่ประชาชนในเรื่องบ้านเมืองได้มากกว่า ประชาธิปไตยในท้องถิ่นไม่ควรพัฒนาไปในทางเดียวกับประชาธิปไตยระดับชาติ ซึ่งในระดับชาติเราควรใช้อำนาจผ่านผู้แทน หรือผู้นำเป็นหลัก " จะเห็นได้ว่าในการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในท้องถิ่น ม่ว่าจะเป็น อบต อบจ เมืองพัทยา กทม. ควรปรับปรุงแก้ไขให้ประชาชนในชุมชน ท้องถิ่น ได้ร่วมกันดูแลบ้านเมืองให้มากขึ้น ควรสร้างประชาชนในชุมชนท้องถิ่นให้กลายเป็นพลเมืองที่มีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน ท้องถิ่น ให้มากขึ้น ไม่ปล่อยให้เขาเป็นเพียงผู้ลงคะแนน หรือผู้รอบริโภคนโยบายรัฐเท่านั้น ประชาชนต้องได้รับการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ต้องไม่ยอมอยู่ใต้การอุปถัมภ์ หรืออยู่ใต้อำนาจของเงิน หรือนโยบายประชานิยมที่โฉบไปโฉบมา เราจะเปลี่ยนประชานให้เป็นพลเมือง ต้องทำให้ท้องถิ่นเป็นการบริหารบ้านเมือง ด้วยประชาชนเองมากขึ้น ทำให้พวกเขาเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของพวกเขาเอง ไม่ใช่เรื่องของนักการเมืองและพรรคการเมืองเท่านั้น ซึ่ง De Jouvenel กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า "หากเราปล่อยให้ประชาชนอ่อนแอ อ่อนเขลา และเชื่องซึม จนกลายเป็นลูกแกะ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้รัฐบาลที่เป็นหมาป่า ที่จะจัดการกับลูกแกะนั้นได้โดยง่าย ประชาชนแบบลูกแกะไม่มีทางที่จะได้รัฐบาลแบบลูกแกะ  จะได้แต่รัฐบาลหมาป่า คือได้ผู้ปกครองที่สันทัดในการใช้อำนาจ หรือหลอกลวง หรือข่มขู่ประชาชนตลอดเวลา หากประชาชนยังเป็นผู้น้อย ผู้พึ่งพิง แล้ว เสียงข้างมากก็จะนำมาซึ่งระบบหมาป่าไปอีกนาน" 

หมายเลขบันทึก: 333865เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2010 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท