พฤติกรรม (16) : ภาวะผู้นำ Vs. ภาวะผู้นำแหน๋


ดูๆ ไป  กระแสสังคม เหมือนกำลังจะบอกอะไรบางอย่างกับเรา  

ทำไม? วัยรุ่นไทย  ไม่ลุกขึ้นมานำกระแสแฟชั่นบ้าง  ทั้งๆที่เด็กไทยมีศักยภาพเยอะ  หรือคิดว่านำแล้ว  ด้วยการแปลงร่างเป็นเกาหลีไปเสียอย่างนั้น

ทำไมเมืองไทย  ไม่ลุกขึ้นมาสร้างรถยนต์ยี่ห้อไทย  ทั้งๆ ผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย?  หรือว่าเป็นอย่างนี้ดีแล้ว?

ทำไมนักวิชาการส่วนใหญ่  ไม่ลุกขึ้นมาสร้าง "วิชามือหนึ่ง"  ทั้งๆ ที่เรียนกันมาเยอะ  แต่ที่เห็นในรั้วการศึกษา  นำเข้า "วิชามือสอง...ไปจนถึงมือที่เท่าไรไมรู้"  เอามาเสพเองไม่พอ  แถมยังเป็นการสร้างนิสัย "เสพความรู้" ให้ผู้เรียนได้ติดตัวออกไปด้วย

ทำไมองค์กรส่วนใหญ่  ไม่หยิบงานที่ทำทุกวันมาเรียนรู้กัน  แต่หันไปดิ้นรนขนขวายไขว่คว้า  ลงทุนกับ "ความรู้ที่ไกลตัว"  แยกการเรียนออกจากการทำงาน จนกลายเป็นความเคยชินเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปเสียนี่  ทำไมไม่ทำให้การเรียนรู้อยู่ในวิถีการทำงานปกติ  อยู่ในทุกๆวันของการทำงาน   แล้วก็มานั่งบ่นว่า  ตอนไปเรียนรู้สึกดีมาก แต่พอกลับมาก็กลายเป็นอีหร็อบเสียนี่

อย่างนี่ไม่น่าจะเป็นพฤติกรรม "นำ"  แต่น่าจะเป็นการนำอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า

"นำแหน๋!"   - "ข้อยไปนำแหน๋!"

ท่านผู้ใดอยากรู้ความหมายคำนี้   ขอให้ไปค้นคว้าจาก  พี่น้องอิสานที่ใกล้ตัวที่สุดเอาเองนะครับ

หมายเลขบันทึก: 329683เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2010 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสสดีครับ

เห็นด้วยครับ ที่องค์กรต้องช่วยกันสร้างองค์ความรู้ด้วยการสกัดความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวของแต่ละคน นำออกมาใช้ให้เห็นเป็นรูปธรรม ผมพยายามทำอยู่จากพนักงานระดับปฏิบัติการครับ แต่เจออุปสรรคกับคนระดับหัวหน้า ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารระดับกลางที่เข้าไม่ถึงครับ ก็เลยไม่เห็นความสำคัญ ทำให้ต่อไม่ติด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท