ฝึกกล้ามเนื้อโครงสร้าง ลดปวดหลัง-เมื่อย


ท่านอาจารย์ Phil แห่งเว็บไซต์ 'Sport-Fitness-Advisor' ตีพิมพ์บทความเรื่อง 'Popular core strength training exercises' = "ท่าบริหารกล้ามเนื้อโครงสร้างที่รู้จักกันดี (popular = ป๊อปปูลาร์ = เป็นที่รู้จักกันดี) ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ Sport-Fitness-Advisor ]

กล้ามเนื้อโครงสร้าง (core muscles; core = แกน โครงสร้าง; muscle = กล้ามเนื้อ) เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อลำตัว ทำหน้าที่ช่วยพยุง-ประคับประคองกระดูกสันหลัง เชิงกราน และไหล่ 

...

การฝึกกล้ามเนื้อโครงสร้างมีส่วนช่วยป้องกันปวดหลัง ความบาดเจ็บจากการทำงาน-ออกกำลัง-กีฬา ช่วยเพิ่มสมรรถนะในการเคลื่อนไหว

ไม่ว่าคนเราจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด จะต้องใช้กล้ามเนื้อโครงสร้างขยับลำตัวไปพร้อมๆ กับแขนหรือขาด้วยเสมอ

...

ท่าที่ท่านอาจารย์ Phil ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาแนะนำไว้นี้ ไม่รวมท่าบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง จึงควรฝึกกล้ามเนื้อหน้าท้องร่วมด้วยเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อด้านตรงกันข้าม (ซ้าย-ขวา, หน้า-หลัง) มีความแข็งแรงและแรงตึงพอๆ กัน

ถ้ากระดูกสันหลังเป็นเสาวิทยุ... กล้ามเนื้อโครงสร้างจะทำหน้าที่พยุงกระดูกสันหลังไว้รอบทิศ คล้ายกับเป็นลวดสลิงที่ขึงรอบเสาไว้ เพื่อป้องกันเสาล้มหรือหักโค่้นเวลามีลมแรง-พายุนั่้นเอง

...

การฝึกทุกท่า ควรหายใจเข้า-ออกช้าๆ อย่ากลั้นหายใจ เนื่องจากการกลั้นหายใจพร้อมกับเกร็งกล้ามเนื้อจะทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น และอาจมีอันตรายจากความดันเลือดที่สูงขึ้นได้

การฝึกควรทำจากเบาไปหนัก... อย่าฝึกหนักเกินวันเว้นวัน ให้ฝึกหนักวันเว้นวัน โดยออกแรง-ออกกำลังเบาหน่อยในวันเบา และฝึกเต็มที่ในวันหนัก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการฝึก

...

ท่าที่ใช้น้ำหนัก ในการฝึก ควรเลือกน้ำหนักที่ฝึกประมาณ 10 ครั้งหมดแรงพอดี = 1 เซ็ต (set), ทำ 1-3 เซ็ต เมื่อแข็งแรงแล้วค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักทีละน้อย ดีกว่าฝึกหนักโครมเดียว บาดเจ็บแล้วเข็ด เลิกฝึกไปเลย

...

(1). Prone bridge = ท่าสะพานคว่ำ [ Sport-Fitness-Advisor ]

ท่านี้เป็นท่าคว่ำหน้า ใช้ปลายเท้า-แขน (จากศอกถึงข้อมือ) รับน้ำหนัก (เป็นขาของสะพาน), พยายามจัดแนว "หัว-คอ-ลำตัว-ขา" ให้อยู่ในแนวตรง (เป็นตัวสะพาน)

...

ท่านี้ช่วยบริหารกล้ามเนื้อทั้งด้านหน้าและด้าหลังของลำตัว-สะโพก, ถ้าต้องการฝึกให้หนักขึ้นทำได้หลายวิธี เช่น

(a). เลื่อนข้อศอก-แขนไปทางด้านหน้ามากขึ้น จะทำให้ต้องออกแรงมากขึ้น

(b). ยกขาขึ้นทีละข้าง

(c). ยกขาขึ้นทีละข้างพร้อมกับยกแขนข้างเดียวกันขึ้น (ซ้ายหรือขวา)

(d). ยกขาขึ้นทีละข้างพร้อมกับยกแขนข้างตรงกันข้ามขึ้น (ซ้ายหรือขวา)

(e). วางน้ำหนัก เช่น แผ่นเหล็ก ฯลฯ ไว้บนหลัง

[ Sport-Fitness-Advisor ]

...

ตัวอย่างการฝึกให้หนักขึ้น ท่านี้มีการใช้มือข้างหนึ่ง-เท้าข้างตรงข้ามรับน้ำหนัก แล้วเหยียดแขน-ขาที่เหลือไปทางด้านข้าง [ drbookspan ]

[ drbookspan ]

...

(2). Lateral bridge = สะพานข้าง [ Sport-Fitness-Advisor ]

ท่านี้เริ่มต้นจากการนอนตะแคง ใช้แขนข้างหนึ่งวางค้ำไว้กับพื้นดังรูป แล้วจัดแนว "หัว-คอ-ลำตัว-สะโพก-ขา" ให้อยู่ในแนวตรง คล้ายกับเป็นแผ่นไม้กระดานในท่าตะแคง

...

ท่าี้นี้ช่วยบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องด้านข้าง (abdominal obliques & transversus abdominis)

ถ้าต้องการฝึกให้หนักขึ้นทำได้โดยการยกขาที่อยู่บนขึ้นให้ห่างจากขาท่อนล่าง

[ Sport-Fitness-Advisor ]

(3). Supine bridge = สะพานหงาย

ท่านี้เริ่มจากการนอนหงาย งอเข่า ให้ไหล่-เท้ารับน้ำหนัก แล้วยกลำตัวขึ้นลงช้าๆ เป็นท่าบริหารกล้ามเนื้อก้น (gluteal muscles) ซึ่งช่วยให้สะโพกแข็งแรง ทำให้การเคลื่อนไหวแนวโค้ง เช่น เดิน-วิ่งแนวโค้ง การหมุนลำตัว ฯลฯ หรือการขึ้นลงที่สูง-ที่ต่ำดีขึ้น

[ Sport-Fitness-Advisor ]

...

(4). Pelvic thrust = ท่าดันสะโพก [ Sport-Fitness-Advisor ]

ท่านี้เริ่มจากการนอนหงาย งอข้อสะโพกในแนวตั้งฉาก (90 องศา), ยกขาขึ้นในแนวตรง ออกแรงยกสะโพกขึ้นลงช้าๆ ดังภาพ

[ Sport-Fitness-Advisor ]

(5). Russian twists = ท่าบิดรัสเซีย [ Sport-Fitness-Advisor ]

ท่านี้เริ่มจากการนั่งงอเข่าเล็กน้อยดังภาพ ถือตุ้มน้ำหนักหรือลูกบอลไว้ในมือ แล้วบิดไปมาทางขวา-ซ้ายสลับกัน ควรถือตุ้มน้ำหนักหรือลูกบอลให้อยู่ในแนวใกล้ขา ช่วยบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง-หลังด้านข้าง (ปีก)

[ Sport-Fitness-Advisor ]

(6). Good mornings = สวัสดีตอนเช้า [ Sport-Fitness-Advisor ]

ท่านี้คล้ายกับท่าคำนับ วิธีฝึกคือ ยืนตรงถือบาร์เบล ให้ข้อเข่างอเล็กน้อย หลังเกือบตรง

[ Sport-Fitness-Advisor ]

...

(7). Dumbbell lunge with crossover = ถือตุ้มน้ำหนัก-ถลำ (ย่อเข่าลงเล็กน้อย แต่เข่าไม่แตะพื้น) - ข้ามไปทางซ้าย-ขวา [ Sport-Fitness-Advisor ]

ท่านี้เริ่มจากการยืนให้ขาอยู่ในแนวหน้า-หลังดังภาพ, ถือตุ้มน้ำหนักหรือลูกบอลที่ระดับหน้าอก ยกขึ้นเหนือหัว แล้วลดลงไปทางซ้ายสลับกับทางขวาดังภาพ

[ Sport-Fitness-Advisor ]

...

การฝึกกล้ามเนื้อโครงสร้างให้ได้ผลดี ควรฝึกกล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนหน้าด้วยการ "ซิท-อัพ" ไปด้วย

ถ้าต้องการฝึกให้หนักขึ้น... ควรเน้นการเพิ่มแรงต้าน เช่น ถือแผ่นน้ำหนักแบนๆ ไว้ที่หน้าอก (ควรมีคนช่วยยก เนื่องจากแผ่นน้ำหนักอาจกดหน้าอกทำให้หายใจไม่ออกได้) ฯลฯ

...

หลักการสำคัญ ของการฝึกบริหารเพื่อความแข็งแรง คือ ให้เพิ่มแรงต้านหรือน้ำหนักจนยกได้ 10 ครั้งหมดแรงพอดี การเพิ่มแรงต้านให้ผลดีมากกว่าการเพิ่มจำนวนครั้งของการฝึก

แนะนำให้อ่านเรื่องต่อไปนี้

(1). วิธีซิท-อัพ (sit-up) ให้ถูกวิธี > [ gotoknow ]

(2). วิธีฝึกกล้ามเนื้อโครงสร้าง (มีหลายตอน ให้คลิกไปตามลิ้งค์) > [ gotoknow ]

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 16 มกราคม 2553.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 330514เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2010 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 06:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท