PACS กับรังสีเทคนิค


PACS เป็นระบบดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ การเชื่อมต่อ การบันทึก การส่ง/รับภาพทางการแพทย์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอภาพและเรื่องราวของกิจกรรมที่ผมได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องของระบบจัดเก็บและสื่อสารข้อมูลการแพทย์ (PACS : Picture Archiving and Communication System) กับนักศึกษารังสีเทคนิค ชั้นปีที่ 3 คณะเทคนิคการแพทย์ ม.เชียงใหม่ ที่มาฝึกงานเกี่ยวกับการถ่ายรังสีรังสีทั่วไป (General radiography) ในภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น

 

แฟ้มข้อมูลภาพการนำภาพเข้าสู่ระบบดิจิทัล โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบที่ 1 เกิดจากการสร้างภาพโดยตรงจากเครื่องมือแพทย์ เช่น CT, MRI, DSA ที่เป็นภาพแบบปฐมภูมิ (Primary Image)  ซึ่งจะใช้อุปกรณ์สร้างภาพที่ออกมาโดยตรงเป็นดิจิทัล คุณภาพเป็นที่ยอมรับกันมาก เพราะถือว่าไม่มีการสูญเสียหรือเกิดการผิดเพี้ยนของข้อมูล โดยมากจะเก็บในลักษณะข้อมูล เรียกว่า ไดคอม (DICOM : Digital Image Communication in Medicine) และแบบที่ 2 แบบทุติยภูมิ (Secondary Image) แบบนี้ต้องผ่านการแปลงข้อมูลภาพจากอะนาลอก (Analog) เป็นดิจิทัล เช่น ผ่านการสแกน (Scan) หรือ ผ่าน Video frame grabber  ภาพเหล่านี้อาจจะสูญเสียรายละเอียดไปบางส่วน เนื่องจากมีการบีบอัดหรือเปลี่ยนรูปร่างข้อมูล ทำให้คุณภาพของภาพที่ได้จะต่ำกว่าแบบแรก  

 

 

ภาพทางการแพทย์ ไม่ใช่มีแต่ภาพถ่ายทางรังสีเท่านั้น แต่ในปัจจุบันหลายหน่วยงาน เช่น ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ห้องส่องกล้องตรวจอวยัวะภายใน ห้องตรวจตา ห้องนิติเวช เป็นต้น ได้นำการถ่ายภาพด้วยดิจิทัลเข้ามาใช้งาน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย ผู้รับบริการ ดังนั้นการเชื่อมต่อ การจัดส่ง การบันทึกข้อมูลภาพทั้งหมดจึงมีความสำคัญและต้องได้รับการดูแล การป้องกันที่ปลอดภัย

 

 

ประมาณปี 2548 ภาควิชารังสีวิทยา ทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาขอนแก่น ได้เริ่มต้นการใช้ระบบสารสนเทศทางการแพทย์ สำหรับการถ่ายภาพรังสีทั่วไป โดยเปลี่ยนจากระบบถ่ายภาพรังสีทั่วไปที่ใช้อุปกรณ์รับภาพที่ใช้ฟิล์ม คาสเสทและสกรีน (Radiograhic Film Cassettes and Screen) มาเป็น คอมพิวเต็ดเรดิโอกราฟฟี (Computed Radiography : หรือที่เรียกกันอย่างย่อว่า CR) และ ปี 2552 ได้ใช้ดิจิทัลเรดิโอกราฟฟี (Digital Radiography : หรือที่เรียกกันอย่างย่อว่า DR)

 

 

ภาพเปรียบเทียบขั้นตอนการทำงานของการถ่ายภาพรังสีทั่วไป (ภาพบน) ที่มีการทำงานหลายขั้นตอนที่มากกว่า CR และ DR ตั้งแต่การถ่ายภาพรังสี การนำอุปกรณ์รับรังสีส่งเข้าห้องล้างฟิล์ม การล้างฟิล์ม การส่งและจัดเก็บฟิล์ม

 

 

ภาพตัวอย่างของห้องเก็บฟิล์ม : ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ คือ ต้องใช้ระยะเวลาในการจัดเก็บหรือค้นหาฟิล์มที่นาน บางครั้งอาจเกิดจากความบกพร่อง ทำให้เก็บซองฟิล์มผู้รับบริการผิดช่อง เมื่อต้องการใช้ทำให้เสียเวลาในการค้นหายาวนาน 

 

 

 

เมื่อผู้รับบริการได้รับฟิล์มและนำไปให้แพทย์ตรวจรักษา มีบางครั้งผู้รับบริการทำฟิล์มหลุดออกจากซองระหว่างเดินทางไปพบแพทย์

 

 

ทำให้แพทย์ไม่สามารถรักษาได้ ต้องส่งตรวจวินิจฉัยใหม่ หรือต้องเสียเวลา ในการค้นหาฟิล์มที่หายไป ทำให้ใช้เวลาทั้งหมดในการขอรับบริการนานขึ้น

 

ข้อเด่นอย่างหนึ่งของภาพดิจิทัล คือ สามารถปรับความเปรียบต่าง (Contrast) ของภาพได้สะดวก ลดปัญหาการถ่ายภาพรังสีซ้ำ กรณีที่ให้เทคนิคสำหรับการใช้ปริมาณที่รังสีสูงหรือต่ำจากที่เหมาะสม (Over or Under Exposture technique)

จากข้อเด่นนี้ อาจเป็นอุปสรรคต่อนักศึกษาที่มาฝึกงาน เพราะนักศึกษาอาจจะขาดทักษะ การค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการให้ปริมาณรังสี (Exposure factors) ที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพรังสี (กรณีที่ต้องไปปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่ยังไม่มีการใช้ระบบดิจิทัล)

 

การนำระบบดิจิทัลมาใช้ ควรทราบขนาดของภาพและชนิด เพื่อใช้ในการคำนวณจำนวนของภาพที่ สำหรับการจัดซื้ออุปกรณ์เก็บข้อมูลในระยะสั้นและยาว

ตารางแสดง ขนาดของภาพดิจิทัลทางรังสีชนิดต่างๆ

 

เมื่อนำระบบดิจิทัลมาใช้ทางการแพทย์ สิ่งหนึ่งที่ต้องเปลี่ยนไป คือ ขั้นตอนการทำงาน หากมีการวางแผนการจัดการที่ดี จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มาก

ดังนั้นการทำความเข้าใจ การสาธิต การฝึกอบรม ก็เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบนี้

 

 

 

 

บางส่วนของข้อคำนึง เมื่อต้องนำระบบดิจิทัลมาใช้ทางการแพทย์

 

สรุป :

ระบบดิจิทัลเข้ามายุ่งเกี่ยวกับชีวิตมากขึ้น การเลือกว่าจะใช้หรือไม่ใช้ ขึ้นอยู่ที่ความเหมาะสม ความพร้อมของแต่ละคน แต่ละหน่วยงาน 

 

ดิจิทัล ไม่ใช่ทุกสิ่ง ไม่ใช่ทุกอย่างที่ต้องมี 

แต่ที่ต้องมี คือ ความยุติธรรม คุณธรรม จริยธรรม

พอเหมาะ พอเพียง พอใจ

หมายเลขบันทึก: 332943เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2010 04:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ถ้ารังสีเทคนิกรู้จักระบบเครือข่ายบ้างก็จะดี เพราะบางครั้งอาจมีปัญหาของระบบ ในเวลากลางตืนก็ได้ครับ

อีกอย่างควรจะมีการ QC อย่างสม่ำเสมอ เพราะบ้านเราฝุ่นค่อนข้างเยอะ

สวัสดีค่ะ

  • ขอขอบพระคุณสำหรับความรู้ที่ยังไม่เคยทราบมาก่อน
  • ขอเชิญชมห้องเรียนร่ำรวย  ของคนยากจนค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/krukimgtk/333131

ในอนาคตอันไม่ไกล เราคงได้ใช้ไม่ CR or DR เพราะที่ขอนแก่นเริ่มใช้บ้างบางแห่ง(ที่ รพช)

ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้ ต้องทำความเข้าใจไว้ก่อน เผื่อถึงเวลาที่ต้องใช้จะได้ไม่สะดุด

ขอบคุณครับอาจารย์

เรียน ทุกท่าน

สารสนเทศทางการแพทย์ ใครสนใจแวะมาดูงานที่ ม.ขอนแก่น ได้นะครับ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมงานของเราได้ทุกเวลา ครับ

"ดิจิทัล ไม่ใช่ทุกสิ่ง ไม่ใช่ทุกอย่างที่ต้องมี " เห็นด้วยอย่างยิ่งครับอาจารย์  ความยุติธรรม  คุณธรรม  จริยธรรม      พอเหมาะ  พอเพียง  พอใจ ประเทศเราไม่สามารถผลิตเทคโนโลยีเหล่านี้ เราจึงควรเลือกใช้เทคโนโลยีที่ พอเหมาะ พอเพียง กับศักยภาพของตนเอง และใช้อย่างคุ้มค่า

ตอนนี้ที่ ร.พ.มหาสารคาม กำลังดำเนินการติดตั้งระบบ PACS คาดว่าจะเริ่มใช้ประมาณต้นเดือนมีนาคม53นี้ ต้องขอขอบคุณคณาจารย์ทุกท่านที่ได้ให้ความรู้เรื่องดังกล่าวในขณะที่ศึกษาอยู่ ทั้งอาจารย์ต้อม อาจารย์บรรจง และอาจารย์วิชัย ซึ่งในขณะนี้ผมได้สอบผ่านและรับใบประกาศฯ MIIA เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งจะได้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการพัฒนางานต่อไปครับ

สวัสดีครับ คุณปรีชา

ที่บ้านเรายังขาดขบวนการส่งเสริมและพัฒนาคน รวมถึงงานวิจัย (R&D) ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องรอให้เราไม่ทะเลาะกัน สร้างความสามัคคี สร้างองค์ความรู้ได้เอง ไม่นานเราก็จะเก่ง จะโตต่อไป (อีกนานๆๆๆๆๆมาก)

สวัสดีครับ คุณศราวุธ

ดีใจด้วย หวังว่าจะได้สร้างประโยชน์ต่อตนเอง ต่อที่ทำงาน ต่อผู้รับบริการต่อไปนะครับ

ทางหลักสูตรยินดีให้การสนับสนุน ปรึกษาทางวิชาการตลอดเวลา ครับ

ธวัช ยิ่งประเสริฐ

อาจารย์ครับ ระบบ PACS ที่ใช้อยู่กับรังสีเทคนิค  ผู้ที่ทำหน้าที่โดยตรงตำแหน่งอะไรครับ เวลาเครื่องมีปัญหาต่างๆ ใครเป็นผู้ดำเนินการแก้ไขครับ

โดยทั่วๆไป นักหรือเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค จะเป็นคนดูแลหลัก 

ผู้ดูแล ควรเป็นคนที่มีความรู้ ความเข้าใจระบบ PACS อย่างดี

หาก นักหรือเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค คนใด ไม่มีทักษะดังกล่าว ก็ต้องหาผู้ช่วย เช่น เจ้าหน้าที่สารสนเทศของโรงพยาบาล ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท