ปัญหาการเขียนสาระสำคัญหรือความคิดรวบยอดในรายวิชาภาษาอังกฤษ


ปัญหาการเขียนสาระสำคัญหรือความคิดรวบยอดในรายวิชาภาษาอังกฤษ

สวัสดีครับเพื่อนครูที่สอนภาษาอังกฤษทุกท่าน

ตามสัญญานะครับว่าวันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องการเขียนสาระสำคัญหรือความคิดรวบยอดในรายวิชาภาษาอังกฤษกัน ก่อนที่จะมาคุยกันถึงเรื่องการเขียนสาระสำคัญหรือความคิดรวบยอดในรายวิชาภาษาอังกฤษเรามาดูการเขียนสาระสำคัญหรือความคิดรวบยอดทั่วไปกันก่อนนะครับ วิธีการเขียนนี้ผมได้คัดลอกมาจาก บทความเรื่อง "การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551" ของศึกษานิเทศก์เฉลิมพล ฟักอ่อน ของสพท.ลำพูน เขต 1 ซึ่งก็ขอขอบพระคุณท่านศึกษานิเทศก์สำหรับความรู้มากนะครับ เอาหละครับท่านศึกษานิเทศก์ได้กล่างถึงวิธีการเขียนสาระสำคัญหรือความคิดรวบยอดไว้ดังนี้

..... กำหนดสาระสำคัญสำหรับแต่ละหน่วยการเรียนรู้ เป็นข้อความที่ระบุว่าผู้เรียนรู้อะไร มีทักษะอะไร (อาจจะมีคุณลักษณะอย่างไรด้วย) และหน่วยนี้มีคุณค่าต่อผู้เรียนอย่างไรในระยะสั้นและระยะยาวโดยร้อยเรียงข้อมูลของทุกตัวชี้วัด และเขียนเป็น Concept ภาพรวมของหน่วยฯ ที่ต้องการให้เป็นองค์ความรู้ เป็นความเข้าใจที่ฝังติดตัวผู้เรียนไปเป็นเวลานาน และสามารถนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ ซึ่งมีวิธีเขียน 4 แนวทาง ได้แก่

1. เขียนลักษณะหลักเกณฑ์ หรือหลักการ เช่น “พืชตอบสนองต่อแสง เสียง และการสัมผัส ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมภายนอก”  “การบวก คือการนำจำนวนตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปมารวมกัน จำนวนที่ได้จากการรวมจำนวนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เรียกว่า ผลรวม หรือ ผลบวก และใช้เครื่องหมาย + เป็นสัญลักษณ์แสดงการบวก”

2. เขียนลักษณะความคิดรวบยอด เช่น “พืชและสัตว์ต้องการอาหาร น้ำและอากาศเพื่อการดำรงชีวิต และการเจริญเติบโต” หรือเขียนแบบความเข้าใจที่คงทน เช่น“ความเข้าใจจำนวนนับ สัญลักษณ์ที่ใช้ในสมการ การบวกลบคูณหารจำนวนนับ และความเท่ากัน ทำให้สามารถแก้ปัญหาภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้”  “การดำรงชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงโดยประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ชีวิตมีความสุข”

3. เขียนลักษณะกระบวนการ(กรณีที่ภาพรวมของหน่วยฯ เน้นกระบวนการ) เช่นหน่วยฯ นี้เน้นกระบวนการแก้ปัญหา เขียนสาระสำคัญได้ คือ “การวิเคราะห์สาเหตุ ของปัญหาอย่างกว้างขวางหลายมิติ กำหนดทางเลือกในการแก้สาเหตุของปัญหาอย่างหลากหลาย เลือกทางเลือก ในการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม ดำเนินการแก้ปัญหาตามทางเลือกที่กำหนด ประเมินและปรับปรุง การแก้ปัญหาอย่างรอบคอบเป็นระยะ ๆ ช่วยให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

4. เขียนลักษณะความสัมพันธ์ เช่น “วิธีการดำรงชีวิตของมนุษย์ มีผลกระทบต่อระบบนิเวศในสายน้ำ” 

จากการเขียนสาระสำคัญหรือความคิดรวบยอดโดยทั่วไป เพื่อนครูที่สอนภาษาอังกฤษเห็นปัญหาอย่างที่ผมเห็นหรือเปล่าครับ ปัญหาดังกล่าวก็คือ วิชาภาษาอังกฤษจะต้องประกอบไปด้วยสิ่งที่เป็นทักษะ และเนื้อหาสาระเสมอ จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ เพราะถ้าเน้นแต่เนื้อหาสาระก็จะกลายเป็นการสอนไวยากรณ์ไป หรือเป็นการสอนเนื้อหาในแต่ละสาระไป เหมือนกับการสอนแบบเน้นเนื้อหา(Content Based Approach)นั่นแหละครับ

ถ้าเป็นการสอนไวยากรณ์ก็ง่ายเลยครับ เช่นเราจะสอนเรื่องคำนามนับได้กับคำนามนับไม่ได้ ความคิดรวบยอดก็น่าจะเป็น คำนามนับไม่ได้ คือ คำนามที่มีลักษณะ 1. เป็นของเหลว 2. เป็นชิ้นเล็กๆ 3. เป็นแร่ธาตุ 4. เป็นเนื้อเดียวกัน ใช่ไหมครับ แต่พอเราเอาเรื่องคำนามนับไม่ได้มาสอนเรื่องการสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณของสินค้าในร้านขายของชำ เราก็จะเริ่มเห็นปัญหาแล้วว่า เอเราจะเขียนความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญอย่างไร

ในอีกกรณีหนึ่งถ้าเราจะสอนภาษาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเราจะเขียนความคิดรวบยอดอย่างไรหละครับ ถ้าเราจะเขียนว่า การทักทายเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน  แล้วสาระสำคัญเกี่ยวกับเนื้อหาสาระก็จะขาดหายไปใช่ไหมครับ เพราะเราเป็นเน้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างสังกัปเรื่องการทักทาย กับสังกับปเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และสังกัปเรื่อง ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเด็กๆของเราก็จะไม่ได้สาระสำคัญอะไรไปเลย และครูเองก็ไม่รู้ว่าจะสอนอย่างไรให้สาระสำคัญนี้ตกตะกอนในสมองหรือพฤติกรรมของเด็กใช่ไหมครับ

เอแล้วทีนี้เราในฐานะครูผู้สอนจะแก้ปัญหานี้ยังไงดีหละครับ โดยส่วนตัวผมคิดว่าผมมีวิธีการ แต่ไม่รู้ว่าเพื่อนครูจะเห็นด้วยกับผมหรือไม่ ยังไงก็อยากฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆครูก่อนครับ

หมายเลขบันทึก: 330912เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2010 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าจะมีตัวอย่างการเขียนภาษาอังกฤษนะคะ

ภาษาไทยก็มีปัญหาเหมือนกันเพราะเป็นการบูรณาการทุกสาระ อ่าน เขียน ฟังดูพูด หลักภาษา วรรณกรรม ซึ่งมีทุกหน่วย

ถ้าเราจะเขียนว่า “การทักทายเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน”

:การเขียนแบบนี้ไม่ใช่ การเขียนในรูปแบบความเข้าใจที่คงทน(ข้อสอง)​หรอคะ? มันดูคล้ายๆกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท