ยุคถดถอยของสื่อสิ่งพิมพ์ (ตอนที่ 2)


การคืบเข้ามาของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารใหม่ๆ เปิดโอกาสให้ช่องทางสำหรับธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ต้องปรับตัวตาม

โดย ดร.ปริญ เฟื่องวุฒิ Creative Commons License itune_promotion.jpg picture by drparin

ภาพจาก Apple.com

การคืบเข้ามาของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารใหม่ๆ เปิดโอกาสให้ช่องทางสำหรับธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ต้องปรับตัวตาม ด้วยการวิเคราะห์จากปัจจัยด้านเทคโนโลยี การเพิ่มขึ้นของการใช้งานมือถือแบบ Smart Phone การเปิดตัวอุปกรณ์ที่สามารถอ่านอีบุ๊ค การมีรูปแบบของอีบุ๊คที่เป็นมาตรฐาน และการใช้โครงข่ายการสื่อสารแบบ 3G ทำให้ความเป็นไปได้ในการสูญพันธ์ของสื่อสิ่งพิมพ์แบบเดิมๆมีสูงมาก

จากตอนที่แล้ว การเข้ามาของสื่ออินเตอร์เน็ตทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อต่างๆเหล่านั้น กลับมาศึกษาและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เปิดช่องทางให้สามารถเข้าถึงคนในทั่วทุกมุมโลกและสามารถลดค่าใช้จ่ายในการผลิตลงอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสื่อใดๆตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เราจะเห็นว่าสามารถปรับให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์ดิจิตอลและจัดส่งให้ถึงมือลูกค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ทันที และที่สำคัญคือบริการเหล่านี้ สามารถเปิดให้บริการโดยอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง

ในตอนที่สองนี้ เราลองมาดูว่า อะไรที่จะเป็นสิ่งที่เน้นย้ำถึงปรากฏการณ์ของความเสื่อมถอยของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้กระดาษเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ซึ่งผู้เขียนเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าปี 2553 นี้ จะเป็นปีที่การเริ่มต้นของความเสื่อมถอยแห่งความนิยมในสื่อกระดาษอย่างกว้างขวางและเป็นรูปธรรมมากที่สุด ในความเป็นจริงอาจมีอยู่หลายปัจจัยที่จะทำให้คำที่ผู้เขียนคาดการณ์นั้นเป็นจริงหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และปัจจัยอีกหลายๆอย่าง อย่างไรก็ตามในบทความนี้ ผู้เขียนลองวิเคราะห์ในมุมของปัจจัยแห่งเทคโนโลยีเท่านั้น

  • การใช้งานโทรศัพท์ Smart Phone ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มของผู้ใช้งาน Apple iPhone, Google Android และ Windows Mobile โดยเฉพาะอย่างยิ่ง iPhone ที่มีส่วนแบ่งตลาดของ Smart Phone อยู่ราว 60% และการก้าวคืบเข้ามาแบบก้าวกระโดดของ Google Android ที่มีผู้ผลิตโทรศัพท์หลายรายให้การสนับสนุนและนำมาเป็นระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์ของตนเอง ซึ่งโทรศัพท์เหล่านี้สามารถใช้ในการอ่านเอกสารอิเลคโทรนิกได้อย่างสบาย
    ภาพจาก Apple.com
      
    • จากการเปิดตัวของ คอมพิวเตอร์พกพาแบบบางเฉียบที่เราเรียกกันว่า Netbook นั้นยังไม่ได้เป็นคำตอบที่ชัดเจน แต่การเข้ามาของ Apple Tablet หรือตามที่คาดการณ์กับว่าอาจใช้ชื่อ iSlate อาจเป็นที่มาของการสูญพันธุ์ของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้กระดาษเป็นหลัก สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆต้องปรับตัวอย่างมาก เพื่อความอยู่รอดในการแข่งขันแบบ Global Economy ที่ไม่มีพรหมแดนกั้นเหมือนในอดีตที่ผ่านมา 

      นี่ยังไม่รวม Amazon.com ซึ่งเปิดตัวและวางจำหน่าย เครื่องอ่านเอกสารอิเลคทรอนิกส์ของตัวเองภายใต้ชื่อ Kindle สำหรับยักษ์ใหญ่วงการร้านขายหนังสือและหนังสือออนไลน์อย่าง Barnes & Nobles ก็มีเครื่องอ่าน E-Reader ของตัวเองในชื่อ Nook

        The Kindle Store: More Than 400,000 Books
      ภาพจาก Amazon.com 




    ภาพจาก bn.com

    • Platform สำหรับการพัฒนา E-Book มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากความนิยมในการเขียน Blog ในอินเตอร์เน็ตแล้ว E-Book ที่มีจำหน่ายในลักษณะที่เป็นรูปแบบออนไลน์ ส่วนใหญ่จะเป็นการพัฒนาบน Platform ของ Adobe Acrobat หรือ PDF ที่เป็นที่นิยมกัน นอกเหนือไปจากนี้ค่ายร้านขายหนังสือออนไลน์ดังๆอย่าง Amazon.com และ BN.com ก็มีรูปแบบมาตรฐานของ E-Book ของตัวเองออกมา

    •  การใช้ 3G อย่างกว้างขวาง ทำให้ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ทำได้อย่างกว้างขวางและมีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดของการโอนถ่ายข้อมูลที่น้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อต่างๆที่ได้ปรับเปลี่ยนมาให้บริการในรูปแบบของดิจิตอลแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ดนตรี ภาพยนตร์ ซอฟต์แวร์ หรือแม้แต่หนังสืออิเลคทรอนิก 

    จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันเอื้อประโยชน์ให้เกิดความสะดวกสะบายในการเลือกซื้อหนังสือมาอ่านโดยไม่จำเป็นจะต้องไปร้านหนังสือเหมือนเมื่อก่อน และหนังสือก็ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของกระดาษอีกต่อไป แน่นอนมันอาจดูแล้วช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่าของโลกลง แต่นั่นก็หมายความถึงการรุกรานธุรกิจอีกด้านโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้

    ตอนหน้า เราลองมาดูกันว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกิดขึ้นมาจากกระดาษจะเป็นอย่างไร ร้านหนังสือที่เราเคยอ่านกันมาหละจะทำอย่างไร ในการรุกก้าวของธุรกิจแบบ Global Economy จะทำให้ร้านหนังสือที่มีตั้งอยู่มากมายหายไปมากน้อยแค่ไหน และลองมาติดตามถึงแนวทางความคิดต่างๆของผู้ให้บริการสื่อออนไลน์เจ้าใหญ่ๆว่าจะมีทิศทางอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการปรับตัวของเรากันครับ

    เอกสารอ้างอิง

    • AFP (2010), "Spotlight turns to Apple's rumoured tablet", AFP via News.com.au, http://bit.ly/aurkBy
    • Chen, B.X. and Tweney, D.F. (2010), "Apple Event to Focus on Reinventing Content, Not Tablets", Wired.com, http://bit.ly/cZ0sZE
    • Chen, B.X. (2009), "Everything We Know About Apple’s Touchscreen Tablet", Wired.com, http://bit.ly/9znkSm
    • McCarthy, C. (2010), "Amazon: Kindle app store on the way", CNET, http://bit.ly/d0MvdD
    • Ogg, E. (2010), "McGraw-Hill: Tablet will be based on iPhone OS", CNET, http://bit.ly/9vsM1n
    หมายเลขบันทึก: 331495เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2010 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (4)

    ขอบคุณข้อมูลและบันทึกดีๆครับอาจารย์

    ขอบพระคุณคะ สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ ระหว่างสื่อสิ่งตีพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

    และขอเรียนถามว่าเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเร็วมากในความคิดเห็นของอาจารย์

    1. สื่อสิ่งพิมพ์จะหดหายไปเลยหรือคะ มิฉนั้น

    2. ระบบห้องสมุดบนเน็ตจะมาแทนที่ห้องสมุดบนดิน ไหมคะ

    3. อาจารย์กู( เกิ้ล ) มาแทนที่อาจารย์บรรณารักษ์หรือไม่ ขอความเห็นคะ

    :) ตอบคุณ network นะครับ

    1. มันไม่ได้หายไปหมดภายในเวลาอันสั้น หรือไม่ก็ไม่หายไปแบบไม่เหลือซากหรอกครับ แต่มันจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ของการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือ Text Book ที่มีขนาดหนาๆ เพราะเราไม่สามารถพกไปไหนมาไหนได้เป็นสิบๆเล่นโดยหลังไม่หัก :)

    2.แน่นอนครับ ห้องสมุดบนดินจะมีหนังสือที่จำกัดลง แล้วเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสืออิเล็คโทรนิกมากขึ้น จุดเด่นที่สำคัญสำหรับ E-Book คือ ความสามารถในการค้นหาได้ โดยขนาดของห้องสมุดไม่จำเป็นจะต้องใหญ่เพื่อมีพื้นที่สำหรับหนังสือเป็นชั้นๆ

    3. อาจารย์กูเกิ้ลเข้ามาช่วยอ.บรรณารักษ์มากกว่าที่จะมาทดแทนครับ

    เป็นความเห็นส่วนตัวนะค่ะ คิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ อาจมองในมุมของความสะดวกสบายก็น่าจะ

    แต่ถ้ามองในมุมคุณค่าทางจิตใจแล้ว สื่อสิ่งพิมพ์ก็เป็นอะไรที่คลาสิกพอสมควร ความรู้สึกที่มีต่อเมื่อได้หยิบหนังสือมาอ่าน อ่านหนังสือพิมพ์ยามเช้า ในมาใช้ในงานศิลปะ หลายๆๆอย่างเลยที่อิเล็กทรอนิกส์ให้กับเราไม่ได้ ความเป็นสื่อที่จับต้องเป็นตัวเป็นตนมันให้ความรู้สึกที่ต่างออกไปกับการสื่อสารโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกค่ะ ความคิดเห็นส่วนตัว

    ขอบคุณสำหรับบทความ2บทนี้ กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ที่เหมือนจะถูกลดบทบาทลงอยู่เหมือนกานค่ะ

    FB นะค่ะ http://www.facebook.com/sky.winter.to.fly

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท