กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสิรินธรจังหวัดขอนแก่น
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสิรินธรจังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาลสิรินธรจังหวัดขอนแก่น

ยาต้านจุลชีพ


ยาต้านจุลชีพ

ยาต้านจุลชีพ

ภญ. รัตติกาล แสนเย็น

ยาต้านจุลชีพ  

ในยุคที่ต้องพึ่งพายาเมื่อเกิดการเจ็บป่วย จะเห็นว่ายาต้านจุลชีพ เป็นยากลุ่มหนึ่งที่ มีความสำคัญมากในการรักษาโรคติดเชื้อ ซึ่งจัดเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขสำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะโรคติดเชื้อที่รู้จักกันดี อย่างเช่น โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น กรณีที่ประชาชนทั่วไปมีความรู้เกี่ยวกับสาธารณสุขขั้นมูลฐาน จะเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อที่ดีและถูกต้อง เพราะการป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไข แต่ถ้าเกิดการติดเชื้อแล้ว การที่จะรักษาให้ได้ผลคงต้องศึกษาเพื่อให้รู้จักโรคให้ดี และที่สำคัญคงต้องรู้จักเลือกและใช้ยาต้านจุลชีพได้อย่างถูกต้อง เพราะการเลือกและใช้ยาต้านจุลชีพได้อย่างถูกต้องนอกจากจะทำให้หายจากโรคติดเชื้อแล้ว ยังทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาอีกด้วย

ความหมาย
ก่อนที่ รู้จัก ความหมายของยาต้านจุลชีพนั้น อยากจะให้ความหมายของ "ยาปฏิชีวนะ"หมายถึง ยาที่แยกได้จากเชื้อจุลชีพหรือกึ่งสังเคราะห์เหมือนสารที่แยกได้จากเชื้อจุลชีพ และที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมีโดยตรงมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตหรือทำลายเชื้อจุลชีพที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อโปรโตซัว

การจำแนกประเภทของยาต้านจุลชีพ
ยาต้านจุลชีพ จำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลายแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ หลักเกณฑ์ในการจำแนก

จำแนกตามสูตรโครงสร้างทางเคมี
1. เบต้า-แลคแทม แอนตี้ไบโอติค
- เพนิซิลลิน
- เซฟาโลสปอริน
2. แมคโครลีด เช่น อีริโทรมัยซิน
3. ลินโคซาไมด์ เช่น ลินโคมัยซิน
4. อะมิโนกลัยโคไซด์ เช่น เจนตามิซิน
5. เตตร้าซัยคลิน เช่น เตตร้าซัยคลิน
6. โพลี่เปปไทด์ เช่น แวนโคมัยซิน
7. ซัลโฟนาไมด์ เช่น ซัลฟาไดอะซีน
8. ฟลูออโรควิโนโลน เช่น เอ็นโรฟลอกซาซิน
9. กลุ่มอื่น ๆ เช่น คลอแรมเฟนิคอล ไนโตรฟูแรนโตอิน

จำแนกตามขอบเขตการออกฤทธิ์
1. Broad spectrum ยาต้านจุลชีพที่ออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ เช่น แอมพิซิลลิน หรือออกฤทธิ์ทั้งต่อแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนด้วย ได้แก่ คลอแรมเฟนิคอล นอกจากนี้ยังอาจครอบคลุมโปรโตซัว และริกเกตเซีย ได้แก่ เตร้าซัยคลิน คลอแรมเฟนิคอล เมโทรนินาโซล
2. Medium spectrum ยาต้านจุลชีพที่ออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียแกรมบวก และแกรมลบบางชนิดเท่านั้น ได้แก่ ซัลโฟนาไมด์
3. Narrow spectrum ยาต้านจุลชีพที่ออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียบางชนิด มีฤทธิ์ส่วนใหญ่ต่อแบคทีเรียแกรมบวก ได้แก่ คล็อกซาซิลลิน หรือมีฤทธิ์ส่วนใหญ่ต่อแบคทีเรียแกรมลบ ได้แก่ อะมิโนกลัยโคไซด์

จำแนกตามฤทธิ์ต่อจุลชีพ
1. Bactericidal หมายถึง ยาต้านจุลชีพมีฤทธิ์ฆ่าหรือทำลายเชื้อจุลชีพ โดยทั่วไปมักมีกลไกการออกฤทธิ์ต่อผนังเซลล์ และต่อเซลล์เมมเบรนของแบคทีเรีย
2. Bacteriostatic หมายถึง ยาต้านจุลชีพมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลชีพมักมีกลไกการออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีน ดังนั้น จึงต้องการระบบภูมิคุ้มกันระบบเซลล์เม็ดเลือดขาวเพื่อเก็บกินเชื้อจุลชีพ ถ้าเพิ่มขานดยามากขึ้นยาต้านจุลชีพเหล่านี้อาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือทำลายเชื้อจุลชีพ

จำแนกตามกลไกการออกฤทธิ์
1. ออกฤทธิ์ ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ เช่น เพนิซิลลิน เซฟาโลสปอริน แวนโคมัยซิน
2. ออกฤทธิ์ต่อเซลล์เมมเบรน เช่น โพลี่มิกซิน-บี คีโตโคนาโซล แอมโพเทอริซิน-บี
3. ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีน เช่น คลอแรมเฟนิคอล เตตร้าซัยคลิน อีริโทรมัยซิน อะมิโนกลัยโคไซด์
4. ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกรดนิวคลิอิค เช่น ไรแฟมปิซิน ควิโนโลน เมโทรนิดาโซล
5. รบกวนการสังเคาระห์เมตาบอไลต์ที่จำเป็นในการดำรงชีพของเชื้อจุลชีพ เช่น ซัลโฟนาไมด์ไอโซไนอะซิด
ยาต้านจุลชีพที่ดีควรออกฤทธิ์ต่อเชื้อจุลชีพเท่านั้นไม่ควรมีผลต่อเซลล์ของร่างกายผู้ป่วยยาต้านจุลชีพที่มีการออกฤทธิ์อย่างเลือกเฟ้น ต่อเฉพาะเชื้อ ได้แก่ กลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่ม เบต้า-แลคแทม ยากลุ่มนี้จึงใช้ได้ค่อนข้างปลอดภัย ส่วนยาต้านจุลชีพที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีน โดยจับกับโรโบโซมซึ่งเป้าหมายที่มีทั้งในเซลล์ของแบคทีเรียและเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่พบว่า ไรโบโซมแตกต่างกัน กล่าวคือไรโบโซมของแบคทีเรียเป็น 70s ส่วนโรโบโซมของสัตว์เลี้ยวลูกด้วยนมเป็น 80s ยกเว้นในไมโตคอนเดรีย ในเซลล์ไขกระดูกเป็น 70s ดังนั้นยาต้านจุลชีพที่ออกฤทธิ์ โดยจับกับโรโบโซม จึงพบว่าค่อนข้างปลอดภัย แต่บางชนิดอาจเกิดอาการข้างเคียงถึงขั้นเป็นพิษได้ เช่น คอลแรมเฟนิคอล จึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง

หลักการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพ
การใช้ยาต้านจุลชีพให้ได้ผลการรักษาที่ดี ต้องพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 3 ประการ ได้แก่
1. เชื้อจุลชีพที่เป็นสาเหตุของโรค
2. ยาต้านจุลชีพ
3. สภาวะร่างกายของผู้ป่วย

ปัจจัยเกี่ยวกับเชื้อจุลชีพ
ต้องค้นหาเชื้อที่เป็นต้นเหตุของโรคเพื่อจะได้ตัดสินใจว่าจะใช้ยาต้านจุลชีพหรือไม่ตามทฤษฎีจะต้องมีการเพาะเชื้อและทดสอบหาความไวของเชื้อที่มีต่อยาต้านจุลชีพ แต่มนความเป็นจริงบางครั้งไม่สามารถกระทำได้เพราะขาดอุปกรณ์ทางห้องปฏิบัติการ แพทย์มักให้การรักษาโดยการคาดคะเน จากความชำนาญ.

ปัจจัยเกี่ยวกับยาต้านจุลชีพ
เมื่อเลือกยาต้านจุลชีพที่มีความไวต่อเชื้อนั้นแล้ว ยังต้องคำนึงถึงเภสัชจลนศาสตร์ของยานั้นด้วย ได้แก่ การดูดซึม การกระจายตัว การเปลี่ยนสภาพยา และการขจัดยา นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับการเลือกวิถีทางให้ยา ขนาดยา ระยะเวลาระหว่างมื้อของยา ระยะเวลาการให้ยาด้วยทั้งนี้เพื่อให้ระดับยาในบริเวณที่มีการติดเชื้อสูงพอที่จะออกฤทธิ์ทำลายเชื้อ คือต้องสูงกว่าระดับยาต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อ ขณะเดียวกันความเข้มข้นของยาในพลาสมาและเนื้อเยื่อต่าง ๆ จะต้องต่ำกว่าระดับที่จะเกิดอันตราย กรณีที่โรคไม่รุนแรง มักให้ยารับประทานแทนยาฉีด เพื่อให้ได้ผลดีในการรักษาควรเลือกยารับประทานที่ไม่ว่าจะรับประทานก่อนหรือหลังอาหาร ก็ให้ระดับยาสูงในพลาสมาหรือในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ให้มีระดับสูงพอที่จะออกฤทธิ์ทำลายเชื้อ และอยู่นานพอสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อนั้น นอกจากนี้ควรเป็นยาที่รับประทานเพียงวันละ 1-2 ครั้ง จึงจะทำให้ ผู้ป่วยได้รับประทานยาได้ครบขนาด

ปัจจัยเกี่ยวกับผู้ป่วย
1. อายุ ทารกแรกเกิดและทารกคลอดก่อนกำหนด การขจัดยาที่ใช้และการเปลี่ยนสภาพของยาที่ตับยังไม่สมบูรณ์ส่วนผู้สูงอายุ กลไกดังกล่าวอาจเสื่อมประสิทธิภาพลง ต้องปรับขนาดยา
2. สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร ขณะตั้งครรภ์ยาอาจผ่านรกไปยังทารกได้จึงต้องเลือกใช้ยาต้านจุลชีพที่ปลอดภัยต่อทารก ได้แก่ ยาในกลุ่มเพนนิซิลลิน ยาที่ไม่ควรใช้อย่างยิ่งคือ ซัลโฟนาไมด์ เนื่องจากยาอาจผ่านรกไปยังทารกในครรภ์
1. พันธุกรรม ความผิดปกติทางพันธุกรรมจะต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพ เช่น ผู้ป่วยที่ขาดเอนไซม์ ถ้าใช้ยาต้านจุลชีพที่เป็นสารออกซิไดซ์ เช่น คลอแรมเฟนิคอล ซัลโฟนาไมด์ จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก
2. บริเวณที่มีการติดชื้อ มีผลทำให้การออกฤทธิ์ของยาลดลง เช่น หนอง เศษของเซลล์ที่ตายแล้ว ไฟบริน และ โปรตีน จะจับกับยาต้านจุลชีพบางชนิดเช่น ซัลโฟนาไมด์
3. ผู้ป่วยบางรายอาจมีโรคประจำตัวก่อนแล้วจำเป็นต้องใช้ยาชนิดอื่นร่วมด้วย อาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา เช่น ผู้ป่วยโรคไต การทำงานของไตลดลง ต้องปรับขนาดยาหรือให้ระยะห่างของการให้ยาแต่ละครั้งนานขึ้นและต้องระวังยาที่ขับออกทางไตเป็นส่วนใหญ่ เช่น อะมิโนกลัยโคไซด์
จะเห็นว่า การเลือกใช้ยาต้านจุลชีพขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นซึ่งการใช้ยาจุลชีพไม่ถูกต้อง จะทำให้การรักษาไม่ไดผล เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลาในการรักษาแล้วยังอาจก่อให้เกิดผลร้ายอื่นๆเช่น เกิดการดื้อยาของเชื้อ การติดเชื้อแทรกซ้อน หากไม่แน่ใจก่อนใช้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
จะเห็นว่า การเลือกและใช้ยาต้านจุลชีพขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นซึ่งการใช้ยาต้านจุลชีพไม่ถูกต้อง จะทำให้การรักษาไม่ได้ผล เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลาในการรักษาแล้วยังอาจก่อให้เกิดผลร้ายอื่น ๆ เช่น การเกิดดื้อยาของเชื้อ การติดเชื้อแทรกซ้อน การแพ้ยา การเป็นพิษเนื่องจากยา ซึ่งอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ดังนั้น การใช้ยาต้านจุลชีพจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง หากไม่แน่ใจก่อนใช้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร และควรใช้ตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด

คำสำคัญ (Tags): #ยาต้านจุลชีพ
หมายเลขบันทึก: 329819เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2010 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 12:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท