บุนนาค
ดร. วรนันท์ มุฮัมมัด รอมฎอน บุนนาค

วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยกับความล้มเหลวของมหาวิทยาลัยไทย


ตามหลักวิชาการ เรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย หมายถึงการมีทัศนคติ ความคิดความเชื่อ ที่มีเหตุผล มีการวิเคราะห์และมองคนสังคมในแง่ของความเป็นจริง เรื่องนี้จึงเกี่ยวพันธ์อย่างแน่นแฟ้นในประเด็นที่เกี่ยวกับกระบวนการหรือแบบแผนที่มีลักษณะเฉพาะนั่นคือการมีส่วนร่วมของประชาชน การมีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ มองคนและสังคมอย่างสร้างสรรค์กล้าวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งไม่ดีไม่ถูกต้อง รังเกียจคอรืรปชั่น ทุจริตเป็นที่สุด และพร้อมที่จะเสนอทางออกอย่างเป็นธรรม ต้องชัดเจนว่ารัฐบาลผู้มีอำนาจเป็นแค่เครื่องมือทางสังคม รัฐบาล(อำนาจรัฐ)ไม่ใช่เป็นเจ้านายของประชาชน แต่การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง ขณะเดียวกันต้องตระหนักว่าสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิ่งสูงสุดที่ติดตัวคนมาตั้งแต่เกิด นอกจากนี้ประชาชนต้องเชื่อว่าประชาชนสามารถล้มล้างรัฐบาลได้ หากเลว ทุจริต คอร์รัปชั่น กอบโกยโกงกิน และไม่ทำตามความประสงค์ของประชาชนอันเป็นประโยชน์สุขและความไพบูลย์ของส่วนร่วมทั้งแผ่นดิน

ต้องยอมรับกันว่าสังคมไทยขณะนี้เกิดวิกฤติทุกด้านแล้วไม่มีทางออก วิกฤตินี้หนักเกินกว่าใครจะเอาออกได้ มันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง อำนาจไม่สามารถผ่าสังคมออกจากวิกฤติได้ การใช้อำนาจแก้ปัญหาไม่ได้ คนแก้ด้วยอำนาจจะตายเพราะอำนาจ เพราะปัญหาความอยุติธรรมในสังคมไทยมีกว้างขวางไปทุกหย่อมหญ้า ทุกกรม กอง กระทรวง สถาบันการศึกษาทุกระดับ นักการเมือง สังคมไทยมีคนดี และไม่ดี (และที่ไม่ดีมีมากและร้ายแรง) คนที่ตระหนักรู้จึงต้องใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา เราหวังพึ่งมหาวิทยาลัยได้หรือไม่ เรารู้ว่าขณะนี้มีหมาวิทยาลัยมากกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ แต่มหาวิทยาลัยเหล่านี้หมกมุ่นอยู่กับการแข่งขันกันเอง แย่งคนเรียน สร้างภาพสร้างค่านิยมให้มหาวิทยาลัยของตัวเองโด่งดังจนลืมบทบาทหน้าที่ที่มหาวิทยาลัยจะต้องทำ จะต้องให้ หรือเป็นปัญญาให้กับคนและสังคม เป็นปัญญาให้กับแผ่นดิน "จิตร ภูมิศักดิ์ สหายนักปฎิวัติประชาชาติ ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า มหาวิทยาลัยสร้างขึ้นจากหยาดเหงื่อแรงงานและภ่าอากรของประชาชน ผู้ศึกาเล่าเรียนจึงต้องตอบลแทนนำความรู้ความสามารถที่ศึกษาเล่าเรียนมารับใช้ประชาชน หากไม่นำพา เขาคือผู้ทรยศ" หันกลับมามองผู้บริหารมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีสำนึกเรื่องเหล่านี้แค่ไหน หากเรื่องเหล่านี้ไม่มี จะปลูกฝังและหล่อหลอมอุดมการณ์เพื่อรับใช้ประชาชนให้กับนักศึกษาอย่างไร เพราะทุกวันนี้นอกจากจ้องทุจริตคอร์รัปชั่นกันอย่างออกหน้าออกตาแล้ว ยังแสวงหาประโยชน์ด้วยการพยายามแปรรูปให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เพื่อกลุ่มำพวกของตัวเอง สมุนบริวารมีอำนาจเด็ดขาดเบ็ดเสร็จ เพื่อจัดการผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยอย่างรวดเร็วรุนแรงจากอำนาจที่ตัวเองได้มาด้วยการแปรรูปแล้ว ยังสร้างกลไกเลวๆในเรื่องการลงโทษ ไล่ออกไว้อีกด้วย ซึ่งรัฐบาลหลายสมัยปัญญาต่ำสนับสนุนเรื่องเหล่านี้มาโดยตลอด รวมทั้งนายอภิสิทธิ์ นายกฯปัจจุบันเคยผลักดันมหาวิทยาลัยออกนอกระบบด้วยการไปทำสัญญแปรรูปมหาวิทยาลัยกับ IMF เลยทีเดียว ซึ่งผลกระทบจะเกิดกับประชาชน ในการศึกษาที่ค่าใช้จ่ายจะสูงมาก มีคนอ้างว่านักศึกษาที่เล่าเรียนระดับมหาวิทยาลัยไม่จน และอ้างว่ามีเงินกู้ยืม ผมเสนอไปแล้วว่านักศึกษาอีสานเกือบลสองแสนที่ถูกฟ้อง ที่ยังไม่สามารถคืนเงินได้เราคำนาณกันมาแล้วว่าเขาเหล่านั้นจะใช้เงินกู้ได้ก็ประมาณอายุ 27 - 28 ปี นั่นแหละ  ต้องยอมรับว่านโยบายมีผลกระทบต่อสังคมไทยทุกจุด ทุกหย่อมหญ้า ถ้ามหาวิทยาลัยไร้สติปัญญามองภาพรวมของสังคมไทยไม่ออก ขณะเดียวกันผู้บริหารหลายมหาวิทยาลัยประเภทที่ไม่โปร่งใส ซ้อนเร้นในผลประโยชน์ มักมากในการกิน%ค่าก่อสร้าง อาคาร ตึกเรียน คนพวกนี้จะไม่สรรค์สร้างบรรยากาศประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัย ผมยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยของรัฐ ในจังหวัดขอนแก่น นศ.ไม่มีสิทธิในการแสดงออก ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวาง การติดประกาศบอร์ดข่าวสารบ้านเมืองที่นี่ไม่ส่งเสริม ดังนั้นในมหาวิทยาลัยจึงมีบอร์ดขยะ ขายสินค้า ธุรกิจน้ำเน่าเต็มไปหมด ที่นี่เคยมีการลบชื่อไล่ออกนักศึกา 7 คน และแจ้งความดำเนินคดีกับเด็กที่กองปราบปรามกรุงเทพ เพียงแค่เด็กเรียกร้องสิทธิการมีส่วนร่วมในการสรรหาอธิการบดี แม้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาทนายความจะประณาม ngo,sจะเคลื่อนไหวช่วยเหลือเด็กอย่างไรก็ทำไม่ได้ อย่างหนา เพราะที่นี่ใช้ระบบหย่อยบัตรยกหีบหนี โดยตั้งอนุกรรมการคสรรหา 10คนไว้คอยเปิดหีบที่มาจากคณะต่างๆ เป็นการเล่นไฮโลหน้าเดียว อนุกรรมการส่วนใหญ่เป็นคนของผู้บริหารสูงสุด(ระเบียบ กฏเลวๆที่ไร้ประชาธิปไตยนี้ นายแพทย์ท่านหนึ่งอดีตอธิการบดี ปัจจุบันไปสร้างประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้าฯ ร่างไว้เพราะอยากขึ้นมาบริหารมหาวิทยาลัยรอบสอง แต่โดนหักหลังด้วยวิธิการของตนเอง) และผู้บริหารยุคปัจจุบันก็ยังใช้ระบบนี้อยู่จนเดี๋ยวนี้ เราจะเพรียกหาประชาธิปไตยจากไหน เมื่อเด็กถูกกด ข้าราชการถูกกด คณาจารย์กลัวถูกตั้งกรรมการสอบวินัย ผู้บริหารก็ร่าเริงกับการทุจริต คอร์รัปชั่น บทบาทที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนจึงทำได้ยาก บทบาทที่จะเป็นหัวรถจักรทางปัญญาให้บ้านเมืองจึงไม่มี

หมายเลขบันทึก: 329975เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2010 08:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท