R2Rการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ


การเก็บข้อมูลที่ดีจะช่วยในเรื่องการประเมินสมรรถนะของระบบสุขภาพ

วันนี้ได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังประชุมวิชาการ PMAC ในsession Tracking country health systems performance ซึ่งมีผู้มีประสบการณ์จากหลายประเทศมาเล่าให้ฟังว่าแต่ละประเทศมีการดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร ที่น่าสนใจมากคือประเทศปากีสถาน Dr.Sania เล่าให้ฟังเกี่ยวกับ indicator ที่เค้าใช้ประเมิน (Indicators relevant to health systems performance assessment in relevant domains and sources of evidence) ส่วนคุณหมอภูษิต (IHPP)ได้เล่าประสบการณ์ของประเทศไทย ซึ่งมีบริบทที่ค่อนข้างแตกต่างจากประเทศอื่น ประเทศเรามีองค์กรอิสระในระบบสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น สวรส. สปสช. สสส. สช. ที่ต่างก็ต้องการข้อมูลเรื่องของ heatlh systems performance แต่ทุกประเทศต่างเห็นตรงกันว่า Routine information หากมีการเก็บข้อมูลที่ดี เมื่อนักวิจัย นักวิชาการ หรือคนหน้างานเอง เมื่อจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ก็จะทำได้ไม่ยาก และเมื่ออยากเห็นข้อมูลภาพใหญ่เช่น การสะท้อนสมรรถนะของระบบสุขภาพก็นำข้อมูลภาพเล็กที่เป็น jigsaw มาต่อกันได้ งาน R2R ก็เช่นกัน ตอนนี้ยุทธศาสตร์ของเรา ใช้วิธีการเล่า success story ที่เป็น Best Practice แต่ควรมองเรื่องที่ยังไม่สำเร็จ และทำได้ยาก น่าจะมาตั้งวงคุยกันเพื่อกำหนดโจทย์วิจัยที่ควรทำต่อไป

ขณะนั่งทานข้าวกลางวันกับท่าน ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ท่านให้ข้อคิดเห็นต่อการทำงานของแผนงาน R2R สวรส.ว่า ควรมีการกำหนดประเด็นสำหรับการส่งผลงาน R2R ล่วงหน้าสัก 1-2 ปี เพื่อให้คนหน้างานได้สะสมองค์ความรู้ในเรื่องดังกล่าว เช่น เช่น Cost effectiveness ของการจัดการโรคเบาหวาน ซึ่งคนหน้างานที่อยู่ใน primary care , secondary care, tertiary care ก็ส่งเข้าประกวดได้

นอกจากนั้น Prof.Keizo Takemi (Former Senior Vice Minister of Health, Japan) ซึ่งนั่งทานข้าวด้วยกัน ได้ให้มุมมองที่ดีมากเกี่ยวกับการใช้ข้อมูล (Health Information System) ถือเป็น Trend ของโลก ที่ผู้บริหารของทุกประเทศควรจะใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ หากผู้บริหารของประเทศนั้นมีความเป็นนักวิชาการ การที่จะออกนโยบายสุขภาพต่างๆ ก็จะอิงข้อมูลที่ได้มาจากหลักฐานเชิงหลักประจักษ์ จากระบบการเก็บข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพ

จรวยพร ศรีศศลักษณ์

29 ม.ค.2553

 

หมายเลขบันทึก: 332043เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2010 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ ดร แต้ม

เห็นด้วยที่จะมีการกำหนดธีมล่วงหน้า คนหน้างานจะได้ทำงานให้ตรงเป้ายิ่งขึ้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท